ประกันสังคมจ่ายให้! ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยเรื้อรังขอรับเงินทดแทนจากการ “ขาดรายได้” ได้เสมอ

ประกันสังคมจ่ายให้! ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยเรื้อรังขอรับเงินทดแทนจากการ “ขาดรายได้” ได้เสมอ

ประกันสังคมจ่ายให้! ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยเรื้อรังขอรับเงินทดแทนจากการ “ขาดรายได้” ได้เสมอ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่ผู้ประกันตนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ต้องหยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์เป็นเวลานานหลายวันจนทำให้สูญเสียรายได้ เช่น ผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคเอดส์, โรคหรือการบาดเจ็บของสมองเส้นเลือดสมอง หรือกระดูกสันหลังเป็นเหตุให้อัมพาด, ความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น กระดูกที่มีการติดเชื้อ, กระดูกติดช้า, กระดูกไม่ติด, กระดูกผิดปกติ หรือเหล็กดามกระดูกหัก และโรคหรือการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องโดยไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกินกว่า 180 วัน

ทางสำนักงานประกันสังคมพร้อมดูแลเต็มที่ โดยผู้ประกันตนสามารถขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมในอัตรา 50% ของค่าจ้างไม่เกิน 365 วัน ใน 1 ปี นอกจากนี้ผู้ประกันตนยังสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิที่ผู้ประกันตนเลือกไว้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุว่า ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ประกันตนมาขอรับสิทธิประโยชน์เงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 33,417 ราย คิดเป็นเงินที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 27,289,370.45 บาท

ทั้งนี้ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ผู้ประกันตนยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงานจากการเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานที่นายจ้างจ่ายให้เต็มตามที่กำหนดอยู่ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน สัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่กรณี

อย่างไรก็ตามการขอรับสิทธิดังกล่าวนายจ้างต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง และขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน และต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือนเพื่อให้ได้ความคุ้มครองทั้ง 7 กรณี คือกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ หรือโทร 1506 พร้อมให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook