มะเร็งที่พราก “หมอเมย์” สามารถใช้สิทธิบัตรทองรักษาได้
หลายคนอาจจำหมอเมย์ พญ.ทักษอร เล้าวงค์ แม่ลูกสองที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารระยะที่ 4 ต่อสู้กับโรคร้ายสุดความสามารถจนกระทั่งจากไปอย่างสงบ
>> โซเชียลอาลัย "หมอเมย์" เจ้าของเพจสู้มะเร็งระยะสุดท้าย เสียชีวิตแล้ว
>> เปิดโพสต์เพื่อนรัก "หมอเมย์" ดีใจได้ตัดผมทำวิกให้เพื่อน สวยสดใสในวันสู้มะเร็ง
โรคมะเร็งที่พรากหมอเมย์จัดอยู่ในมะเร็งกระเพาะอาหารที่แพร่กระจาย ต้องใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) โดยการรักษาดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก จนผู้ป่วยเข้าไม่ถึงการรักษา บางทีญาติผู้ป่วยบางรายอาจต้องเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินเพื่อมารักษา
บางคนอาจทราบกันดีอยู่แล้วว่า "โรคมะเร็ง" ถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) โดยครอบคลุมรักษาโรคมะเร็งทุกประเภท เช่น
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งปอด
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
- มะเร็งหลอดอาหาร
- มะเร็งกระเพาะอาหาร
- มะเร็งตับและท่อน้ำดี
- มะเร็งโพรงหลังจมูก
- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งรังไข่
- มะเร็งมดลูก
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งกระดูก
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งในเด็ก
- มะเร็งอื่นๆ
ซึ่งโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่หมอเมย์เป็น ก็สามารถใช้สิทธิบัตรทองตามแนวทางการรักษาของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฉบับล่าสุด (พ.ศ.2561) โดยใช้การรักษาแบบ Palliative Chemotherapy สำหรับผู้ป่วยที่ตรวจพบการแพร่กระจาย
ส่วนการรักษาจะแบ่งออกเป็น 3 อย่างดังนี้
- ผู้ป่วยที่มีสภาพร่างกายสมบูรณ์ ECOG Performance status 0-2 หรือ Kanorfsky 60-100% สามารถรับการรักษาด้วย Chemotherapy ได้ ให้ยาเคมีบำบัด สูตร1 (Portocol 2) แต่หากไม่สามารถรับการรักษาด้วย Chemotherapy ได้ให้การรักษาแบบประคับประคอง (Best supportive care)
- ผู้ป่วยที่สภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ ECOG Performance status > 2 หรือ Kanorfsky < 60% ให้การรักษาแบบประคับประคอง (Best supportive care)
- ในกรณีที่โรคกำเริบหลังจากให้ยาเคมีบำบัดสูตร 1 นานกว่า 6 เดือน ให้พิจารณาใช้ยาสูตรเก่าได้ แต่หากโรคกำเริบอีกภายใน 6 เดือน หลังหยุดยาเคมีบำบัดสูตร 1 ให้พิจารณายาเคมีบำบัด สูตร 2 (Protocol 3)
ดังนั้น หมอเมย์ หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะสุดท้าย หรือระยะที่ 4 สามารถใช้สิทธิบัตรทองประคับประคองผู้ป่วยได้
แต่ขอย้ำว่ามะเร็งในระยะนี้ ไม่สามารถให้หายขาดได้ ยกเว้นระยะแรกถึงระยะที่สาม ซึ่งการรักษาจะต้องผ่าตัดแต่ก็ยังสามารถใช้สิทธิบัตรทองรักษาได้
หากมีอาการผิดปกติควรพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้รักษาได้ทันที่สำคัญควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายควบคู่ด้วย
เพราะ "ไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ"
อัลบั้มภาพ 8 ภาพ