เปิดรายได้ “ยาสูบ” VS งบประมาณ “สสส.” ในวันที่รัฐบาลขยายฐานผลิตบุหรี่เพิ่ม

เปิดรายได้ “ยาสูบ” VS งบประมาณ “สสส.” ในวันที่รัฐบาลขยายฐานผลิตบุหรี่เพิ่ม

เปิดรายได้ “ยาสูบ” VS งบประมาณ “สสส.” ในวันที่รัฐบาลขยายฐานผลิตบุหรี่เพิ่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่รัฐบาลทุ่มงบกว่า 4,000 ล้านบาท ขยายฐานการผลิตยาสูบเพิ่มที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อนำรายได้เข้ามาพัฒนาประเทศนั้น

>> รัฐบาลทุ่มงบ 4,000 ล้านบาท ขยายฐานผลิต “ยาสูบ” หวังนำรายได้พัฒนาประเทศ

รู้หรือไม่ รายได้ต่อปีที่การยาสูบแห่งประเทศไทย (โรงงานยาสูบเดิม) จะต้องนำส่งรัฐบาลนั้นมีมูลค่านับหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว

Sanook! Money ได้รวบรวมข้อมูลที่พอหาได้คร่าวๆ มาฝากกันว่า รายได้-กำไร และจำนวนเงินที่นำส่งเข้ารัฐเพื่อนำไปพัฒนาประเทศนั้นมีมูลค่ามหาศาลขนาดไหน

ฐานะการเงินของโรงงานยาสูบ ระหว่างปี 2557-2560 มีดังนี้

ปี 2557 รายได้ 61,892 ล้านบาท กำไร 6,275 ล้านบาท เงินนำส่งรัฐ 61,198 ล้านบาท

ปี 2558 รายได้ 61,984 ล้านบาท กำไร 7,105 ล้านบาท เงินนำส่งรัฐ 59,354 ล้านบาท

ปี 2559 รายได้ 65,237 ล้านบาท กำไร 8,861 ล้านบาท เงินนำส่งรัฐ 60,719 ล้านบาท

ปี 2559 รายได้ 68,175 ล้านบาท กำไร 9,343 ล้านบาท เงินนำส่งรัฐ 62,576 ล้านบาท

ยาสูบ ถือเป็นธุรกิจที่ผูกขาด ทำกำไรดี แต่ในทางกลับกันก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพคนสูบรวมถึงคนรอบข้างด้วยเช่นกัน ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่รณรงค์ให้คนไทยมีสุขภาพกาย-ใจที่ดีและแข็งแรง คงหนีไม่พ้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. นั่นเอง

ส่วนงบประมาณที่ใช้เพื่อการรณรงค์ให้คนไทยเลิกสูบบุหรี่ และส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีนั้น ทาง สสส. จะได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาษีสุราและยาสูบในอัตรา 2% โดยเราขอนำเสนองบประมาณที่ สสส. ใช้เพื่อรณรงค์แผนงานเพื่อสุขภาพในระหว่างปี 2557-2560 ดังนี้

ปี 2557 ใช้งบรวม 4,874.8 ล้านบาท แผนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงหลัก 1,456 ล้านบาท

ปี 2558 ใช้งบรวม 5,116 ล้านบาท แผนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงหลัก 1,396 ล้านบาท

ปี 2559 ใช้งบรวม 4,302 ล้านบาท แผนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงหลัก 1,329 ล้านบาท

ปี 2560 ใช้งบรวม 4,791 ล้านบาท แผนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงหลัก 1,357 ล้านบาท

ซึ่งตัวเลขการใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงหลักนั้น มีแผนงานควบคุมยาสูบรวมอยู่ในนั้นด้วย นั่นหมายความว่าในความเป็นจริงแล้ว เม็ดเงินที่ สสส. ใช้เพื่อรณรงค์ให้คนเลิกสูบบุหรี่ต่อปีนั้นอาจจะมีเพียงหลักร้อยล้านบาท 

เพราะฉะนั้น หากเปรียบเทียบระหว่างรายได้ของการยาสูบแห่งประเทศไทย กับ งบประมาณเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีสุขภาพดีของ สสส. ก็จะเห็นความแตกต่างราวกับฟ้าเหวเลยทีเดียว

cigarette3

ที่น่าสงสัย คือ เหตุใดถึงไม่มีหน่วยงานรัฐบาลที่กำกับดูแลและส่งเสริมเรื่องสุขภาพ หรือแม้แต่นักวิชาการออกมาทักท้วงการขยายฐานการผลิตยาสูบในครั้งนี้เลยล่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook