ลูกจ้างยิ้ม! หลังกฎหมายคุ้มครองแรงงานใหม่ออกมาแล้ว

ลูกจ้างยิ้ม! หลังกฎหมายคุ้มครองแรงงานใหม่ออกมาแล้ว

ลูกจ้างยิ้ม! หลังกฎหมายคุ้มครองแรงงานใหม่ออกมาแล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบิกษา เผยแพร่ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ดังกล่าวเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับลูกจ้าง 7 ประการใหญ่ โดยมีผลบังคับใช้ทันทีหลังจากนี้ 30 วัน

  1. ลากิจธุระจำเป็นได้ค่าจ้าง 3 วันทำงานต่อปี  
  2. ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ลาก่อนคลอด หลังคลอดได้ 98 วัน
  3. กรณีนายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล หากลูกจ้างไม่ยินยอม ก็สามารถรับค่าชดเชยพิเศษตามกฎหมายฉบับนี้ โดยหากทำงานมาครบ 20 ปีก็ได้รับ 400 วัน  
  4. กรณีเลิกจ้างจะได้รับค่าชดเชยใหม่กรณีเลิกจ้างจะเพิ่มเป็น 6 อัตราจาก 5 อัตรา
  • อัตราที่ 1 ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าขดเชย 30 วัน  
  • อัตราที่  2  ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน  
  • อัตราที่ 3 ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน
  • อัตราที่ 4  ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย  240 วัน
  • อัตราที่ 5   ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย  300 วัน
  • อัตราที่ 6  ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินชดเชย 400 วัน
  1. กรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อี่น หากลูกจ้างไม่ตามไปก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ และได้สิทธิชดเชยตาม 6
  2. กรณีค่าตอบแทน หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน จะเป็นในบางอาชีพ อย่างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) คนขับรถส่งของ ก็เป็นงานที่ไม่มีค่าล่วงเวลา แต่จะได้ค่าตอบแทนเป็นหลัก หากเกินเวลาปกติ โดยของเดิมดอกเบี้ยให้ร้อยละ 5 ต่อปีกรณีลูกจ้างไปฟ้องขอ แต่กฎหมายใหม่ให้ได้สูงสุดถึง 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
  3. ให้สิทธิเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย โดยลูกจ้างมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องค่าจ้าง ค่าตอบแทน ซึ่งกฎหมายเดิมไม่กำหนด แต่ของใหม่เราเพิ่มตรงนี้ว่า ลูกจ้างชายหญิงมีงานเท่าเทียมกันต้องได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook