เงินบาทแข็งสุดในรอบ 6 ปี จับตาการประชุมนโยบายการเงินเฟด 17-18 ก.ย.นี้

เงินบาทแข็งสุดในรอบ 6 ปี จับตาการประชุมนโยบายการเงินเฟด 17-18 ก.ย.นี้

เงินบาทแข็งสุดในรอบ 6 ปี จับตาการประชุมนโยบายการเงินเฟด 17-18 ก.ย.นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า เงินบาททุบสถิติแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีครั้งใหม่ ที่ 30.36 บาทต่อดอลลาร์ฯ (เมื่อ 12 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา) และเป็นที่สังเกตได้ว่า การแข็งค่าของเงินบาทในระยะนี้ ยังมีความสอดคล้องกับทิศทางเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค เพราะมีปัจจัยหนุนคล้ายๆ กัน คือ ความตึงเครียดที่ลดลงของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมไปถึงท่าทีของธนาคารกลางหลายแห่งซึ่งสะท้อนโอกาสการลดดอกเบี้ย

และธนาคารกลางที่ส่งสัญญาณผ่อนคลายล่าสุด ก็คือ ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ที่ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินที่ฝากไว้ที่ ECB ให้ติดลบลึกขึ้นมาอยู่ที่ -0.50% (จากเดิม -0.40%) ซึ่งนับเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 3 ปีครึ่ง และตอกย้ำ Cycle ดอกเบี้ยขาลงของ ECB ที่เริ่มมาตั้งแต่ ปี 2554 นอกจากนี้ ECB ยังปัดฝุ่นโครงการซื้อสินทรัพย์ หรือที่รู้จักกันในนามของมาตรการ QE ขึ้นมาใหม่ โดยวงเงินซื้อสินทรัพย์/พันธบัตรต่อเดือนในรอบนี้อยู่ที่ 2.0 หมื่นล้านยูโร ซึ่งแม้ดูเหมือนจะน้อยกว่าที่ตลาดคาด แต่ก็เป็นมาตรการที่ไม่กำหนดเวลา 

จุดสนใจถัดไปที่ตลาดรอลุ้น น่าจะเป็นการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ในรอบใกล้ๆ นี้ คือ วันที่ 17-18 ก.ย. และ 29-30 ต.ค. ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมในการประชุมรอบเดือนก.ย.นี้ และมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องได้อีกในการประชุมเดือนต.ค. หากประเด็นเรื่องสงครามการค้าไม่จบจริง และถ้าหากเป็นเช่นนั้น แรงขายเงินดอลลาร์ฯ ที่เกิดขึ้น อาจเพิ่มแรงกดดันให้สกุลเงินอื่นๆ รวมถึงเงินบาทมีจังหวะการเคลื่อนไหวในด้านแข็งค่าขึ้นได้อีกเช่นกัน

bath

แรงกดดันจากการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสำคัญๆ หลายแห่งดังกล่าว (รวมถึงกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ) เป็นปัจจัยที่หนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในบางช่วง แต่คงต้องยอมรับว่า หากดูจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจแล้ว ยอดการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย นับเป็นปัจจัยสำคัญที่น่าจะหนุนให้เงินบาทโน้มไปในด้านแข็งค่า ซึ่งการจะเปลี่ยนแนวโน้มนี้ อาจต้องใช้เวลา เพราะขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของการส่งออก-นำเข้าสินค้าและบริการของประเทศ ขณะที่การใช้เครื่องมือนโยบายการเงินเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ก็อาจจะทำได้เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะคงไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินไปด้วยในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ จากประสบการณ์ในช่วงที่ผ่านมาของไทย ก็เป็นภาพที่สะท้อนได้ว่า เงินบาทอาจไม่เคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่า แม้วัฎจักรดอกเบี้ยของไทยจะเป็นขาลงก็ตาม

สุดท้ายนี้...สิ่งที่ยังต้องระมัดระวังก็คือ ความพลิกผันของปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องสงครามการค้า และทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ เพราะอาจมีผลต่อเนื่องทำให้ทิศทางและแนวโน้มของเงินบาทปรับเปลี่ยนตามไปด้วยเช่นกัน 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook