นโยบายพรรคพลังประชารัฐมีอะไรบ้าง มาสแกนดูเทียบกับพรรคอื่นๆ
มาดูกันหน่อยว่าหลังจากที่ชัดเจนแล้วว่า พรรคพลังประชารัฐได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย แล้วนโยบายต่างๆ ของพรรคพลังประชารัฐมีอะไรบ้าง พร้อมๆ ไปกับตรวจสอบดูนโยบายของพรรคอื่นดูซะหน่อย ซึ่ง Sanook! Money ได้รวบรวมข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของพรรคพลังประชารัฐและพรรคอื่นๆ มาฝากกันแบบพอหอมปากหอมคอ
พรรคพลังประชารัฐ
"นโยบาย 7-7-7"
- 7 สวัสดิการประชารัฐ
- 7 สังคมประชารัฐ
- 7 เศรษฐกิจประชารัฐ
7 สวัสดิการประชารัฐ
- บัตรประชารัฐ ต่อยอดมาจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สร้างหลักประกันทางสังคมให้กับผู้มีรายได้น้อย
- สวัสดิการรายกลุ่ม ตามความต้องการหรือความจำเป็นพื้นฐานที่แตกต่างกัน ได้แก่ กลุ่มผู้สูงวัย กลุ่มผู้พิการ กลุ่มแรงงาน และกลุ่มอาชีพรับจ้าง
- สวัสดิการคนเมือง ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าเล่าเรียนบุตร
- หมดหนี้มีเงินออม ช่วยทุเลาภาระหนี้ให้กับ 6 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ข้าราชการ SMEs ครู และนักศึกษา
- โครงการบ้านล้านหลัง ให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตัวเอง
- บ้านสุขใจวัยเกษียณ เพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
- สิทธิที่ดินทำกินให้เกษตรกร
7 สังคมประชารัฐ
- การศึกษา 0 พัฒนาคน เตรียมความพร้อมให้ทุกคนมีโอกาส ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงคนทำงาน
- กระจายศูนย์กลางความเจริญสู่ภูมิภาค เช่น EEC และต่อยอดไปยังภูมิภาคอื่นๆ
- สร้างเมืองน่าอยู่ ใกล้บ้าน มีงานทำ
- ชุมชนประชารัฐ ร่วมพัฒนาบ้านเกิด โดยจะมี ‘กองทุนพัฒนาชุมชนประชารัฐ’ มีแหล่งน้ำชุมชน โครงการป่าไม้มีค่า และสร้างวิสาหกิจชุมชน
- เมืองอัจฉริยะสีเขียวโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคน
- สังคมประชารัฐสีขาว ปลอดภัย ปลอดโรค ปลอดยา
- Bangkok 5.0 ผุด 9 ย่านนวัตกรรม พัฒนาย่านการค้า คืนคลองสวยน้ำใสให้คนกรุง สร้างเครือข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์ ผ่านเทคโนโลยี 5G
7 เศรษฐกิจประชารัฐ
- ยกระดับความสามารถผู้ผลิต 5 ล้าน Smart SMEs 1 ล้าน, Smart Farmers 1 ล้าน, Startups 1 ล้าน, Makers และ 1 ล้านค้าปลีกชุมชน
- ก้าวสู่เกษตรประชารัฐ 0 ปรับโครงสร้างภาคเกษตร ด้วยนโยบาย ‘3 เพิ่ม 3 ลด’ นั่นคือ เพิ่มรายได้ เพิ่มนวัตกรรม เพิ่มทางเลือก และ ลดภาระหนี้ ลดความเสี่ยง ลดต้นทุน
- กระจายรายได้ กระจายโอกาส ด้วยการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้
- ชูเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจแบ่งปัน
- สร้างเศรษฐกิจชีวภาพ อุตสาหกรรมหมุนเวียน นวัตกรรมสีเขียว
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งอนาคต เน้นโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล โดยเฉพาะ 5G
- ลดอุปสรรค เพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจ เน้นการปฎิรูประบบราชการ ทำให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
พรรคเพื่อไทย
ชู 10 มาตรการ “ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย รับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลก”
- ปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมรับมือวิกฤติ ให้กับประชาชน และธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็กลุกขึ้นยืนตั้งตัวได้ พร้อมรับมือวิกฤติ
- เติมเงินทุน ด้วยสถาบันพัฒนารายได้ โดยขยายการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนด้วยสถาบันพัฒนารายได้ทุกจังหวัด
- เพิ่มที่ขาย นำสินค้าไทยบุกตลาดโลก
- กิโยตินกฎหมาย ขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางการทำมาหากินของประชาชน โดยจะนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวก เพิ่มความโปร่งใส ให้ประชาชนเป็นเจ้าของธุรกิจได้โดยง่าย
- ลดภาษีอย่างชาญฉลาด เพิ่มรายได้รัฐบาลโดยไม่ขูดรีดประชาชน
- กองทุนปรับเปลี่ยนหน้าดิน โดยปรับโครงสร้างรายได้เกษตรกร พักชำระหนี้เพื่อให้เกษตรกรตั้งตัวได้
- เพิ่มนักท่องเที่ยวให้ถึง 50 ล้านคนต่อปี โดยฟื้นฟูความเชื่อมั่น เพิ่มความปลอดภัย ดึงนักท่องกำลังซื้อสูง สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่
- ศูนย์สร้างเถ้าแก่ใหม่ กองทุนคนเปลี่ยนงาน โดยลดงบกลาโหม 10% ยกเลิกเกณฑ์ทหาร เพื่อนำเงิน 2 หมื่นล้านบาท และเด็กรุ่นใหม่ของชาติมาสร้างธุรกิจ พร้อมตั้งกองทุนคนเปลี่ยนงาน พัฒนาทักษะใหม่ สร้างงาน สร้างธุรกิจให้พนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างจากความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
- สิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับธุรกิจของคนไทย ต้องการให้ธุรกิจของคนไทย ธุรกิจของคนตัวเล็กทั่วประเทศได้มีโอกาสได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีเช่นเดียวกันด้วยบัตรทอง StartUp
- สามสิบบาทยุคใหม่ สร้างสุขภาพดีถ้วนหน้า ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับคนไทยทุกคน
พรรคอนาคตใหม่
"ทลายเศรษฐกิจผู้ขาด" ด้วย 4 นโยบาย
- จัดประมูลสัมปทานของรัฐให้มีความโปร่งใส และเปิดโอกาสให้บริษัทขนาดกลาง-เล็กเข้ามามีส่วนร่วมในการประมูล
- แก้ไขกฎหมายที่เอื้อต่อการผูกขาดของนายทุน
- เปิดใบอนุญาตสร้างธนาคารท้องถิ่น เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
- บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันการค้าอย่างจริงจัง
เกษตรก้าวหน้า
1. ปลดล็อกที่ดินทำกินด้วย 4 ข้อ
- ระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชนที่ต้องการที่ดินทำกิน
- สะสางพื้นที่ป่า ขีดเส้น และแก้กฎหมายป่าไม้ที่มันซ้ำซ้อน
- จัดการพื้นที่ร่วมกันให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ ชุมชนกับองค์กรปกครองท้องถิ่นต้องทำงานร่วมกัน ใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม
- เอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ที่มันหมดสภาพป่าไปแล้ว และให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
2. ปลดหนี้เกษตรกร
3. ใช้เทคโนโลยีลดต้นทุนการทำเกษตรกรรม
เศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อประชาชน
1. เชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานรัฐให้เป็นฐานเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนได้ง่ายมากขึ้น
2. ส่งเสริมอุตสาหกรรมไอทีภายในประเทศและยกระดับสู่ต่างประเทศ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจและการลงทุนได้คล่องตัว
3. การเตรียมความพร้อมให้กับคนไทยเพื่อที่จะเข้าสู่โลกดิจิทัล
- เพิ่มหลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับโรงเรียนสายสามัญ และสายอาชีวะ
- เปิดโรงเรียนสายอาชีพ เน้นภาคปฏิบัติจริง เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่อยู่ในวัยทำงานกลับมาเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยี
- ให้ข้าราชการไทยมีทักษะในด้านดิจิทัลในการวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น
ขนส่งสาธารณะเพื่อทุกคน
สร้างเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมรถไฟ
- สามารถสร้างงาน 150,000 ตำแหน่ง และทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียน 540,000 ล้านบาทต่อปี
พรรคประชาธิปัตย์
ชูนโยบาย "ประกันรายได้คนไทย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง"
- โครงการโฉนดสีฟ้า โดยการออก พ.ร.บ.โฉนดชุมชน ให้สิทธิ์ในการจัดการไปยังชุมชนอย่างแท้จริง ยกระดับเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.กู้ได้ โฉนดสืบทอดถึงลูกหลานได้ ธนาคารที่ดินจัดสรรและเพิ่มการกระจายตัวของที่ดินให้ครอบคลุมความต้องการของประชาชน สะสางโฉนดที่ดินที่ค้างท่อมานาน
- น้ำถึงทุกไร่นา จัดตั้ง "กองทุนน้ำชุมชน" เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้ตลอดปี
- ประกันรายได้เกษตรกร
- ประกันรายได้แรงงาน เป้าหมายค่าแรงของคนไทยต้องไม่ต่ำกว่า 120,000 บาทต่อปี
- เบี้ยผู้ยากไร้ 800 บาท/เดือน โอนตรงสู่บัญชีเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปี
- เบี้ยผู้สูงอายุ 1,000 บาทต่อเดือน โอนตรงสู่บัญชีผู้สูงอายุรับ 1,000 บาท เพื่อดูแลค่าครองชีพและจุนเจือชีวิตความเป็นอยู่ในวัยเกษียณ
พรรคภูมิใจไทย
ชูนโยบาย “ลดอำนาจรัฐ เพื่อปากท้องประชาชน”
กัญชาเสรี
- แก้พรบ.ยาเสพติด พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ สร้างความร่ำรวยให้คนไทย เนื่องจากในต่างประเทศมีการซื้อขายกันสูงถึงกิโลกรัมละ 70,000 โดยที่มีการคาดการณ์ มูลค่าการตลาดของพืชกัญชา ในอนาคต สูงถึง 6 ล้านล้านบาท
บุรีรัมย์โมเดล
- นำความคิดสร้างสรรค์ หาจุดเด่นในการพัฒนาเมือง อย่างเช่นจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำให้เป็นเมืองกีฬาและการท่องเที่ยวที่โด่งดัง เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับประชาชน และเป็นการแก้ไขปัญหาปากท้องพี่น้องประชาชน
ทวงคืนกำไรให้ชาวนา
- เสนอกฎหมายตั้งกองทุนข้าว ระบบกำไรแบ่งปัน เพิ่มรายได้ให้ชาวนา ยุติความไม่เป็นธรรม โดยจัดตั้ง “กองทุนข้าว” ทำหน้าที่บริหารกำหนดโควตาการส่งออก จัดทำประกันภัยความเสี่ยง และบริหารแบ่งปันกำไร โดยกรรมการ3ฝ่าย คือ ชาวนา โรงสี พ่อค้า และฝ่ายราชการ ตกลงราคารับซื้อเบื้องต้นก่อนฤดูกาลเพาะปลูก จากนั้นจะมีการคำนวณต้นทุน และ กำไร ของการผลิตทั้งระบบ แล้วนำผลกำไรมาแบ่งปันอย่างเป็นธรรมซึ่งการผลิตข้าวในระบบมี ชาวนา โรงสี ผู้ค้าข้าว ทั้งในและต่างประเทศ โดยที่พรรคภูมิใจไทย จะนำระบบนี้ไปใช้กับพืชชนิดอื่นๆ ด้วย ยาง มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มทะลาย
ทวงคืนกำไรให้ชาวสวนปาล์ม
- เปลี่ยนสวนปาล์มเป็นบ่อน้ำมัน สร้างโรงไฟฟ้าน้ำมันปาล์ม ปาล์มทะลาย ก.ก.ละ 5 บาท
พัฒนาเขตเศรษฐกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้
- เปลี่ยนเสียงระเบิด เป็นเสียงเครื่องจักร เปลี่ยนงบลับ เป็นงบลงทุน สร้างงาน สร้างรายได้ โดยนำพรบ.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ไปใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้หลักคิดว่า เมื่อแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแล้วจะช่วยบรรเทาปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ลงไป
ทำงานที่ออฟฟิศ สัปดาห์ละ 4 วัน
- โลกออนไลน์ ทำงานที่ไหนก็ได้ เงินเดือนเท่าเดิม แก้ปัญหามลภาวะและการจราจร กรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชน จัดให้ข้าราชการหรือพนักงานบริษัทเอกชนในตำแหน่งที่เหมาะสม ทำงานที่บ้านสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีมาตรการจูงใจทางด้านภาษี สำหรับภาคเอกชน ในการลดปริมาณการจราจรบนท้องถนนของกทม.และปริมณฑล อย่างน้อย ๆ สัปดาห์ละ 1 วัน สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป
ขับ Grab ถูกกฎหมาย
- แก้กฎหมายขนส่ง สร้างทางเลือกใหม่ให้กับการเดินทางของประชาชนในกรุงเทพมหานครด้วยการนำทรัพย์สินส่วนตัวมาสร้างรายได้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่นต่างๆที่สามารถจับคู่ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการด้วยความรวดเร็วทันเวลาส่งผลให้เป็นการส่งเสริมและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการของประเทศไทยเป็นไปได้โดยรวดเร็วปลอดภัยและเป็นธรรมเกิดการทำธุรกิจการประกอบอาชีพสร้างงานสร้างรายได้มากที่สุด
พรรคชาติพัฒนา
"รวมพลังชาติพัฒนา ไทยไร้ปัญหา" โดยเน้นนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้า
เกษตรกรทันสมัย (Smart Farmer)
- ใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต เข้าถึงความรู้และข้อมูลการเกษตร และใช้นวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนสินค้าเกษตรให้กลายเป็นสินค้านวัตกรรมได้
จัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อเกษตรกร
- เพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นสวัสดิการในครอบครัว โดยเฉพาะราคาพืชผลตกต่ำ การช่วยเหลือจะคำนึงถึงประมาณการผลผลิตและราคาพืชผลตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนแก่เกษตรกรก่อนเริ่มฤดูการผลิต โดยมีกองทุนเริ่มต้นในการดำเนินงาน 20,000 ล้านบาท
สร้างตลาดทุนขนาดย่อม (Low Cap) สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs)
- รองรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก และสร้างความสร้างความแข็งแรงมั่นคงให้กับผู้ประกอบกิจการเพื่อยกระดับสู่การเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ ด้วยการสร้างกลไกและพัฒนา ตลาดทุนขนาดย่อม เพื่อให้กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กสามารถยกระดับตัวเอง เข้าสู่แหล่งเงินทุน และสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจได้
จัดตั้งกองทุนกู้ยืมเพื่อการพัฒนาสมาร์ท เอสเอ็มอี (Smart SMEs)
- จัดตั้งกองทุนกู้ยืมในวงเงินงบประมาณ 10,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย
สร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
- จัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประจำตำบล (One Tambon – One Tourist Attraction Fund หรือ OOF) เพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้แก่ทุกตำบล ตำบลละ 2 ล้านบาท เพื่อปลุกเศรษฐกิจรากหญ้าให้ฟื้นคืนภายใต้นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว
ปรับปรุงกลไกตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า
- ยกระดับสินค้าที่มีความผันผวนในด้านราคา เช่น ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ให้มีประสิทธิภาพ ลดการแทรกแซงและสร้างเสถียรภาพของราคาสินค้า ประกันความเสี่ยงด้านราคาในกระบวนการซื้อขาย