3 ทุนใหญ่ สายป่านหนา เผชิญหน้าสมรภูมิทีวีดิจิทัล บอกเลยหืดจับ!

3 ทุนใหญ่ สายป่านหนา เผชิญหน้าสมรภูมิทีวีดิจิทัล บอกเลยหืดจับ!

3 ทุนใหญ่ สายป่านหนา เผชิญหน้าสมรภูมิทีวีดิจิทัล บอกเลยหืดจับ!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สัปดาห์ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสื่อโดยเฉพาะทีวีดิจิทัลสะเทือนทั้งวงการ หลังผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลทั้ง 7 ราย แห่คืนใบอนุญาต หลังแบกรับปัญหาขาดทุนติดต่อกันหลายปีที่ผ่านมาไม่ไหว

>> อวสานคนทำสื่อ! นายทุนแห่คืน "ทีวีดิจิทัล" 7 ราย พนักงาน-สื่อ ตกงานนับ 1,000 คน

โดยทั้ง 7 ช่องที่คืนใบอนุญาตล้วนขาดทุนสะสมมานานหลายปี อย่างปีล่าสุด (60) ก็ยังขาดทุนเช่นเดิม ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์รายงานว่าผู้ประกอบกิจการทีวีดิจทัลทั้ง 7 ช่องมีผลประกอบการ ดังนี้

บริษัท บีอีซี – มัลติมีเดีย จำกัด (รวม 3 ช่อง)

  • ปี 2560 รายได้ 2,398 ล้านบาท ขาดทุน 204 ล้านบาท

บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด

  • ปี 2560 รายได้ 200 ล้านบาท ขาดทุน 19 ล้านบาท

บริษัท ไบรท์ ทีวี จำกัด

  • ปี 2560 รายได้ 278 ล้านบาท ขาดทุน 134 ล้านบาท

บริษัท วอยซ์ทีวี จํากัด

  • ปี 2560 รายได้ 132 ล้านบาท ขาดทุน 354 ล้านบาท

บริษัท สปริง 26 จำกัด

  • ปี 2560 รายได้ 196 ล้านบาท ขาดทุน 1,213 ล้านบาท

ซึ่ง กสทช. จะต้องควักเงินจ่ายค่าชดเชยให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลทั้ง 7 ช่องที่ประสงค์คืนใบอนุญาตรวมแล้วอยู่ที่ราว 3,000 ล้านบาท ตามสูตรคำนวณเงินชดเชยกรณีคืนใบอนุญาต

การปิดช่อง-จอดำ ของทั้ง 7 ช่องนี้ ล้วนเป็นฝันร้ายของคนในแวดวงสื่อ หมายความว่าพนักงานในองค์กรนั้นจะว่างงานนับพันคนแม้จะได้รับค่าชดเชยจากบริษัทมาก็ตาม บางคนโชคดีหน่อยมีเพื่อนพ้องคอยช่วยเหลือดึงกลับมาทำงานในวงการสื่อเหมือนเดิม บางคนผันตัวเองไปทำอีกสายงานหนึ่ง

คนทำสื่อบางคนอาจมองว่าสื่อที่มีนายทุนใหญ่มีสายป่าน เป็นสื่อที่ทำเงินและได้กำไรมหาศาลคำตอบคือ ไม่จริงเสมอไป Sanook! Money ได้รวบรวมสื่อทีวีดิจิทัลที่อยู่ในกำมือของเจ้าสัวทั้ง 3 คนนี้มาฝากกัน

 tnpress

ความเหมือนกันคือเจ้าสัวทั้ง 3 คนมีทีวีดิจิทัลอยู่ในมือคนละ 2 ช่อง แต่ต่างกันทีใครทำก่อน-ใครมาซื้อหุ้นที่หลัง โดยช่อง TNN16 และ True4U เป็นช่องของ “เจ้าสัวซีพี” นายธนินท์ เจียรวนนท์ แต่แรกอยู่แล้ว

ส่วนช่องอมรินทร์ทีวี 34 กลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้ามาซื้อหุ้นในบริษัทอมรินทร์เมื่อปลายปี 2559 ในสัดส่วน 47.62% วงเงิน 850 ล้านบาท และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในช่องอมรินทร์ ขณะเดียวกันเดือนสิงหาคม 2560 กลุ่มเจ้าสัวเจริญก็ทุ่มเงิน 1,000 ล้านบาท ใน GMM 25 ด้วยสัดส่วนหุ้น 50% ซื้อการเข้าซื้อหุ้นในบริษัทสื่อทีวีดิจิทัลของเจ้าสัวก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการต่อยอดแบรนด์ และโปรโมตสินค้า ไปยังกลุ่มคนดูได้อย่างแม่นยำ

ส่วนช่อง PPTV 36 เดิมเป็นของกลุ่มนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ อยู่แล้ว แต่ได้ควักเงิน 1,910 ล้านบาท ซื้อหุ้น 50% ขอข่อง ONE 31 ที่เน้นหนักเรื่องการผลิตละคร ซีรีส์ ที่โดดเด่นเป็นหลัก เมื่อเดือนธันวาคม 2559

ดังนั้น รายได้ และผลขาดทุนทั้ง 6 ช่องนี้ล้วนแตกต่างกันตามช่วงเวลาการดำเนินงานรวมถึงการเข้าซื้อหุ้นด้วย

เอาล่ะ หลังจากนี้เราอาจจะได้เห็นสมรภูมิทีวีดิจิทัลเดือดระอุกันอีกครั้ง เพราะยิ่งช่องน้อยมากการแข่งขันเพื่อแย่งชิงเรตติ้งรวมถึงเม็ดเงินโฆษณาก็ยิ่งเข้มข้นขึ้นด้วยเช่นกัน 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook