ผลสำรวจชี้ ไทยจุดแข็งอันดับ 1 เอื้อลงทุนที่สุดในอาเซียน ยกเว้น"การเมือง"แย่สุด

ผลสำรวจชี้ ไทยจุดแข็งอันดับ 1 เอื้อลงทุนที่สุดในอาเซียน ยกเว้น"การเมือง"แย่สุด

ผลสำรวจชี้ ไทยจุดแข็งอันดับ 1 เอื้อลงทุนที่สุดในอาเซียน ยกเว้น"การเมือง"แย่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยด้านนโยบายสาธารณะเพื่อกิจการอาเซียน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ

เรื่อง โอกาสและจุดแข็งของประเทศไทยต่อบรรยากาศการลงทุนในอาเซียน ปี 2556 ในสายตาชาวต่างชาติ กรณีศึกษาตัวอย่างชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในกลุ่มประเทศอาเซียนจำนวนทั้งสิ้น 958 ตัวอย่าง

ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 8 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา โดยผู้ถูกศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยและประเทศอื่นๆ อย่างน้อย 5 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน

เมื่อถามถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่มีความง่ายในการเข้าถึงวัตถุดิบในการลงทุน หลังจัดอันดับพบว่า

อันดับที่ 1 ได้แก่ ประเทศไทย ได้ร้อยละ 24.4


อันดับที่สองได้แก่ อินโดนีเซีย ได้ร้อยละ 14.1

อันดับที่สาม ได้แก่ พม่า ได้ร้อยละ 10.2

อันดับที่สี่ได้แก่เวียดนาม ได้ร้อยละ 10.1

อันดับที่ห้า ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ได้ร้อยละ 9.5

อันดับที่หก ได้แก่ กัมพูชา ได้ร้อยละ 7.9

อันดับที่เจ็ด ได้แก่ มาเลเซีย ได้ร้อยละ 7.0

อันดับที่แปด ได้แก่ ลาว ได้ร้อยละ 6.6

อันดับที่เก้า ได้แก่ สิงคโปร์ ได้ร้อยละ 5.8

อันดับที่สิบ ได้แก่ บรูไน ได้ร้อยละ 4.4 ตามลำดับ


เมื่อถามถึงประเทศที่มีความเพียงพอของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน พบห้าอันดับแรกได้แก่ ประเทศไทย ร้อยละ 27.0

อันดับ 2 อินโดนีเซีย ร้อยละ 11.2

อันดับ 3 พม่า ร้อยละ 11.0

อันดับ 4 เวียดนาม ร้อยละ 9.7

อันดับ 5 ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 9.7 


นอกจากนี้ เมื่อถามถึงประเทศที่มีคุณภาพของแรงงาน พบสามอันดับแรกได้แก่ อันดับหนึ่งได้แก่ ประเทศไทย ร้อยละ 25.2

อันดับสองได้แก่ สิงคโปร์ ร้อยละ 24.1

อันดับสามได้แก่ มาเลเซีย ร้อยละ 10.5


ที่น่าสนใจคือ ประเทศที่มีคุณภาพของสาธารณูปโภคพื้นฐาน พบว่า อันดับหนึ่งได้แก่ สิงคโปร์ ร้อยละ 37.7 อันดับสองได้แก่ ไทย ร้อยละ 20.0 อันดับสามได้แก่ บรูไน ร้อยละ 11.8 ตามลำดับ



เมื่อสอบถามประเทศที่มีคุณภาพและความสะอาดปลอดภัยด้านอาหาร พบสามอันดับแรก ได้แก่ ประเทศไทย ร้อยละ 30.5

อันดับสองได้แก่ สิงคโปร์ ร้อยละ 25.3

อันดับสามได้แก่ มาเลเซีย ร้อยละ 11.2 


นางสาวปุณฑรีก์ กล่าวต่อว่า เมื่อจัดอันดับประเทศที่มีการส่งเสริมการลงทุนที่ดีและน่าสนใจ พบห้าอันดับแรกได้แก่ ประเทศไทย ร้อยละ 27.1

อันดับสอง ได้แก่ สิงคโปร์ ร้อยละ 21.6

อันดับสาม ได้แก่ มาเลเซีย ร้อยละ 9.9

อันดับสี่ได้แก่ เวียดนาม ร้อยละ 8.8

อันดับห้า ได้แก่ อินโดนีเซีย ร้อยละ 7.4


เมื่อพูดถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี พบสามอันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ ร้อยละ 30.6

อันดับสอง ได้แก่ ประเทศไทย ร้อยละ 19.9

อันดับสาม ได้แก่ บรูไน ร้อยละ 11.4 


ที่น่าพิจารณาคือ ประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่มีโอกาสเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พบว่า อันดับหนึ่งได้แก่ ไทย 23.3

อันดับสองได้แก่ สิงคโปร์ ร้อยละ 15.1

อันดับสามได้แก่ เวียดนาม ร้อยละ 10.5

อันดับสี่ได้แก่ พม่า ร้อยละ 10.3

อันดับห้าได้แก่ มาเลเซีย ร้อยละ 8.6 


เมื่อสอบถามถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดีและน่าสนใจ พบสามอันดับแรก ได้แก่ ประเทศไทย ร้อยละ 36.5

อันดับสอง ได้แก่ สิงคโปร์ ร้อยละ 17.0

อันดับสาม ได้แก่ มาเลเซีย ร้อยละ 11.3 


ที่น่าสนใจคือ ประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่มีความมั่นคงทางการเมือง พบว่า อันดับแรกได้แก่ สิงคโปร์ ร้อยละ 27.3

อันดับสองได้แก่ บรูไน ร้อยละ 18.4

อันดับสาม ได้แก่ มาเลเซีย ร้อยละ 11.6

อันดับสี่ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 10.4

อันดับห้า ได้แก่ ไทย ร้อยละ 7.0 


นอกจากนี้ เมื่อถามถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่ประชาชนท้องถิ่นมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี พบว่า อันดับแรก ได้แก่ ประเทศไทย ร้อยละ 33.4 อันดับสอง ได้แก่ สิงคโปร์ ร้อยละ 10.8 และอันดับสามได้แก่ ลาว ร้อยละ 9.5 ตามลำดับ


ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายสาธารณะเพื่อกิจการอาเซียน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า จากผลสำรวจจะเห็นได้ว่าประเทศไทยกำลังเป็นอันดับต้นๆ ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่ชาวต่างชาติยังคงมองเห็นโอกาสและจุดแข็งหลายด้านในบรรยากาศการลงทุนในปี 2556 นี้ อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยเชิงลึกพบในกลุ่มชาวต่างชาติเหล่านี้ได้พบสองปัญหาใหญ่สำหรับประเทศไทยคือ เสถียรภาพทางการเมืองและปัญหาทุจริตคอรัปชั่น


น.ส.ปุณฑรีก์ กล่าวต่อว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ระบุในทิศทางเดียวกันว่า ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทยเป็นปัญหาเพราะเมื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลส่งผลให้นโยบายที่เคยริเริ่มไว้เปลี่ยนแปลงไปด้วย

ทำให้ขาดความต่อเนื่องและมีความเสี่ยงสูงต่อการค้าการลงทุน ในขณะเดียวกันชาวต่างชาติส่วนใหญ่มองว่า ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง

ถ้าตราบใดที่ประชาชนคนไทยอ่อนแอไม่มีกำลังต่อต้านมากพอ โดยสังคมไทยปล่อยให้มีการโกงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง กลุ่มคนที่รวมตัวกันต่อต้านก็เป็นแบบเฉพาะกิจ สลายตัวหรือเงียบไปได้อย่างรวดเร็ว ประเทศไทยก็ยากจะพัฒนาให้ดีไปกว่านี้ได้

"ดังนั้น ถ้ารัฐบาลต้องการลดบทบาทขององค์กรอิสระในการตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาลลง รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นและความวางใจในหมู่ประชาชนก่อนว่ารัฐบาลโปร่งใส และเมื่อถึงเวลานั้น องค์กรอิสระจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่ในเวลานี้ ประชาชนจำนวนมากยังคงมีความเคลือบแคลงสงสัยต่อรัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ อย่างกว้างขวาง องค์กรอิสระจึงยังจำเป็นไปอีกนาน" ผู้ช่วย ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 64.7 เป็นชาย ร้อยละ 35.3 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 12.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 61.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 26.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 40.6 ระบุเป็นชาวเอเชีย ร้อยละ 37.1 ระบุเป็นชาวยุโรป ร้อยละ 5.8 ระบุเป็นชาวอเมริกัน ร้อยละ 5.3 ระบุเป็นชาวออสเตรเลีย และร้อยละ 11.2 ระบุสัญชาติอื่นๆเช่น เม็กซิกัน แคนาดา ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook