ดอกเบี้ยเงินฝาก กับทางเลือกใหม่ เพื่อคนที่ไม่ประสงค์ส่งข้อมูล

ดอกเบี้ยเงินฝาก กับทางเลือกใหม่ เพื่อคนที่ไม่ประสงค์ส่งข้อมูล

ดอกเบี้ยเงินฝาก กับทางเลือกใหม่ เพื่อคนที่ไม่ประสงค์ส่งข้อมูล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฉบับย่อ

  • กรมสรรพากรจับมือสมาคมธนาคารไทย ส่งข้อมูลรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก เอื้อผู้ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ของประเทศที่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษี
  • ผู้ไม่ประสงค์จะยื่นข้อมูลต้องไปแจ้งกับทุกธนาคารที่มีบัญชีเงินฝาก แล้วนำรายได้จากดอกเบี้ยไปคำนวณกับรายได้ทั้งปีเพื่อรับสิทธิ์ลดหย่อนตามเกณฑ์

niti

กรมสรรพากร และสมาคมธนาคารไทย ชี้แจงเรื่องการเก็บภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยธนาคารซึ่งว่าด้วยแนวทางปฏิบัติใหม่ ทั้งแนวทางปฏิบัติและผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้มีบัญชีเงินฝาก โดยสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

  • กรมสรรพากรยืนยันจะเก็บภาษีในอัตรา 15 เปอร์เซ็นต์ กับผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และผลตอบแทนจากเงินฝากตามหลักการของศาสนาอิสลาม “ทุกบัญชีจากทุกธนาคารรวมกัน” เกินกว่า 20,000 บาทขึ้นไป
  • แนวทางปฏิบัติคือ ธนาคารทุกแห่งจะเป็นผู้ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ทางกรมสรรพากรเป็นผู้คำนวณและเก็บภาษี
  • หากเกินกว่าที่กำหนด กรมสรรพากรก็จะหักภาษีก่อนจ่ายดอกเบี้ยธนาคาร 15 เปอร์เซ็นต์
  • หากไม่เกินที่กำหนด ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยเต็มจำนวน
  • เจ้าของบัญชีมีสิทธิ์ “ไม่ให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝาก” แก่กรมสรรพากรได้ โดยดอกเบี้ยจากธนาคารจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15 เปอร์เซ็นต์ แต่นำรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากยื่นในแบบ ภ.ง.ด. 90 เพื่อขอรับภาษีคืนได้
  • ผู้ที่ประสงค์จะไม่ให้ธนาคารส่งข้อมูล ต้องแจ้งความประสงค์แก่ทุกธนาคารที่มีบัญชีเงินฝาก ภายในวันที่ 7-14 พฤษภาคม เพื่อให้ดำเนินการทันรอบจ่ายดอกเบี้ยครึ่งแรกของปี โดยแจ้งครั้งเดียวจะมีผลตลอด จนกว่าเจ้าของบัญชีจะแจ้งเปลี่ยนแปลง

tax

นายเอกนติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เผยว่า ประกาศนี้เป็นไปเพื่อปรับกระบวนการยื่นภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากให้ใช้กรบวนการดิจิทัลทั้งหมด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยได้หารือเพิ่มเติมกับสมาคมธนาคารเพื่อหาวิธีที่ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก จึงขอให้ธนาคารส่งข้อมูลทั้งหมดทันที ส่วนผู้ที่ไม่ประสงค์ส่งข้อมูลก็สามารถดำเนินการตามกรอบวันเวลาที่กำหนด

ในส่วนของข้อมูล อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสรรพากรได้รับข้อมูลจากธนาคารมาตลอดอยู่แล้วในรูป ภ.ง.ด. 2 เพียงแต่อยู่กระบวนการจัดการข้อมูลยังคงใช้กระดาษและกระจายตามพื้นที่ ทำให้การดำเนินการตามสิทธิ์การยกเว้นภาษีตกหล่น จึงมีแนวคิดที่จะนำข้อมูลที่ได้อยู่แล้วนี้มาดำเนินบนดิจิทัลเพื่อลดความผิดพลาดและช่วยให้ผู้มีสิทธิ์ลดหย่อยได้ใช้สิทธิ์เต็มที่

แนวทางปฏิบัติที่ชี้แจงล่าสุดเป็นการแก้ไขประกาศฉบับเดิมซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน จึงถือว่ามีผลบังคับใช้แล้ว ผู้ที่ไม่ประสงค์ให้กรมสรรพากรได้ข้อมูลดอกเบี้ยจากธนาคารจึงต้องรีบเตรียมดำเนินการโดยเร็ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook