อนุมัติกลุ่มซีพี สร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดรัฐได้ประโยชน์ 3 แสนล้าน

อนุมัติกลุ่มซีพี สร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดรัฐได้ประโยชน์ 3 แสนล้าน

อนุมัติกลุ่มซีพี สร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดรัฐได้ประโยชน์ 3 แสนล้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (28 พ.ค. 62) นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติและเห็นชอบ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับ CPH ผู้ชนะการประมูลเส้นทางสนามบินดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา มูลค่าการลงทุนในส่วนภาคเอกชน 117,226 ล้านบาท นับว่าต่ำกว่ากรอบที่ ครม.อนุมัติกรอบลงทุนไว้ 2,198 ล้านบาท ในวงเงิน 119,425 ล้านบาท ในส่วนการร่วมลงทุนของ ร.ฟ.ท. ร่วมลงทุน 149,650 ล้านบาท จะนำส่งให้ภาคเอกชน CPH สำหรับก่อสร้างรายปี 14,965 ล้านบาท เป็นเวลา 10 ปี

ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เมื่อ ครม. เห็นชอบสัญญาการร่วมลงทุนระหว่าง ร.ฟ.ท. กับกลุ่ม CPH เตรียมลงนามสัญญาในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ตามแผน มั่นใจว่าการก่อสร้างโครงการจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2567 โดยภาคเอกชนเป็นผู้รับภาระความเสี่ยงในการบริหารโครงการในการจัดเก็บค่าโดยสาร ตลอดอายุสัมปทาน 50 ปี จะทำให้มูลค่าโครงการเพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนล้านบาท โดยทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐ

อย่างไรก็ตาม ครม.ให้รับข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดอย่างเคร่งครัด เช่น การส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเข้าดำเนินการก่อสร้างโครงการ โดยไม่ทำให้ ร.ฟ.ท.ผิดสัญญา กำหนดให้มีหน่วยงานติดตาม กำกับ และบริหารสัญญาร่วมลงทุนอย่างใกล้ชิดตลอดอายุโครงการ

>> ซีพี คว้าไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินอย่างทางการ เตรียมชงเข้า ครม. 28 พ.ค.นี้

นายณัฐพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม ครม. ยังเห็นชอบโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นทางบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - นครพนม วงเงินลงทุน 66,848 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 8 ปี (ปี 61 - 68) รัฐบาลก่อสร้างเองทั้งหมด โดยสำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้ ร.ฟ.ท. ก่อสร้างก่อนเป็นจำนวนเงิน 10,255 ล้านบาท จากนั้นกระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้ให้ ร.ฟ.ท. ในส่วนที่เหลืออยู่

โครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนารถไฟสายใหม่ เชื่อมการคมนาคมขนส่งแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) จาก อ.แม่สอด จ.ตาก - พิษณุโลก - เพชรบูรณ์ - ขอนแก่น - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร ขนาดราง 1 เมตร ระยะทาง 355 กิโลเมตร เกิดสถานีใหม่ 30 สถานีผ่านพื้นที่ 6 จังหวัด รองรับผู้โดยสาร 3.83 ล้านคนในปี 69 ปริมาณขนส่งตู้สินค้า 748,453 ตัน มีผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 13.49

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook