“ประกันสังคม” เพิ่มเงินทดแทนให้ผู้ประกันตน 70% ของวันแรกที่หยุดงาน

“ประกันสังคม” เพิ่มเงินทดแทนให้ผู้ประกันตน 70% ของวันแรกที่หยุดงาน

“ประกันสังคม” เพิ่มเงินทดแทนให้ผู้ประกันตน 70% ของวันแรกที่หยุดงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ รักษาการเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ระบุว่า พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมผ่านมา โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป ซึ่งได้มีการปรับปรุงค่ารักษาพยาบาลและขยายความคุ้มครองให้ลูกจ้าง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น และนายจ้างได้รับความเป็นธรรม  

โดยได้มีการเพิ่มอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน  และค่าทำศพกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย โดยออกเป็นกฎกระทรวงเพื่อให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ ดังนี้

  • เพิ่มอัตราค่าทดแทนกรณีต่างๆ จาก 60% เป็น 70% ของค่าจ้างรายเดือน
  • เพิ่มระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้าง ทุพพลภาพเป็นไม่น้อยกว่า 15 ปี จากเดิมไม่เกิน 15 ปี  
  • เพิ่มระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้าง ถึงแก่ความตายหรือสูญหายมีกำหนด 10 ปี จากเดิมกำหนด 8 ปี
  • กำหนดการจ่ายค่าทดแทนสำหรับกรณีลูกจ้าง ไม่สามารถทำงานได้ให้ได้รับตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ จากเดิมจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้าง ไม่สามารถทำงานติดต่อกันเกิน 3 วัน
  • เพิ่มการจ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพของลูกจ้าง ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง จากเดิมจ่ายค่าทำศพเป็นจำนวน 100 เท่า ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน
  • เพิ่มสิทธิรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยจากการทำงานให้ลูกจ้างราชการ จนสิ้นสุดการรักษาไม่ว่าค่ารักษาจะเป็นเท่าไรก็ตาม (เข้างานวันแรกก็ได้สิทธิทันที) ส่วนลูกจ้างส่วนเอกชน จะได้รับสิทธิเพิ่มค่ารักษาพยาบาลจนการรักษาสิ้นสุด จากเดิมตั้งเพดานที่ 2 ล้านบาท  
  • ในส่วนของนายจ้างก็จะได้รับประโยชน์จากร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทนนี้เช่นกัน โดยมีการปรับลดเงินเพิ่มตามกฎหมายจากเดิม 3% ต่อเดือน ลดลงเหลือ 2% ต่อเดือน และกำหนดเกณฑ์การคำนวณเงินเพิ่ม กรณีนายจ้างค้างชำระเงินสมทบ โดยกำหนดให้จำนวนเงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย จากเดิมไม่ได้กำหนดเพดานเงินเพิ่มไว้

sso

ทั้งนี้ นายอนันต์ชัย กล่าวว่า พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 นี้จะส่งผลให้ลูกจ้างมีหลักประกันของชีวิตดีขึ้น รวมถึงค่าทดแทนการขาดรายได้ และระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตในกรณีไม่สามารถทำงานได้มีความจำเป็นต้องหยุดงาน และในส่วนของนายจ้างเองก็จะได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราเงินเพิ่ม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook