เลือกตั้ง 2562 พรรคการเมืองใช้งบเลือกตั้งเท่าไหร่? กว่าจะมัดใจได้ 1 เสียง

เลือกตั้ง 2562 พรรคการเมืองใช้งบเลือกตั้งเท่าไหร่? กว่าจะมัดใจได้ 1 เสียง

เลือกตั้ง 2562 พรรคการเมืองใช้งบเลือกตั้งเท่าไหร่? กว่าจะมัดใจได้ 1 เสียง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคมได้ผ่านพ้นไปแล้ว สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็เร่งนับคะแนนกันยิบตา เพื่อที่ให้ได้คะแนนอย่างไม่เป็นทางการก่อนรายงานต่อสื่อทุกสำนักทั้งไทยและเทศที่เฝ้าติดตามผลการเลือกตั้ง โดยคะแนนล่าสุดที่ กกต. ได้นับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการแล้ว 94% โดยพบ 5 อันดับพรรคการเมืองตัวบิ๊กเบิ้ม ที่มีคะแนนจากการเลือกตั้งมากที่สุดถึงหลักล้านคะแนน

ว่าแต่…แต่ละพรรคการเมืองนั้นพอใจกับผลคะแนนการเลือกตั้งที่ออกมาอย่างไม่เป็นทางการ 94% มากน้อยขนาดนั้น และคุ้มค่ากับการทุ่มงบหาเสียงเพื่อคว้าคะแนนหรือไม่?

>> คะแนนเลือกตั้ง 2562: เกาะติดผลเลือกตั้ง วินาทีต่อวินาที ใครจะคว้าชัยจัดตั้งรัฐบาล

>> ผลการเลือกตั้ง 2562 นับคะแนนล่าสุด 94% “พลังประชารัฐ-เพื่อไทย” ยังสูสี

Sanook! Money ได้ลองคำนวณงบหาเสียงของพรรคการเมืองที่ใช้มัดใจ 1 คะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งคร่าวๆ มาฝากกัน

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้ผู้สมัครใช้งบหาเสียงไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อคน โดยเราจะหยิบยกจำนวนผู้สมัคร ส.ส. ทั้งหมดของ 5 พรรคการเมืองระดับบิ๊กเบิ้ม ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย มาคำนวณเพื่อให้ได้งบที่ผู้สมัคร ส.ส. ใช้หาเสียงเลือกตั้ง ดังนี้

  • พรรคพลังประชารัฐ ส่งผู้สมัคร ส.ส. 350 คน (350 คน x 2,000,000 บาท) ใช้งบหาเสียงรวมทั้งสิ้น 700 ล้านบาท
  • พรรคเพื่อไทย ส่งผู้สมัคร ส.ส. 250 คน (250 คน x 2,000,000 บาท) ใช้งบหาเสียงรวมทั้งสิ้น 500 ล้านบาท
  • พรรคอนาคตใหม่ ส่งผู้สมัคร ส.ส. 350 คน (350 คน x 2,000,000 บาท) ใช้งบหาเสียงรวมทั้งสิ้น 700 ล้านบาท
  • พรรคประชาธิปัตย์ ส่งผู้สมัคร ส.ส. 350 คน (350 คน x 2,000,000 บาท) ใช้งบหาเสียงรวมทั้งสิ้น 700 ล้านบาท
  • พรรคภูมิใจไทย ส่งผู้สมัคร ส.ส. 350 คน (350 คน x 2,000,000 บาท) ใช้งบหาเสียงรวมทั้งสิ้น 700 ล้านบาท

ดังนั้น ผู้สมัคร ส.ส. ทั้ง 5 พรรค จะมีต้นทุนที่ใช้ในการหาเสียงตั้งแต่ 500 - 700 ล้านบาท ตามจำนวนผู้สมัครที่แตกต่างกันออกไป

ขณะที่งบพรรคการเมืองใช้หาเสียงนั้น กกต. กำหนดให้ไม่เกิน 35 ล้านบาทต่อพรรค หากลองคำนวณเม็ดเงินผู้สมัคร ส.ส. ที่ใช้หาเสียงทั้ง 5 พรรครวมด้วยกันแล้ว แต่ละพรรคจะได้ต้นทุนหาเสียงทั้งหมด ดังนี้

  • พรรคพลังประชารัฐ มีต้นทุนหาเสียงทั้งหมด 735 ล้านบาท
  • พรรคเพื่อไทย มีต้นทุนหาเสียงทั้งหมด 535 ล้านบาท
  • พรรคอนาคตใหม่ มีต้นทุนหาเสียงทั้งหมด 735 ล้านบาท
  • พรรคประชาธิปัตย์ มีต้นทุนหาเสียงทั้งหมด 735 ล้านบาท
  • พรรคภูมิใจไทย มีต้นทุนหาเสียงทั้งหมด 735 ล้านบาท

ขณะที่ผลการเลือกตั้ง 2562 ทั้งประเทศอย่างไม่เป็นทางการที่ 94% ของวันที่ 25 มีนาคม โดย มี 5 พรรคการเมืองจากทั้งหมด 80 ที่มีคะแนนนำโด่งถึงหลักล้าน ได้แก่

  • อันดับ 1 พรรคพลังประชารัฐ        7,698,115 คะแนน
  • อันดับ 2 พรรคเพื่อไทย                7,229,526 คะแนน
  • อันดับ 3 พรรคอนาคตใหม่           5,311,458 คะแนน
  • อันดับ 4 พรรคประชาธิปัตย์         3,284,958 คะแนน
  • อันดับ 5 พรรคภูมิใจไทย             3,247,658 คะแนน

ดังนั้น หากนำงบที่ใช้หาเสียงทั้งหมดมาคำนวณกับคะแนนของพรรคการเมืองในแต่ละพรรค จะได้คำตอบว่าใน 1 โหวตพรรคการเมืองใช้จ่ายกับการหาเสียงดังนี้

  • อันดับ 1 พรรคพลังประชารัฐ ใช้งบหาเสียงเพื่อให้ได้ 1 คะแนน อยู่ที่ 95.47 บาท
  • อันดับ 2 พรรคเพื่อไทย ใช้งบหาเสียงเพื่อให้ได้ 1 คะแนน อยู่ที่ 74 บาท
  • อันดับ 3 พรรคอนาคตใหม่ ใช้งบหาเสียงเพื่อให้ได้ 1 คะแนน อยู่ที่ 138 บาท
  • อันดับ 4 พรรคประชาธิปัตย์ ใช้งบหาเสียงเพื่อให้ได้ 1 คะแนน อยู่ที่ 223 บาท
  • อันดับ 5 พรรคภูมิใจไทย ใช้งบหาเสียงเพื่อให้ได้ 1 คะแนน อยู่ที่ 226 บาท

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการคำนวณงบประมาณที่ใช้ในการเลือกตั้งเพื่อให้ได้คะแนนเท่านั้น ไม่ใช่รูปแบบการจ่ายเป็นเงินสดหรือซื้อเสียง

ย้ำ! ไม่ใช่การซื้อเสียงนะจ๊ะ หนูๆ……….

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook