รถไฟความเร็วสูง จีน-สปป.ลาว ดัน แลนด์ล็อค สู่ แลนด์ลิงค์ โอกาสกระจายสินค้าสู่ตลาดที่ 3

รถไฟความเร็วสูง จีน-สปป.ลาว ดัน แลนด์ล็อค สู่ แลนด์ลิงค์ โอกาสกระจายสินค้าสู่ตลาดที่ 3

รถไฟความเร็วสูง จีน-สปป.ลาว ดัน แลนด์ล็อค สู่ แลนด์ลิงค์ โอกาสกระจายสินค้าสู่ตลาดที่ 3
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"อย่ามอง สปป.ลาว เป็นเพียงประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรเพียง 7 ล้านคน แต่ให้มองข้ามช็อตว่า สปป.ลาว เป็นประเทศที่สามารถเชื่อมต่อตลาดการค้าไปอีกหลายประเทศ ทั้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน กัมพูชา เวียดนาม และ เมียนมา ซึ่งนั้นหมายถึงโอกาสทางการค้าที่ไม่อาจประเมินค่าได้ในอนาคต"

น.ส.ปวิตรา ม่วงสกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้า (สคต.) เวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กล่าวว่า ในปี 2564 เส้นทางเดินรถไฟความเร็วสูงจากสาธารณรัฐประชาชนจีน สู่ สปป.ลาว จะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในช่วงวันที่ 2 ธันวาคม 2564 ซึ่งจะทำให้มีนักท่องเที่ยวจากจีนหลั่งไหลเข้ามาที่ สปป.ลาว จำนวนมาก จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ขยายตลาดเข้ามายัง สปป.ลาว ซึ่งเมื่อก่อนที่นี่เป็นตลาดที่หลายคนเมินเพราะเป็นประเทศแลนด์ล็อค และ ประชากรน้อยไม่ถึง 10 ล้านคน ไม่มีปัจจัยหนุนที่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในกลุ่มประเทศ CLMV

335560น.ส.ปวิตรา ม่วงสกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้า (สคต.) เวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

ดังนั้น ปี 2564 ถือเป็นโอกาสทองของนักลงทุนไทยที่จะขยายตลาดเข้าไปยัง Third Market หรือ ตลาดประเทศที่สาม โดยอาศัย สปป.ลาว เป็นฐานที่มั่นในการกระจายสินค้าไปยังตลาดการค้าประเทศที่สาม เพราะ สปป.ลาว สามารถเชื่อมโยงไป เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา และ จีน ซึ่งนั่นหมายถึงรายได้จำนวนมหาศาลที่จะตามมา เพราะเส้นทางรถไฟ จีน-ลาว จะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายรถไฟโดยสาร และรถไฟบรรทุกสินค้าที่มีระยะยาวถึง 3,000 กิโลเมตร วิ่งจากนครคุนหมิงแห่งมณฑลยูนานของจีน ตัดผ่าน ลาว ไทย และ มาเลเซีย สู่ประเทศสิงคโปรค์

110759

ซึ่งโครงการนี้จะก่อให้เกิดแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจอย่างทรงพลัง และคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั้ง จีน และ อีก 5 ประเทศอาเซียน ร่วมใช้บริการราว 10 ล้านคนต่อปี อีกทั้งการเชื่อมโยง 2 ประเทศ สปป.ลาว และ จีน เข้าด้วยระบบคมนาคมที่สะดวกและรวดเร็ว จะยิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาจำนวนมาก เนื่องจาก สปป.ลาว เป็นเมืองมรดกโลก มีธรรมชาติที่สวยงาม มีโบราณสถานงดงาม และ ยังคงรักษาขนบธรรมเนียบประเพณีไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้ง การนุ่งซิ่น การตักบาตรข้าวเหนียว

185332น.ส.ปวิตรา ม่วงสกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าเวียงจันทร์ สปป.ลาว และ นางจินตร์จุฑา นิศากร ผู้ร่วมก่อตั้ง แบรนด์ Kullaya (กัลยา)

796413แบรนด์ Kullaya (กัลยา) ณ สปป.ลาว

ดังนั้นผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมตัวเพื่อที่จะคว้าโอกาสนี้ไว้ ขณะนี้ก็มีผู้ประกอบการไทยหลายรายเข้าไปทำธุรกิจใน สปป.ลาว อาทิ สมุนไพร พรีเมี่ยม แบรนด์ KULLAYA และ ขนมครก วีแกน แบรนด์ ท่าช้าง

s__9945189ใบพัด-อธิษฐ์พัชร นิพิษฐาภัทร เจ้าของแบรนด์ท่าช้าง

696531ใบพัด-อธิษฐ์พัชร นิพิษฐาภัทร เจ้าของแบรนด์ท่าช้าง

นางสาวปวิตรา ม่วงสกุล กล่าวต่อด้วยว่า นักลงทุนไทยที่ต้องการเข้ามาลงทุนใน สปป.ลาว สำนักงานส่งเสริมการค้า หรือ สคต. เวียงจันทร์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพาณิชย์ มีข้อมูลด้านเศรษฐกิจของ สปป.ลาว คอยสนับสนุนผู้ประกอบการไทย นอกจากนี้ ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประเทศไทย โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ยังได้จัดงาน Top Thai Brands ขึ้นทุกปี เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน และ เพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศ ซึ่งมากกว่า 1.3 แสนล้านบาทต่อปี โดยปี 2563 จัดภายใต้คอนเซป "ไทย -ลาว ต่อยอดอนาคต เปิดโลกการค้าไร้พรมแดน" โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 มีนาคม 2563 ซึ่งมีกลุ่มธุรกิจเข้าร่วมงานกว่า 230 บริษัท เน้นสินค้านวัตกรรม และ ความคิดสร้างสรรค์ ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมทั้ง อาหาร เครื่องดื่ม และ ความงาม

s__9969690น.ส.ปวิตรา ม่วงสกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้า (สคต.) เวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook