วิกฤต “ค่าเงินตุรกี” ส่อคล้าย “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ไทยปี 40

วิกฤต “ค่าเงินตุรกี” ส่อคล้าย “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ไทยปี 40

วิกฤต “ค่าเงินตุรกี” ส่อคล้าย “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ไทยปี 40
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกา ประกาศขึ้นภาษีเหล็กจากตุรกีถึงสองเท่า ซึ่งเหล็กเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 4 ของประเทศตุรกี ทำให้เกิดผลกระทบต่อค่าเงิน lira (ลีรา) และความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ค่าเงินตุรกีส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้น โดยค่าเงินลีราของตุรกีนั้น ดิ่งลงอย่างหนักเมื่อวันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม 2561 และอ่อนค่าลงเรื่อยมาจนถึงเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2561

เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2561 โดยดัชนีสต็อกซ์ ยุโรป 600 ลดลง 0.3% ปิดที่ 384.91 จุด ดัชนีดีเอเอ็กซ์ ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,358.74 จุด ลดลง 65.61 จุด หรือ -0.53% ดัชนีซีเอซี-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดวันนี้ที่ 5,412.32 จุด ลดลง 2.36 จุด หรือ -0.04% และดัชนีเอฟทีเอสอี 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,642.45 จุด ลดลง 24.56 จุด, -0.32%

สาเหตุมาจากความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบจากการทรุดตัวลงของค่าเงินลีราของตุรกี ว่าอาจจะส่งผลลุกลามไปยังเศรษฐกิจและการเงินของประเทศอื่นๆ และจะกระทบต่อธนาคารยุโรป

โดยผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศตุรกีว่า มีความคล้ายคลึงกับวิกฤตต้มยำกุ้งของไทย คือเมื่อค่าเงินตก หนี้ต่างประเทศที่เคยกู้ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสองเท่า โครงการต่างๆ จากเดิมที่เคยคิดว่าจะกำไร ถ้าไม่ปิดความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน ก็จะกลายเป็นขาดทุนทันที และ ณ ตอนนี้ หนี้ต่างประเทศเมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศตุรกีมีมากถึง 50% ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวลมาก และตามการคาดการณ์ของ IMF ผู้ที่รับศึกหนักก็คือธนาคารกลางของประเทศตุรกี ที่ต้องขายดอลลาร์ และรับซื้อเงิน lira ต่อไป

ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ตอนนี้ธนาคารกลางตุรกีจึงต้องสู้กับสงครามเงินไหลออกต่อไป หากรับมือไม่ไหว ในท้ายที่สุดรัฐบาลตุรกีอาจต้องร้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และแน่นอนว่าเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือนั้นคงจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล และการแปรรูปทรัพย์สินของรัฐให้ภาคเอกชน ซึ่งเรื่องนี้มีความใกล้เคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 2540 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook