ไปไม่รอด! "กูเกิลพลัส" ประกาศปิดตัวปีหน้า เหตุคนเมิน สื่อแฉทำข้อมูลหลุดร่วมแสนคน

ไปไม่รอด! "กูเกิลพลัส" ประกาศปิดตัวปีหน้า เหตุคนเมิน สื่อแฉทำข้อมูลหลุดร่วมแสนคน

ไปไม่รอด! "กูเกิลพลัส" ประกาศปิดตัวปีหน้า เหตุคนเมิน สื่อแฉทำข้อมูลหลุดร่วมแสนคน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Google+ เวอร์ชั่นผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งเปิดตัวตั้งแต่ปี 2011 เพื่อให้เป็นคู่แข่งกับ Facebook ในธุรกิจโซเชียลมีเดีย กลายเป็นบริการล่าสุดของ Alphabet ที่ไม่ได้ไปต่อ ถัดจาก GoogleWave เว็บไซต์ส่งข้อความ, บริการสตรีมมิ่ง GoogleVideo, อุปกรณ์มีเดียเพลเยอร์ Nexus Q, เสิร์ชเอ็นจิ้น GoogleX, แอพอ่านข่าว GoogleReader ฯลฯ

จากข้อมูลของ Dustn.tv เมื่อต้นปี พบว่า Plus มีจำนวนผู้ใช้ (Active Users) 395 ล้านคนต่อเดือน แต่ส่วนใหญ่จะใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 3 นาที 46 วินาที ต่อการใช้งาน 1 ครั้ง ส่วนข้อมูลจาก Project Strobe เสริมว่าผู้ใช้งาน 90% เข้าใช้เฉลี่ยไม่ถึง 5 วินาทีเท่านั้น ส่งผลให้บริษัทแม่ตัดสินใจที่จะไม่ดำเนินการต่อในที่สุด โดยจะเปิดให้เข้าใช้งานได้ต่ออีก 10 เดือน จากนั้นจะเหลือเพียงเวอร์ชั่นสำหรับองค์กรเท่านั้น

“ทีมวิศวกรของเราได้ทุ่มเทและอุทิศตัวในการสร้าง Google+ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่มันก็ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ในวงกว้าง หรือได้รับการยอมรับจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมถึงยังได้เห็นว่าผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับแอพอย่างจำกัด”

WSJ แฉทำข้อมูลผู้ใช้รั่ว 5 แสนคน

ด้าน The Wall Street Journal รายงานเมื่อวันจันทร์ว่า พบช่องโหว่ใน Plus ที่ทำให้ข้อมูลของผู้ใช้งานกว่า 5 แสนคนรั่วไห นับตั้งแต่ 2015 จนถึ มี.ค. 2018 ที่ผ่านมา แต่ทางบริษัทไม่เคยเปิดเผยข้อมูลนี้สู่สาธารณะ เนื่องจากเกรงจะถูกตรวจสอบและส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์องค์กร

สำหรับข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ที่รั่วไหลผ่าน API ของแอพภายนอก ประกอบด้วยชื่อสกุล, อีเมล, วันเดือนปีเกิด, เพศ, ที่อยู่ และอาชีพ แต่หมายเลขโทรศัพท์, ข้อความอีเมล, โพสต์ในไทม์ไลน์ และข้อความส่วนตัวนั้น ไม่มีการรั่วไหล

ช่องโหว่ดังกล่าวได้ถูกแก้ไขไปแล้วเมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา โดย Sundar Pichai ซีอีโอได้รับฟังการบรรยายสรุปแล้วเกี่ยวกับแผนการที่จะไม่แจ้งข่าวต่อผู้ใช้ หลังจากที่คณะกรรมการภายในได้มีคำตัดสินขั้นสุดท้าย

ทาง Google ยอมรับว่าได้มีการปิดข่าวจริง โดยแถลงผ่านบล็อกโพสต์ว่า “เราพบบั๊กใน API ของผู้ใช้ Google+ แต่เราไม่พบหลักฐานใดๆ ที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับทราบถึงสิ่งนี้ หรือใช้ประโยชน์จาก API และเราไม่พบหลักฐานว่าข้อมูลโปรไฟล์ได้ถูกใช้ไปในทางที่ผิด”

“ฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเราได้ตรวจสอบปัญหานี้แล้ว เมื่อพิจารณาจากชนิดของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าเราจะสามารถระบุผู้ใช้ให้ถูกต้องเพื่อแจ้งให้ทราบ, ไม่ว่าเราจะมีหลักฐานว่ามีการใช้งานผิดประเภท หรือไม่ว่าจะมีการกระทำที่นักพัฒนาหรือผู้ใช้มีส่วนรับผิดชอบ เกณฑ์ทั้งหมดทั้งมวลต่างก็ไม่ถูกพบในกรณีนี้”

จากการสอบสวนของ Project Strobe โครงการภายในของบริษัท พบว่ามีแอพพลิเคชัน 438 ตัวที่สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ Google+ ได้ และผู้ใช้งานจำนวน 496,951 คน ที่มีการแชร์ข้อมูลส่วนตัวกับเพื่อนในระบบ มีสิทธิ์ที่จะถูกเจาะข้อมูลจากนักพัฒนาภายนอก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook