เตรียมเสนอ ซื้อตั๋วรถไฟฟ้า ครบ 15,000 บาท ลดหย่อนภาษีได้

ชงลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 4 สายซื้อตั๋วครบ 15,000 บาท นำไปลดภาษีได้

ชงลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 4 สายซื้อตั๋วครบ 15,000 บาท นำไปลดภาษีได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ระบุ วันที่ 6 กันยายน 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางราง ซึ่งประกอบด้วยกรมการขนส่งทางราง กระทรวงการคลัง และหน่วยงานต่างๆ จะพิจารณามาตรการลดภาระครองชีพของประชาชน ที่เกิดจากการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางรางนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง

ลดค่าโดยสาร 2 รูปแบบ

เบื้องต้นที่ประชุมฯ จะพิจารณามาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใน 2 รูปแบบ ได้แก่

  1. ลดค่าโดยสารให้กับผู้ที่ซื้อตั๋วรายเดือน
  2. ลดค่าโดยสารในช่วงเวลาที่ไม่เร่งด่วน (Off Peak) มีผู้โดยสารน้อย

โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปัจจุบันเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาทต่อเที่ยวและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 31 บาทต่อเที่ยว แต่หากซื้อตั๋วรายเดือนจะมีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 25-30 บาทต่อเที่ยวและอัตราค่าโดยสารช่วง Off peak จะลดเหลือ 15-25 บาทต่อเที่ยว
  2. รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ปัจจุบันมีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 14-42 บาทต่อเที่ยวและมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 21 บาทต่อเที่ยว แต่ถ้าซื้อตั๋วรายเดือน ค่าโดยสารจะลดเหลือ 15-20 บาทต่อเที่ยว และค่าโดยสารช่วง Off peak จะลดเหลือ 14-25 บาทต่อเที่ยว
  3. รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-หลักสองของ รฟม. ปัจจุบันมีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 16-42 บาทต่อเที่ยวและมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 25 บาทต่อเที่ยว แต่หากซื้อเป็นตั๋วรายเดือน อัตราค่าโดยสารจะลดเหลือ 20-25 บาทต่อเที่ยวและอัตราช่วง Off peak จะลดเหลือ 16-30 บาทต่อเที่ยว
  4. รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ปัจจุบันจัดเก็บอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 16-44 บาทต่อเที่ยวและมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 29 บาทต่อเที่ยว ถ้าหากซื้อเป็นตั๋วรายเดือน ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 26 บาทต่อเที่ยว แต่ส่วนลดในช่วง Off peak นั้นไม่มี เนื่องจากรถไฟฟ้า BTS มีปริมาณคนเดินทางในทุกช่วงเวลา

ซื้อครบ 15,000 บาท ลดหย่อยภาษีได้

นอกจากนี้ที่ประชุมฯ จะพิจารณามาตรการลดค่าครองชีพให้กับประชาชนเพิ่มเติม ด้วยการให้ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าในระบบใดก็ได้ครบ 15,000 บาท สามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ซึ่งรูปแบบนี้จะเป็นลักษณะเดียวกับนโยบายช้อปช่วยชาติ

“มั่นใจว่ามาตรการนี้จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนหันมาเดินทางรถไฟฟ้าทุกระบบมากขึ้น ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล การจราจรบนท้องถนนลดลง ซึ่งคาดว่าจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารมาใช้ระบบรถไฟฟ้าในทุกระบบเพิ่มขึ้นอีก 10% ทันที” นายสราวุธกล่าว

bts3

ทั้งนี้ เมื่อคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางรางสรุปมาตรการต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็จะเสนอเรื่องให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาตามลำดับ

ถ้าผ่านความเห็นชอบ ก็คาดว่าจะทดลองใช้มาตรการลดค่าโดยสารช่วง Off peak เป็นอันดับแรก เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 เป็นเวลา 3 เดือน ส่วนมาตรการลดค่าโดยสารตั๋วเดือนและลดหย่อนภาษีต้องรอความชัดเจนอีกครั้งว่า จะเริ่มต้นได้เมื่อใด

ชดเชยรายได้ผู้ประกอบการ 500-1,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ามาตรการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ให้บริการรถไฟฟ้า เช่น จากการเก็บข้อมูลพบว่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะมีรายได้ลดลงเฉลี่ยเดือนละ 5 ล้านบาทต่อเดือน เป็นต้น

ดังนั้น คณะกรรมการพัฒนาโครงการอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางรางจึงจะหารือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อขอนำภาษีป้ายวงกลมรถยนต์ที่ กทม. จัดเก็บจำนวน 14,000 ล้านบาทต่อปี มาใช้ชดเชยรายได้ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยปีละ 500-1,000 ล้านบาทต่อปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook