เจรจาไฮสปีด รัฐเสียประโยชน์หรือใครได้ประโยชน์?

เจรจาไฮสปีด รัฐเสียประโยชน์หรือใครได้ประโยชน์?

เจรจาไฮสปีด รัฐเสียประโยชน์หรือใครได้ประโยชน์?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเจรจาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ดูเหมือนกระแสจะเร่งรีบกดดันให้ซีพีจบการเจรจา ทั้งที่หลายประเด็นการรถไฟยังไม่ตอบ เพียงแต่ย้ำว่า การรถไฟจะไม่รับเงื่อนไขใด ๆ นอกทีโออาร์ เพราะหวั่นรัฐเสียประโยชน์ แต่จะหันไปเรียกบีทีเอสมาเจรจา! วลีที่สังคมถูกป้อนโปรแกรมข้อมูลจากสิ่งที่บอกต่อกันมา จนต้องตั้งคำถามว่า แล้วรัฐเสียประโยชน์จริงหรือไม่?

1. ซีพีไม่เคยยื่นตัวเลข 117,200 ล้านบาท และ บีทีเอสไม่เคยยื่นตัวเลข 169,000 ล้านบาท แต่มีบุคคลปริศนา เอาตัวเลขที่เอกชนขอรัฐสนับสนุนเท่ากันปีที่ 6-15 นำมาคิดมูลค่าปัจจุบันเอง โดยใช้ตัวเลขดอกเบี้ย discount rate 2.375% ซึ่งดอกเบี้ยอัตรานี้ ไม่มีธนาคารที่ไหนปล่อยให้เอกชนกู้ แต่ถ้าคิดอัตรานี้ จะเท่ากับบีทีเอสขอรัฐสนับสนุน 187,100 ล้านบาท (ไม่ใช่ 169,000 ล้านบาทตามข่าว) ปล่อยตัวเลขผิดแบบนี้ รัฐเสียประโยชน์หรือไม่?

2. หากทำต้นทุนเงินกู้ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง โดยใช้ดอกเบี้ยที่ 5% จะเท่ากับว่า ซีพีขอรัฐสนับสนุนเพียง 90,722 ล้านบาท ในขณะที่บีทีเอสขอรัฐสนับสนุนสูงถึง 144,508 ล้านบาท ซึ่งบีทีเอสยังถือว่าเสนอเกินกรอบทีโออาร์แต่แรก (ครม.อนุมัติเพดานรัฐร่วมลงทุนที่ 119,425 ล้านบาท) การเรียกบีทีเอสมาคุย ทั้งที่เสนอตัวเลขสูงกว่าทีโออาร์แต่แรก รัฐเสียประโยชน์หรือไม่?

3. ในขณะที่เจรจากับซีพี ข้อมูลการเจรจาที่เป็นความลับ ถูกนำมาเสนอข่าวรายวัน ทำไมถึงไม่อนุญาตให้เอกชนเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเรื่องเป็นราว แต่กลับมีข้อห้ามเอกชนนำเสนอข้อมูล แต่ปล่อยให้เกิดข่าวลือจากห้องเจรจา ทำลายความเชื่อมั่นนักลงทุนไปรายวัน แบบนี้รัฐเสียหายหรือไม่

4. การที่ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ แต่เกินอำนาจกรรมการพิจารณา แต่ไม่ส่งต่อไปให้ผู้มีอำนาจพิจารณา เลือกไม่รับตั้งแต่แรกเพียงอ้างตัวอักษร ถือว่าประเทศชาติเสียประโยชน์หรือไม่

5. การรถไฟยังไม่ตอบคำถามหลายข้อจากห้องเจรจา แต่จะเร่งรีบปัดตก และเชิญรายที่สองมาเจรจา หากรีบสรุปแล้วมีปัญหาทีหลัง ดำเนินโครงการไม่สำเร็จ รัฐเสียประโยชน์หรือไม่

6. การเจรจารัฐบอกซีพีห้ามเปลี่ยนตัวเลขที่เสนอมา เพราะจะยึดเงินประกัน แต่ในขณะเดียวกันบอกจะเรียกบีทีเอสมาเจรจาขอลดตัวเลขที่บีทีเอสเสนอมา ผิดทีโออาร์เสียเอง แบบนี้รัฐเสียประโยชน์หรือไม่

7. เงื่อนไขซีพี รัฐได้ประโยชน์ หรือ เสียประโยชน์ สรุปคือ ซีพีเสนอขอรัฐสนับสนุนที่ 90,722 ล้านบาท และขอให้รัฐเอาเงินส่วนที่ต่ำกว่ากรอบ ครม.อนุมัติอยู่ 28,703 ล้านบาท มาตั้งกองทุนสำรองเงินกรณีฉุกเฉิน (Contingent Fund) จำนวน 28,000 ล้านบาท เพื่อลดความเสี่ยงโครงการ

หากโครงการไม่ประสบปัญหาทางการเงิน กองทุนนี้ก็ไม่ต้องมาช่วยเหลือโครงการ ซึ่งรวมเงินที่ซีพีเสนอ รวมกับกองทุนสำรองของรัฐกรณีฉุกเฉิน ก็ยังต่ำกว่ากรอบครม.อนุมัติที่ 119,425 ล้านบาทอยู่ดี แต่กรรมการเลือกที่จะเรียกรายที่เสนอสูงกว่าหลายหมื่นล้านมาเจรจา อย่างนี้รัฐเสียประโยชน์หรือไม่

การอ้างวลีว่า ปัดข้อเสนอเงื่อนไขนอกทีโออาร์ แต่กลับจะเรียกรายที่สองที่ผิดทีโออาร์ตั้งแต่แรกมาเจรจา ทำให้ต้องตั้งคำถามว่า รัฐได้ประโยชน์ หรือ ใครได้ประโยชน์ งานนี้ถือเป็นการสอนมวยซีพีว่า ราคาถูกกว่าไม่ใช่ว่าจะชนะ ต้องเรียนรู้คำว่า หมูเขาจะหาม อย่าเอาคานเข้ามาสอด!!!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook