ลูกจ้างได้เฮ! เพิ่มเงินชดเชยเป็น 400 วัน กรณีถูกเลิกจ้างหลังทำงานครบ 20 ปี

ลูกจ้างได้เฮ! เพิ่มเงินชดเชยเป็น 400 วัน กรณีถูกเลิกจ้างหลังทำงานครบ 20 ปี

ลูกจ้างได้เฮ! เพิ่มเงินชดเชยเป็น 400 วัน กรณีถูกเลิกจ้างหลังทำงานครบ 20 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทรวงแรงงานจัดหนัก เร่งออกกฎหมายดูแลลูกจ้างหลังเกษียณ กำหนดรับเงินก้อนชดเชยตามอายุงาน พร้อมทั้งเตรียมขยายอัตราค่าชดเชยทำงานต่อเนื่องครบ 20 ปี รับค่าชดเชยทันที 400 วัน ขณะที่สำนักงานประกันสังคมเดินหน้าปรับสูตรคำนวณบำนาญชราภาพใหม่ ขยายอายุเกิดสิทธิจาก 55 เป็น 60 ปี พร้อมการันตีรับบำนาญอย่างน้อย 5 ปี หากตายก่อน ผลประโยชน์ตกแก่ทายาท ส่วนผู้ที่ถูกนายจ้างบังคับให้ออกก่อนอายุ 60 ปี รับบำเหน็จ 10-30 เท่าของบำนาญ กระทั่งอายุครบเกณฑ์

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เร่งหาแนวทางที่จะดูแลคนกลุ่มนี้ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความมั่นคงในบั้นปลายชีวิต โดยเฉพาะลูกจ้างและพนักงานบริษัทซึ่งไม่ได้มีบำเหน็จบำนาญเหมือนกับผู้ที่รับราชการ โดยกระทรวงแรงงานได้สั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่างๆ เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้เกษียณอายุและผู้ที่ทำงานมานานแต่ถูกเลิกจ้าง

ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ซึ่งลูกจ้างทุกบริษัทที่เกษียณอายุ จะได้รับเพิ่มขึ้นนั้นจะมาจาก 2 ส่วนด้วยกัน คือ

ส่วนแรกได้รับจากนายจ้าง ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และอีกส่วนได้รับจากกองทุนประกันสังคมที่ลูกจ้างแต่ละบริษัทส่งเงินเข้ากองทุนไว้ ซึ่งเรื่องนี้ทางสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการปฏิรูประบบบำนาญชราภาพให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติ 179 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ให้ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ผ่านการพิจารณาในวาระ 2 และ 3 เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว โดยสาระสำคัญคือ การปรับเพิ่มอัตราค่าชดเชยให้กับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปได้ค่าชดเชยอัตราใหม่เป็น 400 วัน จากเดิม 300 วัน โดยเป็นการปรับเพิ่มเติมสำหรับคนที่ทำงานมาครบ 20 ปี

ขณะที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีแนวทางจะเพิ่มค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแรงงานเพื่อเพิ่มอัตราค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างให้เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น จากเดิมอัตราค่าชดเชยกรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดนั้น กำหนดอยู่ 5 อัตรา ดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ กฎหมายใหม่ยังเพิ่มสิทธิอื่นๆ เช่น สิทธิลาคลอด กำหนดให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร 98 วัน จากเดิมมีสิทธิลา 90 วัน โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลา 45 วัน และอีก 45 วันไปรับค่าจ้างจากกองทุนประกันสังคม สำหรับ 8 วันที่เพิ่มขึ้นมาในกรณีที่ลูกจ้างลาครบ 98 วัน นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างระหว่างลาหรือไม่ ก็แล้วแต่นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกัน

ทั้งนี้ วันลาเพื่อคลอดดังกล่าว รวมวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนจะคลอดด้วย ซึ่งปัญหาที่ผ่านมาพบว่า การลาเพื่อคลอดบุตร บางฝ่ายตีความว่า ต้องคลอดก่อนจึงจะมีสิทธิลา หรือตีความว่า ไม่รวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอด จึงต้องเขียนให้ชัดเจน อีกทั้งหากวันลาคลอด 98 วัน ไปตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพักร้อน หรือพักผ่อนประจำปี ก็ให้นับรวมวันหยุดดังกล่าวในระหว่างลาคลอด

>> ลูกจ้างรู้ยัง! "ตกงาน-เลิกจ้าง-ลาออก" มีสิทธิได้เงินชดเชยจากประกันสังคมด้วย

>> รู้ไว้ไม่เสียหาย! มนุษย์เงินเดือน ถูกไล่ออกโดยไม่มีเหตุ “ประกันสังคม” จ่าย 45,000 บาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook