เพจกฎหมายแจงยิบ! “ทวงหนี้” แบบไหนถึงไม่ผิดกฎหมาย
เริ่มขึ้นแล้วสำหรับกฎหมายห้ามทวงหนี้เกินวันละ 1 ครั้ง ด้านเพจกฎหมายดังแจงละเอียดว่าลักษณะแบบไหนถึงเข้าข่ายว่าผิดกฎหมาย
หลังจากที่ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ เรื่อง “จำนวนครั้งในการติดต่อทวงถามหนี้” อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 (3) และมาตรา 16 (1) แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ที่ระบุให้เจ้าหนี้ทวงหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้งและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 พ.ย. ที่ผ่านมานั้น
>> ราชกิจจาฯ ประกาศห้าม "ทวงหนี้" เกิน 1 ครั้งต่อวัน เริ่มบังคับใช้ 21 พ.ย.62
ทว่า… รายละเอียดการทวงหนี้นั้นมีข้อกำหนดถึงวันเวลาด้วย หากเจ้าหนี้ต้องการทวงหนี้แล้วละก็ต้องดำเนินการอย่างไรถึงจะไม่ผิดข้อกฎหมายล่ะ?
เพจเฟซบุ๊กด้านกฎหมาย Law Inspiration ได้อธิบายรายละเอียดรวมถึงเงื่อนไขต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- กฎหมายนี้จะบังคับใช้ 21 พ.ย. 62 เป็นต้นไป
- การทวงหนี้ หมายถึงการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 เท่านั้น ไม่รวมถึงการทวงหนี้ทั่วไป
- ผู้ทวงถามหนี้ตามกฎหมายนี้ หมายถึงเจ้าหนี้ผู้ให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือคนที่ซื้อหรือรับโอนหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนัน ที่สำคัญ คือ หนี้นั้นจะเป็นหนี้โดยชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เข้าข่ายทั้งสิ้น
- ตัวอย่างเจ้าหนี้ตามกฎหมายนี้ เช่น ธนาคาร บริษัทบัตรเดคริต บริษัทเช่าซื้อ เจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ เป็นต้น
- ถ้าเป็นกรณีเพื่อนยืมเงินเพื่อนแล้วไม่คืน ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้พูดง่าย ๆ เราจะทวงเกินวันละ 1 ครั้ง ก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
- ถ้าเจ้าหนี้ทวงเกินวันละหนึ่งครั้ง มีความผิดทางปกครอง คณะกรรมการทวงหนี้สามารถสั่งให้หยุดได้ ถ้าไม่หยุดก็อาจโดนโทษปรับทางปกครองสูงสุด 100,000 บาท
- นอกจากห้ามทวงหนี้เกินวันละหนึ่งครั้งแล้ว พ.ร.บ. ยังกำหนดเรื่องการทวงหนี้ว่า
- ห้ามพูดจาดูหมิ่นลูกหนี้
- ห้ามข่มขู่ใช้ความรุนแรง
- ห้ามประจาน
- ทวงได้แค่ 00 - 20.00 วันจันทร์ - ศุกร์ ส่วนวันหยุดราชการทวงได้ตั้งแต่ 8.00 - 18.00 เท่านั้น
- กฎหมายกำหนดเรื่องวิธีการทวงหนี้ แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นหนี้แล้วไม่ต้องใช้