สภาดิจิทัลฯ เปิดรับสมัครสมาชิกแล้ว เมื่อ 23 ส.ค. 62 ร่วมผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล
เทรนด์เทคโนโลยีใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการแข่งขันกับต่างประเทศได้ เพื่อให้เกิดกติกามารยาท เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลกันและกัน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของภาคเอกชน จึงควรส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวกัน ตั้งเป็นสภาฯ ขึ้นมา จะทำให้เอกชนในกลุ่มดิจิทัลคึกคัก หลังเปิดรับสมัครสมาชิกสภาดิจิทัลตั้งแต่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา
โดยข้อดีของสภาดิจิทัลฯ หลักๆ คือการส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวกันของภาคเอกชน เพื่อจะให้เป็นกลไกของรัฐ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ ในแง่มุมของการเสนอแนะ ในแง่มุมของการมองไปในอนาคตของภาครัฐว่าจะขับเคลื่อนไปในทิศทางใด
พร้อมนำเอานโยบายของรัฐนำไปใช้ด้วย และสิ่งที่สำคัญคือให้ส่งเสริมภาคเอกชนได้กำกับดูแลกันเอง (Self Regulator) ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยที่ภาครัฐเป็นคนให้นโยบาย
เป้าหมายคือ ให้ภาคเอกชนมารวมตัวกันเพื่อให้ภาคเศรษฐกิจดิจิทัลสามารถเคลื่อนตัวไปได้เร็ว ซึ่งธุรกิจดิจิทัล ได้แก่
1. ด้านอุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Devices)
2. ด้านการผลิตฮาร์ดแวร์และชิ้นส่วนดิจิทัล (Hardware)
3. ด้านซอฟต์แวร์ (Software)
4. ด้านการให้บริการด้านดิจิทัล (Digital Service)
5. ด้านการสื่อสาร (Communication)
6. ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)
ตลอดจนกลุ่ม Start UP เหล่านี้ให้เข้ามารวมตัวกันเป็นสภาฯ ในส่วนข้อดีของการมีสภาดิจิทัลฯ ก็คือ เมื่อเกิดการรวมตัวกันก็จะเกิดเอกภาพ ซึ่งจะได้วางนโยบายธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ช่วยเหลือและดูแลกำกับกันเอง เป็นกลไกให้ข้อเสนอแนะ-ให้ความร่วมกับภาครัฐในข้อเสนอแนะด้านการนำระเบียบกติกากฎหมายของภาครัฐไปใช้
ตัวอย่างเช่น ยุทธศาสตร์ 20 ปีของชาติ ได้วางเรื่องดิจิทัลไว้อย่างนี้ แล้วเราจะต้องวางกลยุทธ์ไปอย่างไร ซึ่งในต่างประเทศที่มีความเจริญทางเทคโนโลยีมากๆ จะมีการรวมตัวกันของภาคเอกชนเช่นนี้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือเกาหลี เป็นต้น