ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม อุบัติเหตุจากห้างสรรพสินค้าดัง

ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม อุบัติเหตุจากห้างสรรพสินค้าดัง

ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม อุบัติเหตุจากห้างสรรพสินค้าดัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อไม่นานมานี้เราคงจำกันได้ว่ามี เกิดกรณีเหตุกราดยิงที่ห้างสรรพสินค้าดัง ที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งหลายคนก็รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยแม้เดินอยู่ในพื้นที่สาธารณะซึ่งมีทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัย และยังมีโซนที่เป็นพื้นที่ของห้างสรรพสินค้ามีพนักงานบริการ ล่าสุดมีแฮชแทค #สู้เพื่อพ่อ ซึ่งมีการแชร์เกือบ 200 ครั้ง ในช่วงเดือนที่ผ่านมา พร้อมมีผู้เข้ามาให้กำลังใจกันอย่างล้นหลาม โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในห้างสรรพสินค้าดังย่านใจกลางเมือง กรุงเทพมหานคร โดยผู้แชร์ประสบการณ์ใช้ชื่อเฟซบุ๊คว่า Miki Hutasingh โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นที่ห้างสรรพสินค้า ทำให้คุณพ่อของเธอ

ซึ่งนายเอกกมน ผู้เป็นพ่อ และยังเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจหลายตำแหน่ง ทั้งเคยเป็นอดีตประธานหอการค้าไทย–อิตาเลียน และยังเป็นนายกกิตติมศักดิ์สมาคมเฟอร์นิเจอร์ไทย ได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย และ ไม่สามารถนำส่งตัวไปโรงพยาบาลได้ทันที เพราะต้องรอใบส่งตัวจากทางห้างสรรพสินค้าซึ่งใช้ระยะนานนับชั่วโมงจนห้างฯ ปิด และไม่มีการเรียกรถพยาบาลมารับ อีกทั้งเธอยังเป็นผู้ขับรถไปส่งคุณพ่อที่โรงพยาบาลเอง พร้อมพนักงานของห้างฯ

โดยทางโรงพยาบาลได้ให้นายเอกกมน แอดมิดเพราะต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียดเนื่องจากคนไข้อายุมาก และพบว่ามีอาการฟกช้ำของกล้ามเนื้อด้านหลัง กระดูกก้นกบร้าว ข้อกระดูกสันหลังหดตัวลงเล็กน้อย กล้ามเนื้อเกร็ง ยึดและมีอาการปวด เนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้ นายเอกกมน ลื่นเสียหลักล้มลงอย่างแรงจนหลังไปกระแทกกับเหล็ก ก้นกบกระแทกพื้นอย่างแรง และยังเป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรงด้วย จากเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2562 แต่ผู้โพสเรื่องราวนี้ยังคงเดินหน้า #สู้เพื่อพ่อ เพื่อหาความยุติธรรมให้กับครอบครัวเธอ เพราะการรักษาของนายเอกกมนเป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง

โดยตลาดระยะเวลาที่ผ่านมา เธอเป็นผู้ติดต่อทวงถามความรับผิดชอบจากทางห้างสรรพสินค้าตลอดเวลา ทั้งที่ห้างสรรพสินค้าดังกล่าวเป็นห้างโปรดของเธอกับครอบครัว แต่เธอก็ต้องเดินหน้าเรียกร้องความยุติธรรมให้พ่อของเธอได้รับความยุติธรรมจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น โดยมีการนำเรื่องดังกล่าวไปยื่นร้องทุกข์ต่อ ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 ด้วย ซึ่งเธอเองก็ยังเดินหน้าเรียกร้องความยุติธรรมให้คุณพ่อของเธอต่อไป....#สู้เพื่อพ่อ

ดังนั้น ทาง Sanook Money จึงขอหยิบยกกรณีตัวอย่าง ข้อพิพาพาทระหว่าง “ห้างสรรพสินค้า” กับ “ลูกค้า” มาให้ศึกษากันไปพลางๆ ก่อน โดยขอหยิบยกเนื้อหาจาก เพจ “นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” ที่ระบุข้อมูลน่าสนใจไว้ดังนี้ “ในขณะที่กำลังเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้งให้ห้างใหญ่อย่างเป็นสุข คงไม่มีใครคาดว่าจะเกิดอุบัติเหตุสินค้าบนชั้นวางหล่นใส่ศีรษะโครมใหญ่ มาดูกันว่า มีวิธีการแก้ไขเรื่องนี้อย่างไรบ้าง” 

เมื่อพฤศจิกายน ปีที่แล้ว คุณพรสรวง ไปเลือกซื้อสินค้าในห้างใหญ่เกี่ยวกับการตกแต่งบ้าน ย่านพุทธมณฑล ระหว่างเลือกซื้ออย่างเพลินๆ ทันใดสินค้าจากชั้นวางด้านบนสุดได้หล่นโครมใส่ศีรษะคุณพรสรวง อย่างจัง เป็นกล่องพลาสติกขนาดใหญ่จำนวนหลายกล่อง สาเหตุเกิดจากพนักงานซึ่งกำลังจัดเรียงสินค้าอยู่ได้ขยับบันไดเพื่อเปิดทางเดินให้ลูกค้า แต่พนักงานไม่ได้ระมัดระวังให้มากพอบันไดจึงไปเกี่ยวเข้ากับกล่องพลาสติกที่จัดวางไว้ชั้นบน ร่วงลงมากระแทกใส่ศีรษะและไหล่ด้านขวาของคุณพรสรวง

พนักงานของทางห้างฯ รีบนำคุณพรสรวง ส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงเนื่องจากบาดเจ็บที่ศีรษะจึงต้องพักดูอาการที่ห้องไอซียู 24 ชั่วโมง ต่อมาจึงย้ายเข้าพักที่ห้องพิเศษเพื่อรอทำการสแกนสมองและร่างกาย ซึ่งบริษัทเจ้าของห้างฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ผลสแกนพบว่ามีความผิดปกติที่คอและเอว ทำให้ต้องรักษาพยาบาลต่อเนื่องอีก 2 คืน จากนั้นจึงกลับมารักษาตัวต่อที่บ้านอีก 5 วัน และมีนัดทำกายภาพบำบัดต่อเนื่อง หลังจากดำเนินการทำกายภาพบำบัดไปสองครั้ง คุณพรสรวง ต้องการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มจากการรักษา และได้แจ้งต่อทางบริษัทไป
 
ทางบริษัทฯ มิได้ปฏิเสธ แต่ได้ขอให้คุณพรสรวง ส่งหนังสือรับรองเงินเดือนเพิ่มเติม และแจ้งว่าจะดำเนินการให้ ต่อมา คุณพรสรวง เริ่มมีอาการเจ็บแปลบๆ ที่แขนซ้าย ข้อศอกซ้ายและมีอาการชาที่มือ จึงได้แจ้งต่อทางบริษัทฯ ทราบ โดยทางบริษัทฯ ได้ให้คุณพรสรวง ไปพบแพทย์ที่ โรงพยาบาลพญาไท 1 ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีอาการของกล้ามเนื้อ และปลายประสาทอักเสบต้องรับประทานยา และทำกายภาพบำบัดต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งทั้งหมดนี้รวมเป็นค่าใช้จ่าย 17,366 บาท โดยการรักษาครั้งนี้คุณพรสรวงต้องเดินเรื่องเอง ทั้งการจัดส่งเอกสารและรอเบิกเงินเป็นเวลา 2 สัปดาห์

หลังจากนั้นทางบริษัทได้เสนอเงินชดเชยให้ในจำนวนเงิน 20,000 บาท ระบุว่าเป็นค่าพักรักษาตัวและค่าทำกายภาพบำบัด แต่ไม่ได้มีการเยียวยาหรือจ่ายค่าเสียหายเพิ่มเติมให้ คุณพรสรวง จึงไปแจ้งความไว้กับทาง สภ.สามพราน เพื่อเป็นหลักฐานแจ้งต่อทางบริษัท ว่าต้องการให้ทางบริษัทชดเชยในส่วนของค่ารักษานี้จาก 20,000 เป็น 50,000 บาท  เพราะแพทย์ไม่สามารถระบุได้ว่าต้องทำกายภาพบำบัดไปอีกกี่ครั้ง ส่วนในประเด็นค่าเสียหายเพิ่มเติมนั้น คุณพรสรวง ระบุจำนวนไว้ที่ 178,302 บาท โดยไม่รวมถึงค่ากายภาพบำบัดที่เรียกไปที่ 50,000 บาท แต่ทางบริษัทขอต่อรองลดลงมา ทางคุณพรสรวง จึงต้องการที่ปรึกษา

สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ระบุ “ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้สินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

กรณีนี้ คุณพรสรวง เป็นผู้เสียหายจึงเรียกร้องสิทธิได้ตามกฎหมายกำหนดไว้  อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้ต้องไปดำเนินการถึงขั้นฟ้องศาล ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้ช่วยดำเนินการนัดเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างสองฝ่าย ซึ่งต้องบอกว่าไม่ง่ายใช้เวลากว่าครึ่งปี จึงสามารถยุติเรื่องได้และผู้ร้องได้รับเงินเต็มตามจำนวนที่เรียกร้องไป

จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นผู้บริโภคต้องปกป้องตัวเอง และ กินระยะเวลายาวนานในการเรียกร้องสิทธิของตัวเอง แต่ก็อยากให้ผู้เสียหายทุกท่านอย่าเพิกเฉยกับความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะคำตัดสินจะกลายเป็นบรรทัดฐานให้กับผู้เสียหายรายอื่นๆมีกำลังใจในการต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิของตัวเองและคนที่คุณรัก เฉกเช่นเดียวกับ Miki Hutasingh ที่พยายามสู้เพื่อพ่อของเธอ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม อุบัติเหตุจากห้างสรรพสินค้าดัง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook