เครื่องยนต์ตัวสุดท้ายที่ช่วย "ค้ำยัน" เศรษฐกิจไทยปี 2562

เครื่องยนต์ตัวสุดท้ายที่ช่วย "ค้ำยัน" เศรษฐกิจไทยปี 2562

เครื่องยนต์ตัวสุดท้ายที่ช่วย "ค้ำยัน" เศรษฐกิจไทยปี 2562
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2562 ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก และภายในประเทศหลายประการ ทั้งสงครามการค้าที่ดูเหมือนจะยืดเยื้อ การแข็งค่าของเงินบาท และ ปัญหาการเมืองภายในประเทศซึ่งจัดตั้งรัฐบาลได้ล่าช้าหลังการเลือกตั้ง

000_hkg704753

ทำให้หลายสำนักที่ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2561 ที่อยู่ใกล้ระดับ 4% ออกมาปรับลดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ลง เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารโลกที่พร้อมใจกันหั่น GDP ของไทย ลงเหลือ 3.3% และ 3.5 % ตามลำดับ

000_1jf64y

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า 2 เครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทุกปี คือ "ภาคการส่งออก" และ "การท่องเที่ยว" แต่ดูเหมือนว่าเครื่องยนต์หลักจะไม่สามารถดันยอดรายได้ให้ถึงฝั่งฝันได้ในขณะนี้

ดังนั้น เครื่องยนต์ตัวสุดท้ายที่จะเข้ามาพยุงเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ คืออะไร? เรามีคำตอบมาฝาก

Sanook! Money ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.นริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย หรือ TMB ถึงเครื่องยนต์ตัวสำคัญที่จะเข้ามาช่วยฉุดดึงเศรษฐกิจไทยในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2562 นั้นก็คือ มดงานตัวน้อยอย่าง “เอสเอ็มอี” ซึ่ง “ถูกเมิน” มาตลอด แต่หารู้ไม่ว่ากำลังจับจ่ายนั้นมีมหาศาล เพราะกลุ่มเอสเอ็มอีมีมากกว่า 3 ล้านราย และกระจายอยู่ทั่วประเทศ

428663

ดร.นริศ บอกด้วยว่า กลุ่มเอสเอ็มอี (SMEs) มีการจ้างงานสูงกว่า 46% อยู่ในภาคการค้า และบริการ หรือ คิดเป็นจำนวนลูกจ้างอยู่ที่ราว 17 ล้านคน มากกว่าภาคการเกษตร และ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายเท่า

751bf51d-704f-4a48-aa72-0d839

หากธุรกิจเอสเอ็มอีขยายตัวได้ดี รายได้มากขึ้นก็จะส่งผลให้ลูกจ้างเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีกำลังในการจับจ่าย ลองคิดเล่นๆดูว่า หากลูกจ้างราว 17 ล้านคน ใช้จ่ายคนละ 100 บาทต่อวัน จะเกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจสูงถึง 1.7 พันล้านบาท ดังนั้น กลุ่มมดงานตัวเล็กๆ เหล่านี้ จึงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทย

กลไกที่จะช่วยดันรายได้ "กลุ่มเอสเอ็มอี" โตคืออะไร ??

สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2562 ดร.นริศ มองว่า ประเด็นสำคัญ คือ ภาครัฐจะต้องออกนโยบายเพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับกลุ่มทุนใหญ่ เช่น มาตรการจูงใจทางภาษี โดยสร้างเงื่อนไขให้บริษัทขนาดใหญ่ที่ได้รับนโยบายการจัดซื้อ-จัดจ้าง ต้องจ้างบริษัทรายย่อยหรือบริษัทในพื้นที่นั้นๆ ดำเนินการจัดหาให้ (Supply Chain)  

“พูดง่ายๆ ก็คือพี่พาน้องโต” ดร.นริศ กล่าว

เมื่อเม็ดเงินไหลลงสู่ระดับภูมิภาคก็จะเกิดการจับจ่ายใช้สอย ระบบเศรษฐกิจก็จะลงไปสู่ระดับฐานรากโดยแท้จริง

istock-1070079984

หากเป็นการจัดซื้อ-จัดจ้างระหว่างรายใหญ่ด้วยกันก็จะเกิดการลงทุนต่อไป เม็ดเงินก็กระจุกตัวขยายเฉพาะบริษัทใหญ่ด้วยกัน

อีกทั้งภาครัฐจะต้องหาตลาดให้เอสเอ็มอีสามารถส่งออกสินค้าให้ได้ หากภาครัฐออกนโยบายจูงใจทางภาษีให้กับบริษัทรายใหญ่ได้สำเร็จจะทำให้ธุรกิจภาคเอสเอ็มอีฟื้นตัวเร็วขึ้น

gettyimages-158087448(1)

นอกจากนี้ มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง เป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญซึ่งช่วยกระจายเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว เพราะเมื่อนักท่องเที่ยวเข้าไปในชุมชนก็จะเกิดการจับจ่ายทันที และแรงงานภาคบริการมีมากกว่า 5.7 ล้านคน ซึ่งก็จะได้รับอานิสงส์กันทั่วหน้าทั้ง 77 จังหวัด จากเดิมที่นักท่องเที่ยวจะกระจุกตัวอยู่ที่ 10 เมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร พัทยา และ ภูเก็ต ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศเข้มแข็ง นโยบายนี้ถือว่ารัฐมาถูกทางแล้ว

ปัจจัยลบ ที่จะทำให้ "เอสเอ็มอีไทย" อ่อนกำลัง

เรื่องนี้เจ้าหน้าที่บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย หรือ TMB ได้ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมาเรามักจะเห็นนโยบายภาครัฐที่เข้ามากระตุ้นภาคเอสเอ็มอี ทั้งการปล่อยสินเชื่อ, โครงการฟื้นฟูเอสเอ็มอี และสารพัดที่จะส่งเสริมให้เอสเอ็มอีให้แข็งแกร่งจนติดปีกแล้วบินได้ด้วยตนเอง แต่เหตุใดภาพรวมเอสเอ็มอียังไม่กระเตื้องตามแรงกระตุ้นของภาครัฐ ก็เพราะ 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้

  1. เอสเอ็มอีถูกนายทุนรายใหญ่กินรวบ (Disrupt)
  2. รูปแบบการค้าขายอยู่ในอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)
  3. การตัดคนกลางออกไปรวมถึงอำนาจในการกำหนดตลาดหายไป (Market Power)

โดยเอสเอ็มอีที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือภาคการค้า เพราะเอสเอ็มอีที่อยู่ในภาคการค้ามีสถานะทางการเงินด้อยกว่าภาคอื่นๆ หมายความว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจด้านนี้มีประมาณ 1.27 ล้านคน มีการขยายตัวของสินเชื่อต่ำที่ 0.5% ซึ่งน้อยกว่าธุรกิจภาคอื่นๆ และมีหนี้เสียมากที่สุดถึง 6.8% เมื่อปลายปี 2561

08c3c17f-2d19-40cf-a065-8b6bf

นอกจากนี้ ยังต้องจับตากลุ่มนายทุนรายใหญ่ระดับประเทศ หรือข้ามชาติเข้ามากินรวบธุรกิจค้าส่งในตลาดอีคอมเมิร์ซมากขึ้น กลุ่มที่เปราะบางที่สุดก็หนีไม่พ้นภาคการค้า เรียกสั้นๆ กลุ่มตัวแทน (Agent) เพราะเมื่อนายทุนใหญ่ขนสินค้าจากจีนซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ถูกมาขายในไทย ทำให้ผู้ค้าออนไลน์ของไทยไม่มีที่ยืนซึ่งตอนนี้นายทุนใหญ่ข้ามชาติอยู่ในขั้นตอนการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

istock-1156096411

หากนายทุนใหญ่กินรวมตลาดอีคอมเมิร์ซได้แล้วล่ะก็สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นกลุ่มตัวแทน (Agent) จะตายลงในที่สุด ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือการคิดค้นธุรกิจใหม่ ที่ไม่ใช่การเป็นกลุ่มตัวแทน

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้เครื่องยนต์ ตัวสุดท้าย ที่เปรียบเสมือนไม้ค้ำยันเศรษฐกิจไทยอ่อนกำลังลง และเศรษฐกิจไทยอาจจะเข้าสู่ช่วงทดถอยทางเศรษฐกิจระลอกใหม่ก็เป็นได้

ดังนั้น คงต้องรอดูนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ว่าจะมีนโยบาย ผลักดันกลุ่ม เอสเอ็มอี อย่างไรบ้าง? 

istock-517741484

หากเศรษฐกิจฐานรากแข็งแกร่ง ภาพรวมเศรษฐกิจไทยไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 คงไม่น่าเป็นห่วงเฉกเช่นปัจจุบัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook