รวม 14 โรค ที่ "ประกันสังคม" ไม่คุ้มครอง

รวม 14 โรค ที่ "ประกันสังคม" ไม่คุ้มครอง

รวม 14 โรค ที่ "ประกันสังคม" ไม่คุ้มครอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อมีเงินโอนเข้ามาในบัญชีมนุษย์เงินเดือน จะต้องถูกหักเงินเข้าประกันสังคมเดือนละ 750 บาท เพื่อให้ผู้เป็นสมาชิกมีหลักประกันตนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากอาการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตรชราภาพ ว่างงาน รวมถึงให้ผู้เป็นสมาชิกได้รักษาพยาบาลได้ แต่มี 14 โรคที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง ดังนี้

1.โรคหรือประสบอันตรายเนื่องจากการใช้สารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด

2.โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทคนไข้ในเกิน 180 วันใน 1 ปี

3.การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรังยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และอัตราที่กำหนด

4.การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

5.การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง

6.การรักษาภาวะมีบุตรยาก

7.การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้นการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูกของผู้ประกันตนให้จ่ายค่าตรวจเนื้อเยื่อเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 7,000 บาทต่อราย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด

8.การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น

9.การผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้น

  • การปลูกถ่ายไขกระดูก ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 บาทต่อราย แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการการแพทย์รับรอง และได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
  • การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 20,000 บาท และให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

10.การเปลี่ยนเพศ

11.การผสมเทียม

12.การบริการระหว่างการรักษาตัวแบบพักฟื้น

13.ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันขุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี

14.แว่นตา

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook