รวมอาชีพที่มาแรงในยุคดิจิทัล

รวมอาชีพที่มาแรงในยุคดิจิทัล

รวมอาชีพที่มาแรงในยุคดิจิทัล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นางสาวสุทธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ระบุถึงสถานการณ์ตลาดแรงงานในปัจจุบัน พบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรโดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะ หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นกลุ่มแรงงานสำคัญที่จะขับเคลื่อนขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศได้ โดยผลสำรวจที่แมนพาวเวอร์กรุ๊ปได้รวบรวมมา พบว่าภาพรวมประเทศไทยตลอด 5 ปีที่ผ่านมานี้เป็นประเทศที่เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ดังนั้น ภาวะความต้องการแรงงานที่สอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกับสภาวะการขาดแคลนแรงงานระดับโลกซึ่งมี 6 สายงาน คือ งานขาย, ไอที, วิศวกร, งานธุรการ, งานด้านบัญชี และงานผลิต

career2

ซึ่งสายงานด้านการขาย เป็นสายงานที่ตลาดต้องการอันดับ 1 ต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2558 - 2560 ทั้งในระดับ B2B และ B2C รวมถึงรูปแบบคอลเซนเตอร์ ทำให้เกิดความต้องการอาชีพด้านการขาย งานพัฒนาธุรกิจ งานวิเคราะห์ธุรกิจ และงานขายเชิงเทคนิค เช่น วิศวกรขาย พนักงานขาย เป็นจำนวนมาก ส่วนอัตราการหมุนเวียนเข้าออกก็สูงมากเช่นกัน เพราะแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจส่งผลให้อาชีพด้านการขายเปรียบเหมือนหัวใจของการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะด้านผลประกอบการเเละยอดขาย

สายงานไอที เป็นสายงานที่มาแรงและมีความต้องการสู่งมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจและอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้สายงานไอทีมีความต้องการสูงขึ้นทุกปี

อีกหนึ่งสายที่มีความต้องการสูงและมาแรงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาคือสายงานไอที เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจและการทำงานในยุคดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้นสายงานไอทีจึงมีความต้องการสูงขึ้นทุกปี เพราะเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจและอุตสาหกรรม

เช่นเดียวกับสายงานวิศวกร แม้ความต้องการบุคลากรสายนี้จะมีสูง แต่การสรรหาบุคลากรที่มีความเหมาะสมตามคุณสมบัติที่ตลาดต้องการเป็นเรื่องยากและยังคงขาดแคลน เพราะนายจ้างต้องการแรงงานที่มีทักษะเชิงลึก และรอบด้านรวมกัน รวมถึงยังพิจารณาประสบการณ์ในการทำงานด้วย เพราะในกลุ่มวิศวกรบางสายงานต้องใช้ความรู้ ความชำนาญ เช่น กลุ่มวิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรขนส่งทางราง และวิศวกรในการวางระบบสัญญาณการเดินรถไฟฟ้าและควบคุมระบบสัญญาณต่างๆ เป็นต้น

สายงานบัญชีและการเงิน เป็นที่ต้องการสูงทุกธุรกิจและระดับ อีกทั้งยังมีความต้องการบุคลากรอย่างต่อเนื่องทั้งส่วนงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะต้องวิเคราะห์วางแผนบริหารเงินลงทุน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงใช้ทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญในการใช้งานในโปรแกรมต่างๆ เช่น SAP, ERP, Oracle หรือแม้งานด้านภาษีที่ต้องวิเคราะห์ภาษีที่เป็นส่วนหนึ่งของการได้กำไรหรือขาดทุน ซึ่งจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษี การมีทักษะด้านนี้จะทำให้แรงงานมีอัตราเงินเดือนที่สูงตามไปด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าในครึ่งปีแรกของปี 2561 ความต้องการแรงงานของสายการบริการลูกค้าสูงเป็นอันดับแรก เช่น พนักงานร้านกาแฟ, พนักงานบริการลูกค้า, พนักงานบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ ซึ่งตอบรับกระเเสธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจการเงินการธนาคาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจด้านเทคโนโลยีที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ได้ ทำให้บทบาทแรงงานที่องค์กรต้องการ จำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะสูง เพื่อบริหารและควบคุมการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ ได้แก่ ช่างไฟฟ้า, ช่างกล, พนักงานขาย, วิศวกรทั้งเครื่องกลไฟฟ้า-โยธา, โลจิสติกส์, ไอที, งานธุรการ, ประชาสัมพันธ์, บัญชีการเงิน และการผลิต

career3

ทั้งนี้ แรงงาน 10 กลุ่มที่กล่าวมานี้ ต้องมีกระบวนการเรียนรู้และอาศัยการฝึกฝนทักษะหลังระดับมัธยมศึกษาเพื่อเข้าสู่การเรียนในสายอาชีพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook