ไขข้อข้องใจ! ทำอย่างไรถึงจะไม่เสีย “ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก”

ไขข้อข้องใจ! ทำอย่างไรถึงจะไม่เสีย “ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก”

ไขข้อข้องใจ! ทำอย่างไรถึงจะไม่เสีย “ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพจเฟสบุ๊ก TaxBugnoms โพสต์ข้อความถึงเรื่องที่กรมสรรพากรเตรียมเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่า 20,000 บาทต่อปี โดยมีรายละเอียดดังนี้

"จริงไหม? ที่จะเก็บดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
ถึงแม้ว่าจะได้รับต่ำกว่า 20,000 บาทก็ตาม

อ่านให้เคลียร์ก่อนนะครับผม

หลายคนถามมาแบบนี้ พรี่หนอม TaxBugnoms เลยขอวิเคราะห์ประเด็นให้ฟังชัดๆนะครับ #กดแชร์ไว้อ่าน หรือกดไล่ดูตามรูป ได้เลยจ้า

เดิมตั้งแต่แรก กฎหมายให้สิทธิยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ไม่เกิน 20,000 บาทไว้อยู่แล้วล่ะ ซึ่งถ้าตีความกฎหมายกันจริงๆ มันหมายถึง ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ "รวมกันทุกธนาคาร" แต่เนื่องจากธนาคารไม่ได้เชื่อมโยงข้อมูลกัน มันก็เลยแยกกันดูธนาคารใครธนาคารมันกันไป

แต่ทีนี้ กฎหมายใหม่ออกมาบอกว่า ธนาคารต้องส่งข้อมูลการคิดดอกเบี้ยและการจ่ายดอกเบี้ยออมทรัพย์ให้สรรพากรปีละ 4 ครั้ง นั่นแปลว่าต่อจากนี้สรรพากรจะรู้ว่าใครกันน้อ ที่มีเงินฝากเยอะ หลายบัญชี ดอกเบี้ยออมทรัพย์ได้รับเกิน 20,000 บาท แต่ดันไม่ถูกหักภาษีไว้บ้าง กลุ่มนี้ควรจะต้องถูกหักภาษีไว้ทั้งหมด

แต่เท่านั้นยังไม่พอ!! กฎหมายยังบอกว่าถ้าเกิดเจ้าของบัญชีคนไหนไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูล จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และให้ธนาคารหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เลย 15% แล้วส่งข้อมูลการหักภาษีให้สรรพากร (ตามเงื่อนไขของการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามปกติ)

ดังนั้น!! ถ้าเรามีดอกเบี้ยไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี คือ 20,000 บาท เราแค่เซ็นยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลตรงนี้ให้สรรพากรไป แค่นี้ก็จบแล้ว ไม่ต้องคิดมาก เพราะมันไม่มีผลกระทบกับคนปกติที่ทำถูกต้องอยู่แล้วจ้า

ถ้าอ่านแล้วปวดหัว.. ลองเช็คดูว่าเรามีเงินในบัญชีออมทรัพย์รวมกันถึง 3 ล้านบาทไหม (คิดจากดอกเบี้ย 0.7% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่สูงมาก ถ้าดอกเบี้ยต่ำกว่านี้ก็เพิ่มเงินเอาเป็น 4-5 ล้านบาท)

เช็คดูเอาละกันครับ ถ้าเงินเรามีไม่ถึงก็สบายใจ 
ยิ้มหัวเราะพวกคนรวยที่ต้องเสียภาษีต่อไป สมน้ำหน้า!!!

ทีนี้มาดูกันต่อในประเด็นความเชื่อมโยงของกฎหมายกันครับ อันนี้พรี่หนอมลองวิเคราะห์ต่อเล่นๆ ว่าถ้ามองร่วมกันกับเรื่อง #สรรพากรตรวจสอบบัญชีธนาคาร กับ #ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร ยิ่งเห็นชัดเจนว่า พวกที่จะใช้วิธีกระจายบัญชีไปหลายธนาคาร จะเจอกับการส่งข้อมูลทางนี้ เพราะถ้ามีเงินหลายบัญชี แต่ยอดรวมเยอะๆ ก็ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยอยู่ดี จริงไหมจ๊ะ

จะเห็นกฎหมายในช่วงหลังๆของกรมสรรพากรที่ออกมา ค่อนข้างวางแนวทางจัดการคนที่หลบเลี่ยงภาษีได้หลายช่องทาง เล่นได้ว่าถ้าจะหลบตรงนั้นก็จะเจอตรงนี้ ซึ่งต้องดูกันต่อไปว่าจะมีเรื่องไหนให้ติดตามกันครับ

โดยกฎหมายฉบับนี้ เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายนเป็นต้นไป ใครสนใจก็อ่านได้ที่นี่เน้อ : http://www.rd.go.th/…/f…/user_upload/kormor/newlaw/dg344.pdf

ป.ล. เอาจริงๆ พรี่หนอมไม่กลัวกฎหมายฉบับนี้เลยครับ เพราะว่าดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่มีก็ยังไม่ถึงหลักพันเลยจ้า #จบ"

สรุปแล้ว กรมสรรพากรจะจัดการคนหัวหมอเลี่ยงภาษีนั่นเอง ส่วนผู้ที่มีดอกเบี้ยเงินฝากไม่ถึง 20,000 บาทต่อปี ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ แค่เซ็นยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรก็ไม่ต้องเสียภาษี

>> ออมไว้ก็ไม่รอด! กรมสรรพากรจ่อเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่า 2 หมื่นบาทต่อปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook