คลังชงแจกเงิน 1,000-2,000 บาท กระตุ้นเศรษฐกิจ กู้วิกฤตไวรัสโคโรนา

คลังชงแจกเงิน 1,000-2,000 บาท กระตุ้นเศรษฐกิจ กู้วิกฤตไวรัสโคโรนา

คลังชงแจกเงิน 1,000-2,000 บาท กระตุ้นเศรษฐกิจ กู้วิกฤตไวรัสโคโรนา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุ กระทรวงการคลังเตรียมเสนอมาตรการดูแลและลดผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ชุดที่ 1 เข้าสู่ที่ประชุม ครม. เศรษฐกิจพิจารณาในวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 63 โดยมาตรการชุดนี้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น

การสนับสนุนค่าครองชีพด้วยการโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ให้ผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร รวมถึงผู้มีอาชีพอิสระ รายละ 1,000-2,000 บาท ซึ่งกำลังพิจารณาว่าจะโอนทีเดียว หรือทยอยให้เป็นรายเดือน โดยต้องคำนึงถึงผลของมาตรการด้วยว่าจะต้องมีผลต่อเศรษฐกิจในช่วง 3-4 เดือนข้างหน้า

mofนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการต้องลงทะเบียน เมื่อได้รับโอนเงินก็สามารถกดเป็นเงินสดใช้ได้ทันทีพร้อมคาดว่าจะมีผู้ได้สิทธิ์ดังกล่าวราว 14 ล้านคน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมาตรการชิมช้อปใช้ และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) ถือเป็นคนละมาตรการกัน แต่ผู้ถือบัตรบางส่วนที่เข้าเกณฑ์จะได้รับการแจกเงินด้วย ส่วนมาตรการชิมช้อปใช้ เฟส 4 ชะลอไปก่อน

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภาคธุรกิจและภาคการท่องเที่ยวทุกกลุ่ม โดยให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมากเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน รวมถึงยังมีมาตรการภาษีเพื่อช่วยผู้ประกอบการให้จ้างพนักงานต่อ โดยให้นำค่าใช้จ่ายการจ้างงานมาหักใช้จ่ายได้มากกว่า 1 เท่า และกรมสรรพากรจะออกประกาศให้ผู้ประกอบการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายลง เพื่อให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องมากขึ้น อีกทั้งจะมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อให้เงินสนับสนุนให้นายจ้างไปจ่ายให้พนักงานที่ต้องหยุดทำงานชั่วคราวด้วย

ที่สำคัญยังมีมาตรการช่วยเหลือตลาดทุนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (โควิด-19) และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวด้วย โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมสรรพากร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับเกณฑ์กองทุนรวมเพื่อการออม (SFF) ให้เหมือนกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว เพื่อช่วยเหลือตลาดทุนในภาวะที่ดัชนีปรับตัวลดลงมาก ส่วนจะเพิ่มวงเงินลงทุนได้ 5 แสนบาท และระยะเวลาการถือครอง 7 รอบบัญชีเช่นเดิมหรือไม่นั้นอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่จะเป็นมาตรการชั่วคราว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook