วัณโรคหลังโพรงจมูก สามารถใช้สิทธิ "ประกันสังคม-บัตรทอง" รักษาได้

วัณโรคที่พราก “น้ำตาล เดอะสตาร์” ใช้สิทธิประกันสังคม-บัตรทอง รักษาได้

วัณโรคที่พราก “น้ำตาล เดอะสตาร์” ใช้สิทธิประกันสังคม-บัตรทอง รักษาได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วัณโรคหลังโพรงจมูก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของ น้ำตาล-บุตรศรัณย์ ทองชิว หรือ น้ำตาล เดอะสตาร์ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มโรควัณโรค สามารถใช้สิทธิประกันสังคม (สปส.) และสิทธิบัตรทอง (สปสช.) รักษาได้

ในที่สุดคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยามหิดล รายงานถึงสาเหตุการเสียชีวิตของนักแสดงสาว น้ำตาล-บุตรศรัณย์ ทองชิว หรือ น้ำตาล เดอะสตาร์ หลังนำชิ้นเนื้อหลังโพรงจมูกไปวินิจฉัย ว่าเป็น “วัณโรคหลังโพรงจมูก”  

>> ผลวินิจฉัย "น้ำตาล เดอะสตาร์" เสียชีวิตด้วยวัณโรคหลังโพรงจมูก

>> "วัณโรคหลังโพรงจมูก" คร่าชีวิต "น้ำตาล เดอะสตาร์" แพทย์เผยทั่วโลกพบน้อยมาก

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่าจากสถิติของไทยเมื่อปี 2560 พบว่าคนไทยเป็นวัณโรคประมาณ 83% จะพบที่ปอด ส่วน 17% พบนอกปอด แต่วัณโรคหลังโพรงจมูกพบได้น้อยกว่า 1% ของวัณโรคที่พบนอกปอด

>> วัณโรคหลังโพรงจมูก” โรคหายาก ไม่มีอาการเตือนชัดเจน เสี่ยงได้ทุกเพศทุกวัย

นั่นหมายความว่าเคสของ “น้ำตาล เดอะสตาร์” ถือพบได้ยากมากเทียบว่าเป็น 1 ใน 100 เลยก็ว่าได้

สำหรับผู้ป่วยที่กำลังเผชิญกับวัณโรคนั้นก็อย่าเพิ่งกังวลว่าจะเป็นเช่นเดียวกับเคสของ น้ำตาล เดอะสตาร์ หรือไม่ เพราะหากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ แพทย์ก็จะวินิฉัย และรักษาทันท่วงที ซึ่งวัณโรคสามารถใช้สิทธิประกันสังคม (สปส.) และบัตรทอง (สปสช.) รักษาได้ด้วย โดยระบบประกันสังคม (สปส.) และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) มีความแตกต่างกันออกไป โดย Sanook! Money ได้รวบรวมข้อมูลดีๆ มากฝากกัน

โดยข้อมูล นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ได้เปรียบเทียบสิทธิการรักษาวัณโรคด้วยระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไว้ดังนี้

โรควัณโรคที่ใช้สิทธิรักษาด้วยระบบประกันสังคม (สปส.) จะไม่มีการบริหารจัดการเฉพาะ ค่าดูแลรักษารวมอยู่ในค่าเหมาจ่ายรายหัว สอดคล้องกับข้อมูลสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ที่ให้ข้อมูลว่าจะ ให้ความคุ้มครองค่ารักษาตามสิทธิสถานพยาบาลของผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นวัณโรค โดยจะรับผิดชอบค่ารักษาตามที่แพทย์วินิฉัย หรือตามอาการ หากผู้ประกันตนต้องการเข้ารับการตรวจรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม ผู้ประกันตนจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนเกินด้วยตนเอง

ส่วนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) มีการบริการจัดการเฉพาะ สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค 4 ส่วน ดังนี้

1.การรักษาด้วยยาต้านเชื้อวัณโรค ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ

  • ยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐาน
  • ยาต้านวัณโรคสูตรดื้อยา

2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน (AFB, CXR)
  • การตรวจเพาะเชื้อวัณโรค (Sputum Culture)
  • การทดสอบความไวของเชื้อวัณโรคดื้อยา (Drug Sensitivity Testing, DST)

3.การติดตามกำกับการกินยาด้วยวิธี DOTs (Direct Observed Treatment Short course)

  • Dots ตามแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ ปี 2551
  • การเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามการรักษา

4. การติดตามผู้สัมผัสกับผู้ป่วย เพื่อการคัดกรองโรค

  • การค้นหาผู้สัมผัสกับผู้ป่วย ตามแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ ปี 2551
  • การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ต้องขังในเรือนจำ

สรุปแล้ว วัณโรคสามารถใช้สิทธิประกันสังคม และบัตรทองรักษาได้ทั้ง 2 ระบบ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่าจะใช้สิทธิใดในการรักษาได้

อัลบั้มภาพ 11 ภาพ

อัลบั้มภาพ 11 ภาพ ของ วัณโรคที่พราก “น้ำตาล เดอะสตาร์” ใช้สิทธิประกันสังคม-บัตรทอง รักษาได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook