7 อาชีพเสรี ที่ทำได้ทั่วทั้งอาเซียน
มาถึงตอนนี้ ทุกคนคงจะรู้จัก AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกันมาพอสมควรแล้ว (อ่านต่อ : AEC คืออะไร)
เมื่อมี AEC เกิดขึ้น 7 อาชีพแรก ที่มีข้อตกลงกันแล้ว ให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรี จะมีอาชีพอะไรบ้าง ลองมาดูกัน
AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติในอาเซียน 10 ประเทศ
ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน
จากผลจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)
ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ด้านคุณสมบัติในสาขาอาชีพหลัก
เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย นักวิชาชีพ แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษได้อย่างเสรีข้อตกลงเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้อย่างเสรี
สำหรับ 7 อาชีพอาเซียนที่โดดเด่น มีดังนี้
อาชีพวิศวกร( Engineering Services)
อาชีพพยาบาล (Nursing Services)
อาชีพสถาปนิก(Architectural Services)
อาชีพการสำรวจ (Surveying Qualifications)
อาชีพนักบัญชี (Accountancy Services)
อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners)
การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่ม 7 อาชีพนั้น มีผลดีต่อไทยไม่น้อย เพราะในภาพรวม สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยมีศักยภาพในด้านการผลิตบุคลากรในสายวิชาชีพทั้ง 7 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
ซึ่งทำให้ผู้จบการศึกษาในสายวิชาชีพทั้ง 7 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมีตลาดงานที่เปิดกว้างมากขึ้น
แต่แน่นอนว่าจะต้องมีปัญหาตามมา ก็คือ ในบางสาขาวิชาชีพไทยเริ่มจะเข้าสู่วิกฤตการขาดแคลนอาจารย์ เช่น ทันตแพทย์ จึงเป็นอีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึง และให้ความสำคัญ
และสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ อาจจะมีผู้มาจากประเทศอื่นที่มาประกอบอาชีพในไทยมีปัญหาความอ่อนด้อยในเรื่องมาตรฐาน ซึ่งถ้าดูแลไม่รอบคอบรัดกุม
อาจก่อเกิดผลกระทบกับสังคมไทยในทางลบ และอาจส่งผลต่อปัญหาการประกอบอาชีพของคนไทยเอง