“ประกันสังคม” เพิ่มสิทธิการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจโดยไม่ต้องสำรองจ่าย

“ประกันสังคม” เพิ่มสิทธิการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจโดยไม่ต้องสำรองจ่าย

“ประกันสังคม” เพิ่มสิทธิการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจโดยไม่ต้องสำรองจ่าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงการให้บริการทางการแพทย์ตามโครงการรักษาหัวใจ 7/24 เฉลิมพระเกียรติ เพื่อให้ผู้ประกันตน หรือผู้ป่วยที่อยู่ในวัยทำงานสามารถเข้ารับการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยทำหัตถการ 7 หัตถการ ประกอบด้วย

1.การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ

2.การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจและขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน

3.การศึกษาสรีระวิทยาไฟฟ้าหัวใจ และการจี้ไฟฟ้าหัวใจ

4.การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ไฟฟ้าในการสร้างภาพ 3 มิติ

5.การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวรชนิดสองห้อง

6.การใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจถาวร

7.การใส่เครื่องสมานฉันท์หัวใจ

ในภาวะหัวใจล้มเหลวในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษา และไม่เสียค่าส่วนเกิน รักษาด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย ดูแลผู้ประกันตนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รับการรักษาตามมาตรฐานสากล และสามารถกลับเข้าทำงานได้ตามปกติ สามารถสร้างรายได้ และความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติต่อไป
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขปัจจุบัน ระบุว่า สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยอยู่ที่ 7,000 ล้านบาทต่อปี เฉพาะในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 54,530 ราย ส่งผลกระทบต่อการสูญเสียทรัพยากรในวัยทำงาน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่หากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ทันเวลา จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลง สามารถกลับคืนสู่การทำงานได้ตามปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง

ปัจจุบันกระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม มีโรงพยาบาลเครือข่ายระบบประกันสังคมอยู่ทั่วประเทศจำนวน 237 แห่ง แบ่งเป็น โรงพยาบาลรัฐบาล 159 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน 78 แห่ง ซึ่งดูแลสิทธิประโยชน์ของแรงงานซึ่งเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม จำนวนทั้งสิ้น 12,965,913 คน แบ่งเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 11,475,042 คน มาตรา 39 จำนวน 1,490,871 คน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook