จะทำฟันแต่ละที “ประกันสังคม” ให้สิทธิทำอะไรได้บ้าง

จะทำฟันแต่ละที “ประกันสังคม” ให้สิทธิทำอะไรได้บ้าง

จะทำฟันแต่ละที “ประกันสังคม” ให้สิทธิทำอะไรได้บ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประสังคมมีสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมไว้สำหรับดูแลผู้ประกันตนด้วยนะ เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่รู้เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เรามาดูกันว่าสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมของประกันสังคมมีอะไรบ้าง ที่เราจะสามารถเบิกได้ เพื่อรักษาสิทธิผลประโยชน์ของตนเอง

ใครมีสิทธิทำฟันได้?

ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทำฟันประกันสังคม ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น ไม่รวมผู้ประกันตนมาตรา40 และต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่เข้ารับบริการทำฟัน โดยจะเป็นช่วงเดือนไหนก็ได้ ซึ่งในกรณีที่ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือน แต่ได้ลาออกจากที่ทำงาน ก็ยังสามารถเข้ารับบริการทันตกรรมได้ เพราะสิทธิประกันสังคมในการทำฟันจะยังคุ้มครองต่ออีก 6 เดือนนับจากวันที่ลาออก

ประกันสังคมให้สิทธิทำฟันอะไรได้บ้าง?

ประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตน เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมได้ทั้งการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด ในวงเงินไม่เกิน 900 บาท/ปี หากค่ารักษาสูงกว่านั้น ผู้ประกันตนจะต้องการจ่ายเงินส่วนเกินเอง 

ประกันสังคมให้สิทธิทำฟันปลอมได้ด้วย

ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าฟันปลอมและค่ารักษาพยาบาล ภายในเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม โดยแยกออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ ใส่ฟันปลอมชนิดถอนได้บางส่วน และใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก

1. ใส่ฟันปลอมชนิดถอนได้บางส่วน 

  • จำนวน 1-5 ซี่ ได้เท่าที่จ่ายในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
  • มากกว่า 5 ซี่ ได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท

2.ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก 

  • ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
  • ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท  ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม

sso

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้สิทธิทำฟัน ประกันสังคม ได้ทั้งกับโรงพยาบาลรัฐ เอกชน รวมถึงคลินิกทันตกรรมก็ได้ด้วยเช่นกัน แต่ต้องเป็นสถานพยาบาลที่ประกันสังคมระบุไว้

ที่สำคัญไม่ว่าผู้ประกันตนจะไปใช้สิทธิทำฟันไม่ว่าจะในสถานพยาบาลของรัฐ ส่วนสถานพยาบาลและคลินิกเอกชน ต่อไปนี้ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินเหมือนแต่ก่อนแล้วนะ เพราะตอนนี้สถานพยาบาลต่างๆ เข้าร่วมโครงการแล้วมากกว่า 1,000 แห่ง สังเกตได้ง่ายๆ ที่สติ๊กเกอร์ที่ระบุว่า “สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรม ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย" ยกเว้นกรณีฟันปลอมที่ถอดได้บางส่วน หรือถอดได้ทั้งปาก ยังต้องสำรองจ่ายเหมือนเดิมไปก่อน แล้วถึงจะยื่นเบิกเงินกับประกันสังคมทีหลัง

dentist1

ซึ่งการเบิกค่าทำฟันกับประกันสังคมนั้น สามารถยื่นขอเบิกค่าทำฟันย้อนหลังได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ รวมถึงสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในวัน-เวลาราชการ หรือจะยื่นเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยจ่าหน้าซองว่า “ฝ่ายสิทธิประโยชน์” พร้อมระบุที่อยู่ของสำนักงานประกันสงคมที่อยู่ใกล้บ้าน

นอกจากนี้ประกันสังคมไม่ได้จำกัดการว่าเบิกได้กี่ครั้งต่อปี ดังนั้น หากค่าทำฟันในปีนั้น ยังไม่ถึง 900 บาท ก็มีสิทธิยื่นเรื่องเบิกได้เรื่อยๆ จนกว่าวงเงินจะครบ 900 บาท ซึ่งวงเงินที่ให้จะเป็นแบบปีต่อปี หากหมดปีวงเงินที่เหลือจะโดนหักทิ้งทันที นำไปสมทบในปีถัดไปไม่ได้

ประกันสังคมใจดีให้เบิกค่าทำฟันได้นานถึง 2 ปี

ประกันสังคมให้เวลาผู้ประกันตนยื่นขอเบิกค่าทำฟันได้ถึง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการทำฟัน โดยยึดวันที่ระบุไว้ในใบรับรองแพทย์เป็นหลัก ถ้ายื่นเรื่องช้ากว่ากำหนดก็จะหมดสิทธิ์ได้รับเงินทันที ที่สำคัญจะต้องเตรียมเอกสารในการขอเบิกเงินทำฟันไว้ด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16
  2. ใบรับรองแพทย์
  3. ใบเสร็จรับเงิน
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  5. เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา (กรณีเบิกฟันปลอมฐานอคริลิก)
  6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี

ซึ่งทางประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารทั้ง 11 แห่ง  

ส่วนกรณีที่ผู้ประกันตนต้องการทราบว่าจะได้รับเงินค่าทำฟันจากประกันสังคมภายในกี่วันนั้น คงกำหนดได้ยากเพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่ยื่น หรือจำนวนผู้มายื่นขอเบิกเงินในช่วงนั้นๆ โดยปกติหากผู้ประกันตนยื่นเอกสารขอเบิกเงินไปที่ประกันสังคมครบถ้วนแล้ว ประมาณ 1-2 สัปดาห์ก็จะได้รับเงิน หากเกินกว่า 2 สัปดาห์ไปแล้วยังไม่ได้รับเงิน ให้รีบติดต่อไปที่ประกันสังคมโดยตรงทันที เพื่อตรวจสอบว่าดำเนินการถึงไหนแล้ว

ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนไม่สะดวกที่จะมายื่นขอเบิกเงินด้วยตนเอง ก็สามารถให้ผู้อื่นไปยื่นแทนได้ เช่น ญาติ เพื่อน หรือบุคคคลในสถานประกอบการของผู้ประกันตน ขอแค่เอกสารทีร่ยื่นครบถ้วนก็พอแล้ว

>> ชวนใช้สิทธิ "ประกันสังคม" ทำฟันไม่ต้องสำรองจ่าย ก่อนสิ้นปี 2561

>> ไปใช้ “สิทธิประกันสังคม” ตรวจสุขภาพฟรีที่โรงพยาบาลกันเถอะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook