เอไอเอส ทรู ดีแทค ชิงความเป็นผู้นำ 5G ใครรอด ใครร่วง?

เอไอเอส ทรู ดีแทค ชิงความเป็นผู้นำ 5G ใครรอด ใครร่วง?

เอไอเอส ทรู ดีแทค ชิงความเป็นผู้นำ 5G ใครรอด ใครร่วง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การประมูล 5G เปรียบได้กับการซื้อถนนข้อมูลเพิ่ม เพื่อให้ลูกค้ามีถนนข้อมูลใหม่เพิ่มอีกเลน โดยกลุ่มทรูถือว่า "ได้คลื่นมาครบ ในราคาคุ้มค่า" ในขณะที่ที่ผ่านมาเอไอเอสถูกกดดันจากจำนวนถนนข้อมูลต่อลูกค้าค่อนข้างแน่น ทำให้ต้องเร่งขยายถนนในย่าน 700 MHz เพราะเป็นย่านที่ครอบคลุมกว้างสุด และลงทุนไม่สูง ทำให้ต้องแข่งขันกับ CAT จนทำให้ แคท เทเลคอม ต้องได้คลื่นในราคาสูงตามไปด้วย

ในขณะที่คลื่น 5G คือ คลื่น 2600 MHz นั้น ทั้ง เอไอเอส และทรู ได้ไปในราคาที่คุ้มค่า ทำให้ 2 รายนี้ เข้าสู่การแข่งขันการเป็นผู้นำอุตสาหกรรม และถือเป็นครั้งแรกที่ผู้เข้าแข่งขันออกจุดสตาร์ทพร้อมกัน ทำให้ต้องเป็นที่น่าจับตาว่า จะเบียดกันได้ในระดับใด โดยหากวัดกันที่แบนด์วิดท์ หรือขนาดของถนนข้อมูลต่อปริมาณลูกค้า ถือว่าสูสีกัน เท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ หลังการประมูล5G เป็นเหมือนการเปลี่ยนยุคของการแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทย โดยรูปแบบของการแข่งขันเปลี่ยนไปในหลายมิติ โดยเฉพาะผู้ประกอบการโทรคมนาคมเผชิญโจทย์รอบด้าน ทั้งประเด็นความพร้อมของตลาด เทคโนโลยี รวมถึงภาระต้นทุนต่างๆ หลังการประมูลคลื่น 5G จะเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเป็นผู้นำในตลาดสื่อสารโทรคมนาคมเมืองไทย

โดยใน 3 ปีแรก ผู้ให้บริการฯ ต้องวางแผนเลือกพื้นที่ลงทุนโครงข่ายและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีศักยภาพ เพราะต้องรอการพัฒนาโซลูชั่นควบคู่กับการมีเน็ตเวิร์กที่รองรับ และต้องรอการรองรับของอุปกรณ์และรุ่นของโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 5G รวมถึงกำหนดราคาค่าบริการ 5G ที่ไม่สูงจนเกินไป ซึ่งผลการประมูลจะเห็นได้ว่าคลื่น 2600 MHz ที่เหมาะมาทำ 5G นั้นราคาไม่สูงมาก ทำให้ ทรูและเอไอเอส ได้เปรียบอย่างมากในการแข่งขัน

DTAC มี 5G ชูแคมเปญเด็กน้อยน่ารัก

ถึงแม้ว่าตลาดทะเลเลือดของวงการสื่อสารภายหลังการประมูล จะได้คลื่นกันไปครบทุกราย มากบ้างน้อยบ้าง ทำให้รายที่ได้ไปน้อยต้องเรียกความเชื่อมั่น กับคำขวัญว่า ฉันก็มีนะ แต่อาจไม่บอกหมายเหตุ ดูได้จากภายหลังการประมูล dtac ดูจะเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดจากการประมูลครั้งนี้ เพราะประมูลคลื่นความถี่ 5G มาครองได้แค่ย่านเดียวคือ 26 GHz ที่ 2 ล็อตคลื่นความถี่หรือ 200 MHz เท่านั้น

ซึ่งยุทธศาสตร์ของ DTAC คือ พยายามออกมาบอกลูกค้าว่า ดีแทคมีคลื่น 5G นะ แต่ไม่ได้บอกหมายเหตุว่า คลื่น 26 GHz นั้นเป็นคลื่นตัวเลขมาก ส่งได้ไม่ไกล แค่ผ่านกำแพงชั้นเดียวอาจจะสปีดหายไปเกือบครึ่ง ต้องปักเสาถี่ถึงจะครอบคลุม แต่การวางเสาอากาศปล่อยสัญญาณของย่าน FR2 นี้จะลำบากมาก เพราะต้องวางเสาอากาศทุกๆ ระยะไม่เกิน 500 เมตร

มิฉะนั้นความเร็วจะตกวูบในช่วงที่คลื่นย่าน FR2 ไม่สามารถไปถึงได้ ศัพท์ในวงการนี้จะเรียกว่า Penetrate ดังนั้นในความจริง DTAC จะปูพรมสัญญาน 5G ในเมืองไทยได้ลำบากมาก ให้ลองนึกภาพมีเสาสัญญาน 5G ทุกๆ 500 เมตร ประเทศไทยคงกลายเป็นทุ่งเสาสัญญานแน่นอน ส่วนการโฆษณาที่เอาเด็กออกมา ก็ชัดเจนว่า “ดีแทคเป็น 5G แบบเด็กๆ สักวันหนึ่งเราจะโต”

กลุ่มทรู เน้นอัจฉริยะภาพ กับความยั่งยืน กำหนดนิยามใหม่ 5G

การตีความ 5G ของกลุ่มทรู ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของตลาดมือถือบ้านเรา โดยเน้นการนำเทคโนโลยีไปทำประโยชน์โดยแฉพาะด้านความยั่งยืน ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างมาก ซึ่งกลุ่มทรูมองว่า 5G ต้องเน้นเรื่องอัจฉริยะภาพของโซลูชั่นต่างๆ ที่ทำให้ชีวิตคนดีขึ้น นอกจากผู้บริโภคแล้ว กลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าที่ต้องการความแม่นยำและความเที่ยงตรงในคุณภาพสูง ประกอบกับมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติในอุตสาหกรรมเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกับ IoT เช่น หุ่นยนต์ความแม่นยำสูง การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยระบบเซ็นเซอร์ ก็จะต้องการความอัจฉริยะของโซลูชั่น

ไม่เพียงแค่เรื่อง 5G ดังนั้นการที่ทรู มีคลื่นครบทั้ง7ย่าน ทำให้รองรับอุปกรณ์ได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับโอเปอร์เรเตอร์รายอื่นๆ ในด้านการตลาด ทรูออกมาเน้นเรื่อง “True 5G อัจฉริยะภาพเพื่อความยั่งยืน เพื่อประเทศไทย” พร้อมเปิดตัว 5 ฮีโร่ ที่จะบอกสังคมว่า หากใช้เทคโนโลยี จะทำให้ใครๆ ก็สามารถเป็นฮีโร่ได้ ทำให้สังคมดีขึ้นได้ ซึ่งเป็นการนิยามการแข่งขันใหม่ ที่ไม่ได้แข่งด้านในรูปแบบเดิมๆ อย่างในอดีต

นอกจากนี้ การที่ทรูได้คลื่นการประมูล 2600 MHz มาครองถึง 9 ใบอนุญาต (90 MHz) และ 26 GHz ที่ประมูลได้มา 8 ล็อตความถี่ (800 MHz) ในราคาสมเหตุสมผล ทำให้นักลงทุนคลายกังวล และได้คลื่นจำนวนที่มากพอในระยะยาวในการให้บริการ 5G เห็นได้ว่ากลุ่มทรูสะท้อนให้เห็นว่าพวกเขาสามารถทำตามเป้าหมายของตัวเองได้อย่างเหมาะสม โดยภาพรวมกลุ่มทรูถือเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ออกมาเน้นย้ำเรื่องการสร้างประโยชน์ให้ผู้บริโภคสูงสุดเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามตัดราคาทำให้อุตสาหกรรมไม่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

เอไอเอส ยุทธศาสตร์ไอดอล พร้อมจัดคอนเสิร์ต 5G ชิงกระแส

เรื่องปกติของธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เพราะคลื่นเปรียบเหมือนถนน ถ้ามันกว้าง รถยนต์ก็วิ่งได้สะดวก ไม่มีการติดขัด ทำให้เอไอเอสจำเป็นต้องจ่ายค่าคลื่นราคาสูง เพราะมีลูกค้าจำนวนมากกว่ารายอื่น จึงจำเป็นต้องขยายถนน จึงจำเป็นต้องจ่ายค่าคลื่น 700 MHz มาในราคาสูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ที่ทั้งทรูและดีแทคก็มีคลื่น 700MHz อยู่แล้วค่ายละ 2 ใบ เพื่อให้มีจำนวนแบนด์วิดท์ต่อลูกค้ามากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มทรูมีแบนด์วิดท์ต่อลูกค้าสูงสุด หรืออธิบายได้ว่า ถนนโล่งสุด

ในขณะที่เอไอเอสหลังการประมูล ทำให้ถนนคล่องตัวมากขึ้น สำหรับยุทธศาสตร์การตลาด เอไอเอส เน้นไปที่แคมเปญความบันเทิง โดยเอไอเอสเตรียมจัดทัพศิลปินชื่อดังขวัญใจวัยรุ่นผ่านคอนเสิร์ต โดยคาดว่า อุปกรณ์ 5G และความพร้อมต่างๆคงใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี จึงเน้นไปที่คอนซูมเมอร์และบันเทิงเป็นหลัก โดยเอไอเอสเน้นย้ำว่า “5G พอแข่งขันไปแล้วอาจเกิดความคาดหวังกับลูกค้า แต่ความคาดหวังกับความเป็นจริง อาจต้องใช้เวลา”

ดังนั้นการแข่งขันโทรคมนาคมไทย ถือว่าเข้าสู่ยุคที่มีความพร้อมไม่แพ้ประเทศใดในโลก เวทีที่เปิดกว้าง กับการแข่งขันที่เปลี่ยนจากทะเลสีเลือด มาเป็นการมีส่วนร่วมสร้างนวัตกรรม รายได้หลักอาจเปลี่ยนจากการโทรมาเป็นการเชื่อมโยงระบบ การใช้ IOT การมีระบบ วิเคราะห์ข้อมูล หุ่นยนต์ โดยผู้ชนะคือคนที่สร้างระบบนิเวศน์ได้ครบที่สุดนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook