ซีพี ศึกษาต่อเนื่อง ส่วนต่อขยาย “อู่ตะเภา-ระยอง” เชื่อมโยงอีอีซี สร้างความเจริญอย่างยั่งยืน

ซีพี ศึกษาต่อเนื่อง ส่วนต่อขยาย “อู่ตะเภา-ระยอง” เชื่อมโยงอีอีซี สร้างความเจริญอย่างยั่งยืน

ซีพี ศึกษาต่อเนื่อง ส่วนต่อขยาย “อู่ตะเภา-ระยอง” เชื่อมโยงอีอีซี สร้างความเจริญอย่างยั่งยืน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใกล้ได้ผู้ชนะการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทั้งนี้แหล่งข่าว ระบุ ผู้ร่วมประมูลตัวเต็ง ชูระยองเป็นเมืองที่มีศักยภาพทุกด้าน ทั้งธุรกิจ ท่องเที่ยว และความพร้อมของคนระยองที่สูงมาก ทั้งนี้ได้เริ่มมีการศึกษาส่วนต่อขยายไปยังระยองแล้ว เพื่อความต่อเนื่องของโครงการและจะศึกษาไปถึงจันทบุรี และตราด

โดยในส่วนต่อขยายช่วงแรก การออกแบบวางแผนสถานีจะเน้นไปที่ใกล้ตัวเมืองระยอง ระยะศูนย์กลางเมืองไม่เกิน 4 กม. และระบบขนส่งย่อยออกเป็นรัศมี 20 กม. เพื่อให้จำนวนผู้โดยสารเพียงพอ

โดยนอกจากจะออกแบบการบริหารรถไฟความเร็วสูงแล้ว จะมีการออกแบบระบบขนส่งย่อยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มารองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของระยอง ซึ่งถือได้ว่า ระยองเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการเติบโต

ทั้งนี้หลายภาคส่วนได้เริ่มศึกษา ในระบบขนส่งรองด้วย อาทิเช่น ระบบขนส่งรถรางก็มีความเป็นไปได้ เพื่อให้ผู้โดยสารสะดวกในการโดยสารแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยืนยันเริ่มมีการลงพื้นที่วิจัยเพื่อให้คนระยองได้ประโยชน์สูงสุดในการเดินทาง และสร้างความเจริญให้คนระยองให้มากที่สุด

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ตามแผนเดิมจะสร้างจากกรุงเทพฯ-ระยองอยู่แล้ว แต่เมื่อมี EEC จึงตัดสร้างถึงอู่ตะเภาก่อน เพราะช่วงจากอู่ตะเภา-ระยอง แนวเส้นทางจะต้องตัดผ่านพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จะต้องใช้เวลาพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) นาน

จำเป็นที่จะต้องปรับแนวใหม่ไม่ให้เข้าไปในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยแนวใหม่อาจจะขยับไปตรงพื้นที่ว่างที่อยู่ด้านซ้ายและด้านขวาแทน จะต้องมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มหรือจะเบี่ยงแนวไปใช้พื้นที่ทางหลวงหมายเลข 3 สัตหีบ-บ้านฉาง-ระยอง ของกรมทางหลวง

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการศึกษา ขณะที่ที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงระยองจะห่างจากศูนย์กลางเมืองประมาณ 4 กม. ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจุดตัดของถนน 36 กับถนน 3138” นายวรวุฒิกล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook