นักลงทุนร้องลั่น! รัฐจะเก็บ “ภาษีกองทุนตราสารหนี้” เร็วๆ นี้

นักลงทุนร้องลั่น! รัฐจะเก็บ “ภาษีกองทุนตราสารหนี้” เร็วๆ นี้

นักลงทุนร้องลั่น! รัฐจะเก็บ “ภาษีกองทุนตราสารหนี้” เร็วๆ นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้จัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ในอัตรา 15% ของกำไร เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ลงทุนทั้งระบบ เพราะปัจจุบันการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรง กับการลงทุนผ่านกองทุนรวมนั้น เสียภาษีที่แตกต่างกัน

เรื่องนี้กระทบกับนักลงทุนที่มีเงินออมและมีการลงทุนในกองทุนรวมประเภทตราสารหนี้ทุกคน กระทบอย่างไร

1. เดิมนักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา และเป็นผู้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ จะไม่มีภาระภาษีที่เกิดขึ้นเหมือนกับนักลงทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้โดยตรง ที่ต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

2. ประเด็นนี้ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในระบบภาษี เพราะลงทุนโดยตรงเสียภาษีเยอะกว่ากองทุนรวม แต่ถามว่าทำไมในอดีตถึงออกกฎหมายแบบนี้ สาเหตุก็เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินออมและแหล่งเงินทุนทางเลือกอื่นๆ เพราะการจะไปซื้อตราสารหนี้เป็นตัวๆ มันใช้เงินเยอะกว่า ขณะที่กองทุนรวม เงินหลักพันก็สามารถลงทุนได้

3. ดังนั้นเพื่อสร้างความเป็นธรรม จึงควรเรียกเก็บภาษีสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมด้วย โดยอัตราที่คิดคือ 15% เท่ากัน

4. แต่การหักภาษีนี้ เพื่อลดภาระของนักลงทุน จะได้ไม่ต้องไปคำนวณ ไม่ต้องยื่นภาษีปลายปีอะไรเอง วิธีการจัดเก็บก็คือ ให้กองทุนรวมมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เฉพาะในส่วนของรายได้ประเภทดอกเบี้ยส่วนลด (Discount) และเงินได้ที่มีลักษณะเดียวกันกับดอกเบี้ย กำหนดให้ผู้จ่าย (Issuer) เป็นผู้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเลย ก่อนที่กองทุนรวมจะรับผลประโยชน์ไป

5. กำไรที่เกิดจากส่วนต่าง หรือ Capital Gain จะไม่ต้องนำมาเสียภาษีแล้ว ย้ำอีกทีว่า ภาษีที่กองทุนรวมต้องเจอ จะเจอกับรายได้ประเภทดอกเบี้ย และส่วนลด (Discount) เท่านั้น

6. แปลว่า กองทุนรวมใดก็แล้วแต่ในประเทศไทย ที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ ก็มีภาระภาษีเพิ่มขึ้น

7. ข่าวดีก็คือกองทุนประเภท RMF ได้รับการยกเว้นภาษีต่อไป เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณอายุในระยะยาว

8. ภาษี 15% นี่กระทบเราขนาดไหน สมมติ กองทุนตราสารหนี้ซักกอง ผลตอบแทน 1 ปี อยู่ที่ 2.0% โดย 2% นี้ มาจาก Capital Gain 0.8% ที่เหลือ 1.2% มาจากดอกเบี้ยรับ ส่วนที่ต้องเสียภาษีคือ 15% ของ 1.2% ซึ่งเท่ากับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยรับหลังหักภาษีจะเหลือ 1.02% เมื่อรวมกับ Capital Gain จะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนรวมนี้ลดลงเหลือ 1.82%

9. สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ตอนนี้อยู่ระหว่างการหารือกันว่าจะยกเว้นการเรียกเก็บภาษีต่อไปหรือไม่ คงต้องรอลุ้นกันหน่อย

สรุป กำไรที่เกิดจาก Capital Gain ของกองทุนรวมตราสารหนี้ ยังไม่โดนภาษี เก็บเฉพาะดอกเบี้ยรับ และส่วนลด ขณะที่ภาระในการทำภาษีในฐานะของผู้ลงทุนก็ไม่ได้มีอะไรเพิ่มเติม เพราะเขาไปหักภาษีตั้งแต่ต้นทางจากผู้ออกตราสารเลย

สรุป 2 คือ นับจากวันที่กระทรวงการคลังประกาศให้มีผล (ซึ่งยังไม่รู้วันไหน แต่น่าจะภายในปีนี้) จะทำให้ผู้ลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ ได้ผลตอบแทนรวมลดลงเล็กน้อยจากภาษีที่โดนจัดเก็บเพิ่ม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook