ถอดบทเรียน “เลือดข้นคนจาง” เหตุใดธุรกิจครอบครัวจะล่มสลายในรุ่นที่ 4

ถอดบทเรียน “เลือดข้นคนจาง” เหตุใดธุรกิจครอบครัวจะล่มสลายในรุ่นที่ 4

ถอดบทเรียน “เลือดข้นคนจาง” เหตุใดธุรกิจครอบครัวจะล่มสลายในรุ่นที่ 4
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ละคร "เลือดข้นคนจาง" วงศ์ตระกูลจิระอนันต์ เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมจิรานันตา เป็นวงศ์ตระกูลใหญ่ที่มั่งคั่ง รวมตัวกันได้เสมอในวาระสำคัญ เหมือนว่ารักใคร่กลมเกลียวกันดีทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นเล็ก แต่แล้วความรักในวงศ์ตระกูลก็ถูกท้าทายด้วยการถูกยิงตายอย่างมีเงื่อนงำ ของพี่ชายคนโตที่ดูแลกิจการ  เกิดศึกมรดกเลือด

คุณคิดว่าในชีวิตจริงจะเหมือนละคร หรือไม่ อย่างไร ?

บางครั้งละครก็สะท้อนชีวิตจริง จากรูป  เป็นสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจครอบครัว และลูกศรคือการให้หุ้นจาก รุ่นสู่รุ่น

map

รุ่นที่ 2 (Gen2)

จะได้หุ้นของกิจการคือ ช1 และ ช2 ได้หุ้นคนละ 30%

ส่วน ญ1 และ ญ2 ได้หุ้นคนละ 15% โดยที่ ญ 3 จะได้หุ้นน้อยที่สุด

รุ่นที่ 3 (Gen3)

ช1 ให้หุ้น A , B , C คนละ 10%

ญ1 ให้หุ้น E  5% และ F 10%

ญ2 ให้หุ้น G  15%

ช2 ให้หุ้น H และ I คนละ 15%

ญ3 ให้หุ้น J และ K คนละ 5%

รุ่นที่ 4 (Gen4)

AA ได้รับหุ้นจาก A 5%

เนื่องจาก นาย เป็นหลานคนโปรด ของ H และ I ที่ไม่มีลูก จึงได้รับ 15% จาก H และ 15% จาก I

ส่วน นาย ก็เห็นหลานคนโปรดของ C และ F  จึงได้รับ 10% จาก C และ 10% จาก F

ดูจากกระจายหุ้นแล้วตอบคำถามว่า ใครกันแน่ที่ควบคุมบริหารกิจการครอบครัว ?

ระหว่าง นาย AA เป็นรุ่นที่ 3 เป็น CEO เกิดจากพี่ชายคนโตของตระกูล แต่มีหุ้นเพียง 5%

หรือ นาย ก เป็นรุ่นที่ 3 เหมือนกัน เพิ่งจบออกมา วันๆไม่งาน ไม่ทำการอะไร แต่มีหุ้น 30%

อยู่มาวันหนึ่ง นาย ก ต้องการเงินปันผลจากกิจกการครอบครัวนำเงินไปซื้อรถหรู แต่นาย AA ไม่ยอม นาย ก ถือหุ้นใหญ่ มีหุ้น 30% ไปร่วมมือกับ นาย ข ที่มีหุ้น 20%
สั่งปลด นาย AA ออกจากตำแหน่ง CEO

นาย AA ไม่พอใจ ออกไปตั้ง บริษัท์มาแข่ง นำลูกค้า และ ลูกจ้างออกไปอยู่ บริษัทใหม่ของตัวเอง นำมาซื่งสาเหตุของการแตกคอกันในครอบครัว นำมาซึ่งความล่มสลายของธุรกิจครอบครัว

ละครสะท้อนชีวิตจริง!

ผลการสำรวจธุรกิจครอบครัว ของ Price Waterhouse ในปี พ.ศ.  2555 พบว่า ธุรกิจครอบครัวมีอัตราการอยู่รอดไปถึงรุ่นที่ 2 คิดเป็น 30% ของรุ่นที่ 1 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวรุ่นที่ 3 และ 4 จะคิดเป็น 12% และร้อยละ 3% (ตามลำดับ)

เหตุผลของการเสื่อมถอยและล่มสลายของธุรกิจครอบครัว ตามทฤษฎี Buddenbrooks Syndrome กับวัฏจักรธุรกิจครอบครัว

ความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจลดลงตามรุ่นรุ่นที่ 1 และ รุ่นที่ 2 จะเต็มไปด้วยความมุ่งมั่น แต่เมื่อถึงรุ่นที่ 3 ความมุ่งมั่นจะลดน้อยลง

ความเป็นผู้ประกอบการไม่เหมือนรุ่นแรกรุ่นลูก รุ่นหลานของผู้ก่อตั้ง อาจจะไม่ชอบธุรกิจที่ครอบครัวทำอยู่ อาจจะชอบอาชีพอื่นมากกว่า

ความเปลี่ยนแปลงในปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจการแข่งขันในทางธุรกิจมีตลอดเวลา ปัจจัยด้าน เทคโนโลยี ก็อาจจะทำให้การแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปได้ รุ่นลูก หลาน จะต้องปรับตัวเพื่อรับการแข่งขัน ถ้าไม่สามารถปรับตัวได้ ธุรกิจครอบครัวก็ไม่อาจจะรอดได้

ดังนั้นการวางแผนส่งต่อสินทรัพย์ (Estate Planning)  หรือ เรียกสั้นๆว่า การวางแผนมรดก ไม่ใช่แค่ เจ้าของมรดกตาย โอนสินทรัพย์ไปยังลูกหลาน ถ้าเจ้าของสินทรัพย์เป็นเจ้าของกิจการ มีสิ่งที่ต้องให้คิดอย่างระมัดระวัง ยิ่งมีสินทรัพย์เยอะ ยิ่งต้องมีแผนจัดการ ให้ความสำคัญกับการส่งต่อสินทรัพย์ด้วย เพราะเมื่อเจ้าของสินทรัพย์ไม่จัดการ และ จากไปก่อนที่จะจัดการมรดกเลือด ย่อมเกิดขึ้นได้ อย่าให้เกิด เหมือนในละคร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook