สแกนรายได้ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ผู้สั่งยุบพรรค “ไทยรักษาชาติ”
จากกรณีที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ จากการเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นตัวแทนชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรค รวมถึงตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค 10 ปี
>> ไทยรักษาชาติ "ยุบพรรค" ศาลรัฐธรรมนูญถอนสิทธิการเมืองกรรมการบริหาร 10 ปี
>> เลือกตั้ง 2562: ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์รับคำร้อง "ยุบพรรคไทยรักษาชาติ"
>> เลือกตั้ง 2562: เปิดชื่อตุลาการชี้ชะตา "ไทยรักษาชาติ" หลังรับคำร้องพิจารณายุบพรรค
ทราบหรือไม่ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่พิจารณาคดีรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรรคการเมือง ข้อกฎหมายที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การวินิจฉัยงบประมาณรายจ่ายของว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หรือกรรมธิการ รวมไปถึงการวินิจฉัยคุณสมบัติของสมาชิกรัฐสภา รัฐมนตรี และกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีอัตราเงินเดือนเท่าไหร่? Sanook! Money ได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาฝากกัน
จากการตรวจสอบพระราชกิจจานุเบกษา เกี่ยวกับพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 พบว่า ตามมาตรา 4 ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2555 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ได้รับเงินเพิ่มในระหว่างระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งในอัตรา 12,500 บาทต่อเดือน สำหรับประธานศาลรัฐธรรมนูญ และ 7,300 บาทต่อเดือนสำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
โดยบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มีดังนี้
- ประธานศาลรัฐธรรมนูญ จะได้รับเงินเดือน 83,090 บาท และเงินประจำตำแหน่ง 55,000 บาท รวมทั้งสิ้น 138,090 บาท
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะได้รับเงินเดือน 81,920 บาท และเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท รวมทั้งสิ้น 131,920 บาท
ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่าคณะตุลาการที่พิจารณาคำร้อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) บางส่วนจะได้รับผลตอบแทนตามที่กล่าวมาในข้างต้นตามปีที่ดำรงตำแหน่งในช่วงดังกล่าว
อัลบั้มภาพ 5 ภาพ