ลุงตู่เฮลั่น! ความสามารถแข่งขันไทยดีขึ้น 5 อันดับ สูงสุดรอบ 10 ปี

ลุงตู่เฮลั่น! ความสามารถแข่งขันไทยดีขึ้น 5 อันดับ สูงสุดรอบ 10 ปี

ลุงตู่เฮลั่น! ความสามารถแข่งขันไทยดีขึ้น 5 อันดับ สูงสุดรอบ 10 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พอใจผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย ประจำปี 2562 ซึ่งประเมินโดย International Institute for Management Development หรือ IMD ที่ปรากฏว่า ไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 5 อันดับ จากอันดับที่ 30 เป็น 25 ซึ่งนับเป็นอันดับที่ดีที่สุดในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา

ปี 2562 ผลการจัดอันดับดีขึ้น 3 ด้าน จากทั้งหมด 4 ด้าน คือ สภาวะเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังเป็นประเด็นท้าทายที่ไทยจะต้องพัฒนาต่อไป

โดยนายกรัฐมนตรีย้ำว่าความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย และท้ายที่สุดคนไทยและประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์โดยตรง ซึ่งรัฐบาลเร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ จึงทำให้อันดับเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศดีขึ้นมาก เช่นเดียวกับการปรับปรุงกระบวนการอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจผ่านระบบดิจิทัล ทำให้การบริการรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ยังเพิ่มสัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศอย่างก้าวกระโดด สิ่งสำคัญคือ การสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมมือกันยกระดับการทำงานของตนเอง โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงภาคการเกษตร ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศ โดยรัฐบาลเร่งส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ รวมทั้งพัฒนาคนให้พร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน

ทั้งนี้ สถาบัน IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เผยแพร่รายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 2019 ซึ่งเป็นการรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ 63 ประเทศทั่วโลก

ผลการจัดอันดับดังกล่าว พบว่า ในปีนี้ประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 แทนที่สหรัฐอเมริกาที่ลดลงไปเป็นอันดับที่ 3 ตามด้วยฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ประเทศที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นมากที่สุด ได้แก่ 

- ประเทศซาอุดิอาระเบีย ที่มีอันดับสูงขึ้นถึง 13 อันดับจากอันดับที่ 39 ในปี 61 เลื่อนมาอยู่ในอันดับที่ 26 ในปี 62 
- รองลงมาคือ ประเทศอินโดนีเซีย ที่เลื่อนขึ้นมาถึง 11 อันดับ จากอันดับที่ 43 ในปี 61 เลื่อนมาอยู่ในอันดับที่ 32 ในปี 62

หากพิจารณาเฉพาะ 5 ประเทศอาเซียนที่อยู่ในการจัดอันดับนี้ ซึ่งได้แก่ 

สิงคโปร์ ที่ครองแชมป์
มาเลเซีย ยังคงที่อันเดิมจากปี 61 คือ อันดับที่ 22 
ไทย จากอันดับที่ 30 เป็นอันดับที่ 25 
ฟิลิปปินส์ จากอันดับที่ 50 เป็นอันดับที่ 46
อินโดนีเซีย จากอันดับที่ 43 เป็นอันดับที่ 32

ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในปี 2562 ผลปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 25 จากทั้งหมด 63 ประเทศ โดยเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 30 ในปี 2561 ถึง 5 อันดับ ซึ่งจากผลการจัดอันดับที่แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่

1. สภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) 
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) 
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) 
4. โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

ปรากฏว่าผลการจัดอันดับดีขึ้นทุกด้านยกเว้นประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ โดยด้านสภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 10 มาเป็นอันดับที่ 8

อย่างไรก็ตาม สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) สรุปผลการจัดอันดับในปีนี้ไว้ว่า 

"นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ประเทศไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสนับสนุนของการพัฒนายังคงเป็นปัจจัยด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยมีพื้นฐานค่อนข้างดี นอกจากนี้ ผลการจัดอันดับในปีนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าในหลายด้าน โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวคือ โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาและมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีประเด็นท้าทายในการพัฒนาศักยภาพของคนให้มีความรู้เท่าทันความรู้ เทคโนโลยี และความเปลี่ยนแปลงในบริบทใหม่ของโลก รวมถึงการกระจายโอกาสในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ เหล่านี้ให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มผลิตภาพและรายได้ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือและช่องทางในการเข้าถึงบริการทางสังคมของประชากรได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมด้วยเช่นกัน"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook