ถึงขั้นวิกฤต! Skinfood ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์

ถึงขั้นวิกฤต! Skinfood ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์

ถึงขั้นวิกฤต! Skinfood ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Skinfood ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์เครื่องสำอางเกาหลีที่เคยเฟื่องฟูเมื่อหลายปีก่อน แต่ตอนนี้ Skinfood ถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพราะมีเจ้าหนี้ 14 รายยื่นคำร้องต่อศาล ซึ่งการถูกพิทักษ์ทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการล้มละลาย โดยศาลจะจัดคนกลางไกล่เกลี่ยหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้

หลายคนอาจสงสัยว่าแบรนด์เครื่องสำอางเกาหลีอันดับต้นๆ ถึงเป็นเช่นนี้ ต้องบอกก่อนว่า Skinfood เป็นเครื่องสำอางที่ดังในปี 2000 ต่อมาปี 2004 ตัวแบรนด์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจุดเด่นของตัวแบรนด์มาจากการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่เป็นของกินมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ประกอบกับการเติบโตของอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลี ที่ฉุดเทรนด์แฟชั่นและความงามสไตล์เกาหลีพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย โดยปี 2010 Skinfood ทำรายได้ 4,704 ล้านบาท กำไร 350 ล้านบาท ซึ่งเป็นแบรนด์อันดับที่ 3 ที่ทำยอดขายได้สูงสุดรองจาก Missha  และ The Face Shop

แต่แล้ว Skinfood ก็ไม่สามารถรักษาตำแหน่ง Top 3 ของแบรนด์ที่ทำยอดขายเครื่องสำอางได้อีกต่อไป เพราะด้วยความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป จึงไม่มีนโยบาย Sale ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในปี 2012 เพราะมองว่าสินค้าของแบรนด์มีคุณภาพมากกว่าที่จะไปลดราคาแข่งกับผู้เล่นเจ้าอื่นๆ ส่งผลให้จำนวนลูกค้าลดลงเพราะลูกค้าส่วนใหญ่มองเรื่องราคาของสินค้าด้วย โดยพิษนโยบาย No Sale นี้ยังทำให้ยอดขายลดลงทันที

ปี 2012 รายได้ 5,200 ล้านบาท กำไร 320 ล้านบาท

ปี 2013 รายได้ 4,800 ล้านบาท กำไร 87 ล้านบาท

สุดท้ายปี 2015 บริษัทเริ่มหันมาใช้กลยุทธ์ลดราคา แต่ดูเหมือนว่าจะสายไปเสียแล้ว

อีกประเด็นหนึ่งคือ ลูกค้าเปลี่ยนไปเพราะมีคู่แข่งมากขึ้น คนจีน ถือเป็นหนึ่งในลูกค้าสำคัญของ Skinfood แต่แล้วเทรนด์คนจีนเดินทางไปเที่ยวประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้นเมื่อปี 2014 เป็นต้นมา ส่งผลให้ยอดขายของแบรนด์ลดตามไปด้วย อีกทั้งความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างเกาหลีใต้และจีนมีทิศทางที่ไม่ดีนัก แถมยังมีคู่แข่งเครื่องสำอางเกิดใหม่หลายเจ้า แถมสินค้ามีความใกล้เคียงกันที่สำคัญราคาถูกกว่า ทำให้ปี 2017 แบรนด์ Skinfood รายได้ 3,712 ล้านบาท ขาดทุน 1,260 ล้านบาท ขาดสภาพคล่องไม่สามารถหาเงินมาจ่ายหนี้กับคู่ค้าได้

ต่อมาปัญหาสินค้าขาดตลาดอย่างหนัก เมื่อผู้ค้ารายย่อยสั่งของจากบริษัทใหญ่ของ Sknifood แต่ไม่ได้รับสินค้า ซึ่งหลายคนเชื่อว่าบริษัทฯ ไม่มีเงินที่จะไปซื้อของจากซัพพลายเออร์ เพื่อส่งให้ผู้ค้ารายย่อยอีกทีหนึ่งได้ จนกระกระทั่งเกิดการฟ้องร้องกัน

ที่ผ่านมา Skinfood พยายามปรับโครงสร้างทางการเงิน เพื่อให้สามารถทำธุรกิจต่อ และทยอยจ่ายหนนี้ส่วนที่เหลือไปได้ นอกจากนี้ Skinfood ยังต้องการให้ร้านทั้งเกาหลี และสาขาในต่างประเทศอีก 19 สาขาทั่วโลก ยังดำเนินธุรกิจต่อไปได้ซึ่งหลังจากนี้คงต้องติดตามกันต่อไปว่า Skinfood จะสามารถล้างหนี้ และสามารถกลับมาครองตำแหน่งแบรนด์เครื่องสำอางที่มียอดขายสูงที่สุดได้อีกหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook