ทุบทิ้ง"สะพานรัชโยธิน"สร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เบื้องต้นได้หารือร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อปรับแบบก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว
ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และช่วงสะพานใหม่-คูคต ที่มีโครงสร้างซ้อนทับกับสะพานข้ามแยกของ กทม.โดยขณะนี้ได้ข้อยุติร่วมกันแล้วว่า ทั้ง กทม.และบริษัทที่ปรึกษาโครงการอยู่ระหว่างออกแบบร่วมกัน
โครงสร้างทับซ้อน 3 จุด
ทั้งนี้ แนวเส้นทางจากช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กม. มีจุดที่มีปัญหาด้านโครงสร้างรถไฟฟ้าอยู่ 3 บริเวณ คือ
1.แยกรัชโยธิน มีสะพานข้ามแยกสะพานขวางอยู่ หาก รฟม.สร้างโครงสร้างรถไฟฟ้า จะทำให้ต้องยกข้าม และมีระดับที่สูงเกินความจำเป็น ผลหารือร่วมกันได้ข้อสรุป
ทาง กทม.จะรื้อสะพานข้ามแยก และปรับเป็นสร้างอุโมงค์ทางลอดในแนว ถ.พหลโยธินแทน
2.แยกเกษตรศาสตร์ จะรื้อและปรับโครงสร้างสะพานให้สั้นลงจากเดิม คงไว้เป็นสะพานขนาดเล็กข้ามทางแยก เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับสร้างสถานี
3.บริเวณอนุสาวรีย์หลักสี่ ที่เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีสะพานข้ามแยกของกรมทางหลวง (ทล.) สร้างไว้อยู่เดิม มีการปรับแบบร่วมกับ ทล.เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่เริ่มก่อสร้างสะพาน
ส่วนช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 7 กม. ไม่มีปัญหาเรื่องโครงสร้างที่ซ้อนทับกับโครงการอื่น ๆ
เงินลงทุนเพิ่ม 5-10%
นายพีระยุทธกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน รฟม.อยู่ระหว่างให้บริษัทที่ปรึกษาทบทวนวงเงินลงทุนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบันที่ค่าแรงและวัสดุก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้น
เนื่องจากราคาเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้เมื่อปี 2549 วงเงินลงทุนรวม 59,911.48 ล้านบาท แยกเป็นช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ 36,404.48 ล้านบาท
และช่วงสะพานใหม่-คูคต 23,507 ล้านบาท คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยประมาณ 5-10%
"หลังได้ข้อสรุปเรื่องแบบและค่าก่อสร้าง จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เพื่อดำเนินการประกวดราคาต่อไป แนวทางจะเสนอให้ยุบรวม 2 ช่วงให้เป็นสายเดียวกัน
แบ่งสัญญาประมูลและก่อสร้างงานโยธา 2-3 สัญญา และงานวางรางอีก 1 สัญญา คาดว่าจะดำเนินการได้ในสิ้นปีนี้ เริ่มสร้างต้นปี 2556 กำหนดเปิดบริการปี 2560"
หมอชิต-สะพานใหม่ 12 สถานี
สำหรับรูปแบบโครงการ ออกแบบให้เป็นโครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง รายละเอียดมีดังนี้ แนวสายทางเริ่มจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่หมอชิต
วิ่งตรงไปตามแนว ถ.พหลโยธิน ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยก ม.เกษตรศาสตร์ ไปจนถึงพหลโยธินซอย 66
แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกไปด้านซ้าย ไปจนถึงอนุสารีย์หลักสี่ จากนั้นถึงจะกลับมาอยู่บนเกาะกลาง ถ.พหลโยธิน มาสิ้นสุดที่สะพานใหม่
โดยช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ มี 12 สถานี แบ่งเป็นช่วงจากหมอชิต-สะพานใหม่มี
1.สถานีห้าแยกลาดพร้าว ตั้งอยู่บน ถ.พหลโยธิน หน้าห้างเซ็นทรัล เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีพหลโยธิน
2.สถานีพหลโยธิน 24 บริเวณซอยพหลโยธิน 24
3.สถานีรัชโยธิน ใกล้ซอยพหลโยธิน 30
4.สถานีเสนานิคม บริเวณซอยพหลโยธิน 34
5.สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ด้านข้าง ม.เกษตรศาสตร์
6.สถานีกรมป่าไม้ บริเวณซอยพหลโยธิน 45 แยก 2
7. สถานีบางบัว ตั้งอยู่หน้า ม.ศรีปทุม
8.สถานีกรมทหารราบที่ 11 บริเวณซอยพหลโยธิน 53
สะพานใหม่-คูคต 4 สถานี
9.สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ บริเวณอนุสาวรีย์หลักสี่
10.สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ บริเวณซอยพหลโยธิน 59
11.สถานีสายหยุด บริเวณซอยพหลโยธิน 69 และ
12.สถานีสะพานใหม่ ตั้งอยู่บริเวณตลาดยิ่งเจริญส่วนช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยะทาง รวม7 กม. เป็นโครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทางเช่นกัน
เริ่มต้นจากจุดสิ้นสุดโครงการช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ไปตามแนว ถ.พหลโยธิน จนสิ้นสุดเขตกองทัพอากาศ แล้วเลี้ยวขวาตัดเข้า ถ.ลำลูกกา ถึงคูคต มี 4 สถานี ประกอบด้วย
1.สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
2.สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
3.สถานี กม.25
4.สถานีคูคต
เปิดแนวเวนคืนที่ดิน สร้างรถไฟฟ้า มีบ้านคุณรึเปล่า ?
ภาพรวมโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย