หมอแอร์คลอดปุ๊บ! ลูกได้สัญชาติอเมริกันปั๊บ แต่ชะงักเมื่อเจอ “ภาษี 2 เด้ง” ถ้าไม่ยื่นแบบฟอร์ม

หมอแอร์คลอดปุ๊บ! ลูกได้สัญชาติอเมริกันปั๊บ แต่ชะงักเมื่อเจอ “ภาษี 2 เด้ง” ถ้าไม่ยื่นแบบฟอร์ม

หมอแอร์คลอดปุ๊บ! ลูกได้สัญชาติอเมริกันปั๊บ แต่ชะงักเมื่อเจอ “ภาษี 2 เด้ง” ถ้าไม่ยื่นแบบฟอร์ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดูเหมือนโครงการ Have My Baby in Miami ที่ หมอแอร์ พ.ต.อ.หญิง พญ.อัชชุลี เพ็ชรรัตน์ เข้าร่วมโครงการเพื่อให้ลูกได้สัญชาติอเมริกันและได้สิทธิเทียบเท่ากับพลเมืองอเมริกัน ตกเป็นเป้าวิจารณ์หนักกันในโลกโซเชียล

>> เพจหมอแอร์เจอดราม่า! ชวนบินคลอดสหรัฐให้ลูกได้สัญชาติ อีกฝั่งโต้ไม่แฟร์กับคนเสียภาษี

หลายเสียงต่างมองว่าเป็นการเบียดเบียนสิทธิและภาษีพลเมืองของรัฐฯนั้นๆ แต่รู้หรือไม่ว่าลูกของหมอแอร์ที่เกิดและได้สัญชาติอเมริกันเมื่อโตไปทำงานจะต้องเสียภาษีเทียบเท่าพลเมืองของประเทศนั้นด้วย Sanook! Money ได้สอบถามกับอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติท่านหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องการเสียภาษีของคนไทยที่ได้สัญชาติอเมริกัน โดยทราบว่าการเสียภาษีนั้นต้องเป็นไปตามข้อตกลง FATCA 

FATCA (ย่อมาจาก Foreign Account Tax Compliance Act) เป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันมิให้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่มีสถานะเป็นบุคคลอเมริกา (US Person) หลีกเลี่ยงภาษีโดยวิธีการเปิดบัญชีหรือลงทุนกับสถาบันการเงินนอกสหรัฐอเมริกา จึงกำหนดให้สถาบันการเงินที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกาทั่วโลกรายงานข้อมูลบัญชีและธุรกรรมทางการเงิน (US Account) ของลูกค้าที่มีสถานะเป็นบุคคลอเมริกัน ไปยังหน่วยงานสรรพากรของสหรัฐฯ (Internal Revenue Service : IRS)

ทำไมสถาบันการเงินถึงยอมทำให้สหรัฐอเมริกา?

เหตุผลที่สถานบันการเงินในประเทศไทยยอมผูกพันตนตามกฎหมาย FATCA เนื่องจากสถาบันการเงินในประเทศไทยมีการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินทั่วโลกเป็นจำนวนมาก การค้าระหว่างประเทศส่วนใหญ่ก็ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จึงจำเป็นต้องให้ความร่วมมือกับ IRS เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกดำเนินมาตรการ

  1. หักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งให้ IRS ในอัตรา 30% ของรายได้ที่เกิดจากการทำธุรกรรมในสหรัฐอเมริกา เช่น การฝากเงิน การลงทุน หรือการปล่อยสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่เกิดจากเงินของสถาบันการเงินหรือของลูกค้า โดยคิดจากทั้งเงินต้นและผลตอบแทน (จากเดิมไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย)
  2. ปฏิเสธการทำธุรกรรมทางการเงินจากสถาบันการเงินอื่นทั่วโลกที่ให้ความร่วมมือ

ซึ่งมาตรการทั้ง 2 ข้ออาจส่งผลกระทบกับการทำธุรกรรมของลูกค้า เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจและเพิ่มต้นทุนของภาคระบบการเงินไทย

ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้าโดยรวม สถาบันการเงินในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องดำเนินการเก็บข้อมูลของลูกค้าปัจจุบันและลูกค้ารายใหม่ โดยการขอความร่วมมือลูกค้าในการตอบแบบฟอร์ม FATCA เพื่อยืนยันสถานะว่าเป็นบุคคลอเมริกันหรือไม่

สำหรับการเสียภาษีอากรตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา โดยจะถามถึงข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นบุคคลอเมริกัน เช่น ความเป็นพลเมือง สัญชาติ การถือกรีนการ์ด สถานที่เกิด ที่อยู่ (ถาวร/ ปัจจุบัน /ติดต่อได้) หมายเลขโทรศัพท์ การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นที่มีอยู่ในสหรัฐอเมริกาดำเนินการเกี่ยวกับบัญชี การทำคำสั่งรายการโอนเงินเป็นประจำ ฯลฯ (หากเป็นบุคคลที่เป็นหรือมีข้อบ่งชี้ว่าเป็นบุคคลอเมริกัน ก็ต้องกรอกแบบฟอร์มอื่นเพิ่มเติมด้วย)

นอกจากนี้ ลูกค้าต้องลงนามให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลและหักเงินจากบัญชี เพื่อไว้ใช้ในกรณีที่ต้องพิสูจน์เพิ่มเติมว่าเป็นบุคคลอเมริกันหรือไม่ และหากเป็นบุคคลอเมริกัน หรือหากไม่ยินยอมเปิดเผยข้อมูลก็อาจจะต้องถูกหักเงินเพื่อเสียภาษีตามกฎหมาย FATCA

สรุป ลูกของหมอแอร์ที่ได้รับสัญชาติอเมริกันมีสิทธิอยู่-ทำงานในสหรัฐฯได้ จะต้องยื่นแบบแสดงรายงานการเสียภาษีทุกปีให้กับรัฐบาลของประเทศสหรัฐฯ หรือประเทศที่ไปอยู่เป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อเดินทางกลับมาที่ประเทศไทย อดีต สนช. ท่านนี้ระบุว่า จะต้องยื่นหลักฐานดังกล่าวว่าได้แจ้งการเสียภาษีเงินได้แล้วจะไม่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน

อัลบั้มภาพ 11 ภาพ

อัลบั้มภาพ 11 ภาพ ของ หมอแอร์คลอดปุ๊บ! ลูกได้สัญชาติอเมริกันปั๊บ แต่ชะงักเมื่อเจอ “ภาษี 2 เด้ง” ถ้าไม่ยื่นแบบฟอร์ม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook