เปิดโผ 54 หุ้น เอี่ยว 12 ตระกูลร่วมรัฐบาลใหม่ พบ 12 ตัวบวกแรงหลังเลือกตั้ง

เปิดโผ 54 หุ้น เอี่ยว 12 ตระกูลร่วมรัฐบาลใหม่ พบ 12 ตัวบวกแรงหลังเลือกตั้ง

เปิดโผ 54 หุ้น เอี่ยว 12 ตระกูลร่วมรัฐบาลใหม่ พบ 12 ตัวบวกแรงหลังเลือกตั้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (24 มิ.ย.) สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย รายงานข่าวชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจในประเด็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันของนักการเมืองกับการลงทุนในตลาดหุ้น โดยระบุว่า ตลาดหุ้นกับการเมืองมักมีความสัมพันธ์กันเสมอ เนื่องจากนโยบายหรือโครงการลงทุนของรัฐบาลเป็นปัจจัยผลักดันสำคัญต่อภาคธุรกิจ จึงเป็นที่จับตามองว่า กลุ่มบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่มีการถือหุ้นโดยบุคคลที่อยู่ในฝั่งรัฐบาลอาจจะได้รับอานิสงส์ในด้านใดด้านหนึ่ง

ล่าสุดแม้ยังไม่มีการประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่อย่างเป็นทางการ แต่การวางตำแหน่งแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรีเริ่มสะเด็ดน้ำและชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะกระทรวงสำคัญๆ ที่เริ่มเปิดเผยรายชื่อกันออกมาเกือบทั้งหมดแล้ว หากจะมีการเปลี่ยนแปลงก็แค่สลับตำแหน่งตามความเหมาะสมเท่านั้น

เมื่อสำรวจข้อมูลการถือหุ้นของว่าที่รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากฝั่งรัฐบาล พบว่า มี 12 ตระกูลดังถือหุ้นใน บจ.ทั้งสิ้นถึง 54 บริษัท ประกอบด้วย

"โสภณพนิช" ถือหุ้น 22 บริษัทในตลาดหุ้น

ตระกูล "โสภณพนิช" เป็นกลุ่มที่ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนมากที่สุดถึง 22 บริษัท โดย "คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช" จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งโดยส่วนตัวถือหุ้น 1 บริษัทคือ บมจ.ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ (UT) จำนวน 237,300 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 0.53% ขณะที่สามี "โชติ โสภณพนิช" ถือหุ้นใน บมจ.กรุงเทพประกันภัย (BKI) จำนวน 838,600 หุ้น สัดส่วน 0.79% และบุตรสาว "กิติยา โสภณพนิช" ถือหุ้นใน บมจ.กรุงเทพโสภณ (KWC) จำนวน 30,200 หุ้น สัดส่วน 0.5%

ส่วนคนอื่นๆ ในตระกูลนี้ถือหุ้น บจ.รวมทั้งสิ้น 22 บริษัท ดังนี้

หุ้นที่ถือโดยตระกูล “โสภณพนิช”

ถือโดย

ชื่อย่อหุ้น

จำนวน (ล้านหุ้น)

สัดส่วน (%)

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช

UT

0.24

0.53

โชติ โสภณพนิช

BKI

0.84

0.79

KWC

0.09

1.56

กิติยา โสภณพนิช

KWC

0.03

0.5

สมาชิกอื่นๆ ในตระกูล

BLA

354.09

20.74

KWC

1.16

19.35

BKI

15.80

14.85

BH

45.49

6.25

FMT

2.74

5.71

TTTM

0.32

5.38

DTC

42.39

4.99

ASP

96.50

4.58

ASK

11.44

3.25

SMIT

14.40

2.72

UT

1.15

2.57

SITHAI

38.00

1.4

CNS

27.76

1.29

NC

0.17

1.12

BBL

17.28

0.91

SAUCE

2.92

0.81

TRT

2.19

0.71

CSR

0.14

0.69

CTW

2.73

0.69

CPI

4.25

0.67

UVAN

5.49

0.58

TCJ

0.56

0.53

 

"จึงรุ่งเรืองกิจ" ขั้วพลังประชารัฐ ถือหุ้น 11 ตัว

ในขณะที่คนดังอย่าง "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" พลาดตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่อีกขั้วหนึ่งของตระกูลอย่าง "สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" จากพรรคพลังประชารัฐ เตรียมนั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ขณะเดียวกัน "พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ" จากพรรคพลังประชารัฐเช่นกัน ก็ได้เป็น ส.ส.ฝั่งรัฐบาลด้วย โดย 2 คนดังกล่าวไม่ปรากฏชื่อการถือหุ้นใน บจ. แต่มีคนในครอบครัวคือ "โกมล จึงรุงเรืองกิจ" พี่ชายของ "สุริยะ" และบิดาของ "พงศ์กวิน" ถือหุ้นอยู่ทั้งสิ้น 11 บริษัท ได้แก่

หุ้นที่ถือโดยตระกูล “จึงรุ่งเรืองกิจ” ฝั่งพลังประชารัฐ

ถือโดย

ชื่อย่อหุ้น

จำนวน (ล้านหุ้น)

สัดส่วน (%)

โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ

APURE

347.15

36.23

IEC

26,279.65

10.54

AIRA

304.17

4.82

GRAMMY

22.72

2.77

SSI

864.13

2.69

CEN

15.95

2.14

BWG

71.57

1.87

U

86.45

1.54

ICHI

9.35

0.72

EFORL

180.00

0.56

SAFARI

12.00

0.54

 

ทั้งนี้ "พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ" เคยดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ บมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิล เอนจีเนียริง (IEC) หุ้นที่ปัจจุบันอยู่ในข่ายจะถูกตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิกถอน เนื่องจากไม่ส่งงบการเงิน

"ทีปสุวรรณ" ถือหุ้น 5 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ด้านตระกูล "ทีปสุวรรณ" ซึ่ง "ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ" จากพรรคพลังประชารัฐ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แม้ส่วนตัวจะไม่มีการถือหุ้นใดๆ แต่คนในตระกูลนี้ถือหุ้นอยู่ 5 บจ. ประกอบด้วย

หุ้นที่ถือโดยตระกูล “ทีปสุวรรณ”

ชื่อย่อหุ้น

จำนวน (ล้านหุ้น)

สัดส่วน (%)

BLAND

422.93

10.82

TCMC

50.24

6.58

TSTH

460.21

5.46

TPIPL

189.22

0.94

ZMICO

11.50

0.7


"ไกรฤกษ์" ถือหุ้น 4 บจ.

ตระกูลนี้มี "จุติ ไกรฤกษ์" เป็นว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แม้โดยส่วนตัวจะไม่มีข้อมูลการถือหุ้นใน บจ.ใดเลย แต่คนในตระกูล "ไกรฤกษ์" ถือหุ้น 4 บริษัท ประกอบด้วย

หุ้นที่ถือโดยตระกูล “ไกรฤกษ์”

ชื่อย่อหุ้น

จำนวน (ล้านหุ้น)

สัดส่วน (%)

MCS

4.82

0.96

KWC

0.05

0.86

UPF

0.06

0.86

SORKON

0.24

0.75


"ชาญวีรกูล" ถือหุ้น 3 บจ.

ฟากตระกูลดังอย่าง "ชาญวีรกูล" ที่ "อนุทิน ชาญวีรกูล" หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เป็นว่าที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีการถือหุ้นอยู่ทั้งสิ้น 3 บริษัท โดย "อนุทิน" ถือหุ้น บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) จำนวน 71.55 ล้านหุ้น สัดส่วน 4.69% และถือหุ้น บมจ.เอสทีพี แอนด์ ไอ (STPI) อีก 164.59 ล้านหุ้น สัดส่วน 10.13% ขณะที่ภรรยา "ศศิธร ชาญวีรกูล" ถือหุ้น บมจ.ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น (TWZ) สัดส่วน 2.94% ส่วนคนอื่นๆ ในตระกูลนี้ถือหุ้น STEC และ STPI อีก 1.67% และ 3.5% ตามลำดับ

หุ้นที่ถือโดยตระกูล “ชาญวีรกูล”

ถือโดย

ชื่อย่อหุ้น

จำนวน (ล้านหุ้น)

สัดส่วน (%)

อนุทิน ชาญวีรกูล

STEC

71.55

4.69

STPI

164.59

10.13

ศศิธร ชาญวีรกูล

TWZ

251.37

2.94

สมาชิกอื่นๆ ในตระกูล

STEC

25.46

1.67

STPI

56.91

3.5


"พรรณประเทศ-อิศรภักดี" ถือหุ้น 3 บจ.

กลุ่มนี้มี 2 ตระกูล โดยบ้าน "พรรณประเทศ" แม้ไม่มีรายชื่อเป็น ส.ส.หรือรัฐมนตรี แต่เกี่ยวข้องกันโดยตรง เนื่องจาก "ล้ำพันธุ์ พรรธนประเทศ" เป็นสามีของ "ศุภมาส อิศรภักดี" ส.ส.คนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย และอดีตผู้บริหาร บมจ.ดีโอดี ไบโอเทค (DOD) โดย "ล้ำพันธุ์ พรรธนประเทศ" ถือหุ้น DOD สัดส่วน 36.69% และถือหุ้น SGP 1.71% ขณะที่ "เรณุมาศ อิศรภักดี" พี่สาวของ "ศุภมาส อิศรภักดี" เป็นผู้บริหารคนปัจจุบันและถือหุ้น DOD สัดส่วน 14.76% นอกจากนี้ "พชร พรรธนประเทศ" พี่ชายของ "ล้ำพันธุ์ พรรธนประเทศ" ถือหุ้น DOD สัดส่วน 7.73% และถือหุ้น บมจ.ไทรทัน โฮลดิ้ง (TRITN) อีก 0.92%

หุ้นที่ถือโดยตระกูล "พรรณประเทศ-อิศรภักดี"

ถือโดย

ชื่อย่อหุ้น

จำนวน (ล้านหุ้น)

สัดส่วน (%)

ล้ำพันธุ์ พรรธนประเทศ

DOD

150.45

36.69

SGP

31.36

1.71

พชร พรรธนประเทศ

DOD

31.70

7.73

TRITN

74.00

0.92

เรณุมาศ อิศรภักดี

DOD

60.50

14.76

 

"รัชกิจประการ" ถือหุ้น 3 บจ.

"รัชกิจประการ" อีกหนึ่งตระกูลจากพรรคภูมิใจไทย โดย "พิพัฒน์ รัชกิจประการ" เป็นว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปัจจุบันถือหุ้น บมจ.อาม่า มารีน (AMA) สัดส่วน 7.5% และถือหุ้น บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) สัดส่วน 2.37% โดยเขาเป็นพี่ชายของ "พิทักษ์ รัชกิจประการ" ผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหาร PTG ขณะที่คนอื่นๆ ในครอบครัวนี้ถือหุ้น AMA อีก 6.25%

หุ้นที่ถือโดยตระกูล “รัชกิจประการ”

ถือโดย

ชื่อย่อหุ้น

จำนวน (ล้านหุ้น)

สัดส่วน (%)

พิพัฒน์ รัชกิจประการ

AMA

38.86

7.5

PTG

39.5

2.37

พิทักษ์ รัชกิจประการ

PTG

41.69

2.5

CHOTI

0.23

3.12

สมาชิกอื่นในครอบครัว

AMA

32.3

6.25

 

"จาตุศรีพิทักษ์-ลิปตพัลลภ-ปุณณกันต์" ถือตระกูลละ 1 ตัว

กลุ่มสุดท้ายรวบมาจาก 3 ตระกูล เนื่องจากถือหุ้น บจ.เพียงตระกูลละ 1 บริษัท ประกอบด้วย "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ปัจจุบันถือหุ้น บมจ.พรอดดิจิ (PDG) สัดส่วน 0.89%

ขณะที่ "จรัสพิมพ์ ลิปตพัลลภ" มารดาของ "เทวัญ ลิปตพัลลภ" หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ที่มีข่าวได้เป็นว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ถือหุ้น บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI) สัดส่วน 2.62%

ด้าน "เหลือพร ปุณณกันต์" บิดาของ "พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์" จากพรรคพลังประชารัฐ ว่าที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถือหุ้น บมจ.สหกล อิควิปเมนท์ (SQ) สัดส่วน 1.23%

"ชมกลิ่น" จ่อนำหุ้นขายไอพีโอ

นอกจากนี้ ยังมีอีก 1 ตระกูลคือ "ชมกลิ่น" โดย "สุชาติ ชมกลิ่น" จากพรรคพลังประชารัฐ ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.อรินสิริ แลนด์ (ARIN) ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับไฟลิ่งเพื่อเสนอขายหุ้นไอพีโอ หลังมีการเปลี่ยนผู้จัดการการจัดจำหน่าย โดยครอบครัวของ "สุชาติ ชมกลิ่น" ถือหุ้นใหญ่ใน ARIN สัดส่วนถึง 70%

หุ้น 12 บริษัท ราคาวิ่งเกิน 10% หลังเลือกตั้ง

ทั้งนี้ เมื่อสำรวจราคาหุ้นที่เกี่ยวข้องตั้งแต่หลังเลือกตั้ง (25 มี.ค.-21 มิ.ย.) พบ 12 บจ.ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% และมีถึง 5 บริษัทราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% โดย PTG ที่ถือหุ้นโดยกลุ่ม "รัชกิจประการ" ราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 85% รองลงมาคือ บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป (ICHI) ที่ถือหุ้นโดย "โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ" ราคาเพิ่มขึ้น 53% นอกจากนี้ AMA ที่ถือโดยตระกูล "รัชกิจประการ" ก็เพิ่มขึ้นถึง 49% ส่วนบริษัทอื่นๆ ที่เหลือมีดังนี้

หุ้นเอี่ยวการเมืองพุ่งแรงหลังเลือกตั้ง

ชื่อย่อหุ้น

%เปลี่ยนแปลง

(25 มี..-21 มิ.. 62)

PTG

85

ICHI

53

AMA

49

GRAMMY

24

STPI

23

STEC

17

MCS

17

SQ

12

ORI

11

TRT

10

DOD

10

SGP

10


นักวิเคราะห์เตือนระวังแรงเก็งกำไรกดราคาผันผวน

"กิจพณ ไพรไพศาลกิจ" ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด ประเมินว่า ตลาดมีแรงเก็งกำไรเชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มนี้ โดยเฉพาะช่วงที่มีความเคลื่อนไหว ความชัดเจน หรือประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะนักลงทุนมีความเชื่อว่าหุ้นที่มีเครือข่ายหรือมีสัมพันธ์กับบุคคลฝ่ายที่ได้จัดตั้งรัฐบาลมักจะได้รับอานิสงส์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากโครงการต่างๆ ของภาครัฐที่กำลังจะออกมา

อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มนี้มีความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคา เพราะมักจะอ่อนไหวต่อข่าวทั้งเชิงบวกและเชิงลบ โดยนักลงทุนต้องเลือกจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัทเป็นหลัก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook