Circuit Breaker คืออะไร ใช้ตอนไหน ช่วยอะไรนักลงทุนได้บ้าง?

Circuit Breaker คืออะไร ใช้ตอนไหน ช่วยอะไรนักลงทุนได้บ้าง?

Circuit Breaker คืออะไร ใช้ตอนไหน ช่วยอะไรนักลงทุนได้บ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ใช้มาตรการ Circuit Breaker หลังดีชนี SET ภาคบ่ายดิ่งลงถึง 10% ท่ามกลางความวิตกกังวลของนักลงทุนถึงการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19)

เชื่อว่าบางคนอาจสงสัยว่า Circuit Breaker คืออะไร และใช้กับภาวะตลาดหุ้นในช่วงไหน ช่วยอะไรนักลงทุนได้บ้าง Sanook Money มีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาฝากเพื่อที่จะช่วยให้คลายข้อสงสัยได้มากขึ้น

Circuit Breaker คืออะไร?

  • การหยุดซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยอัตโนมัติเป็นการชั่วคราว ซึ่งจะใช้ในกรณีที่สภาวะตลาดหุ้นมีความผันผวนรุนแรง และราคาหุ้นรายตัวเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างมาก เพื่อที่จะให้นักลงทุนมีเวลาตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างครบถ้วน

หลักการทำงานของ Circuit Breaker

  • ถ้าดัชนีหุ้นลดลง 10% จากวันก่อนหน้าจะใช้ Circuit Breaker ครั้งที่ 1 คือพักการซื้อขายหุ้นเป็นเวลา 30 นาที

  • เมื่อกลับมาเปิดตลาดซื้อขายหลังจากหยุดพักแล้ว ปรากฏว่าดัชนีหุ้นลดลงจากวันก่อนหน้า 20% (หรือลดลงอีก 10%) จะมีการพักการซื้อหุ้นเป็นเวลา 1 ชั่วโมง

สำหรับประเทศไทย ได้มีการใช้ Circuit Breaker ตลาดหุ้นไทย ทั้งหมด 4 ครั้ง

ครั้งที่ 1: วันที่ 19 ธันวาคม 2549

  • Set Index ลงไป 10.14%
  • สาเหตุ: เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้มาตรการกันสำรอง 30% เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ทำให้นักลงทุนต่างชาติตระหนกเทขายหุ้นเป็นจำนวนมาก ทำดัชนีร่วงลงไป 142.63 จุด หรือ 19.52% ก่อนปิดตลาดที่ลบ 108.41 จุด หรือ 14.84% และใช้ Circuit Breaker เป็นครั้งแรกของตลาดในช่วงเวลา 11.26 น. ซึ่งเป็นช่วงที่ดัชนีลดลงไปกว่า 74.06 หรือ 10.14%

ครั้งที่ 2: วันที่ 10 ตุลาคม 2551

  • สาเหตุ: วิกฤตเศรษฐกิจโลกของสหรัฐ หรือ Hamburger Crisis เพราะปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สั่งใช้มาตรการ Circuit Breaker 30 นาที ตั้งแต่เวลา 14.35 น. ดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ 449.91 จุด ลดลง 50.08 จุด ลดลง 10.02% ซึ่งการปรับตัวลดลงของหุ้นไทยเป็นไปตามภูมิภาคหลายแห่งที่ร่วงแรงมากกว่า 10% หลังเกิดควาไม่มั่นใจของนักลงทุนที่เกิดวิกฤตการเงินลุกลามไปทั่วโลก

ครั้งที่ 3: วันที่ 27 ตุลาคม 2551

  • สาเหตุ: ผลกระทบจาก Hamburger Crisis ห่างกันเพียงแต่ 17 วัน ทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สั่งใช้ Circuit Breaker 30 นาที ตั้งแต่เวลา 16.04 น. ดัชนีร่วงลง 10% อยู่ที่ระดับ 389.58 จุด หรือลดลง 43.29 จุด หลังเปิดการซื้อขายอีกครั้งในรอบที่ 2 ดัชนียังคงปรับลดลงต่อเนื่อง โดยปิดตลาดช่วงบ่ายที่ระดับ 387.43 จุด ลดลง 45.44 จุด หรือลดลง 10.50 % ดัชนีต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี

ครั้งที่ 4 : วันที่ 12 มีนาคม 2563 *ล่าสุด

  • สาเหตุ: ตลาดหุ้นไทยและตลาดทั่วโลกเกิดความกังวลถึงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกาศใช้ Circuit Breaker เมื่อเวลา 14.38 น. หลังดัชนีลดลง 125.05 จุด หรือ -10% ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี 4 เดือน นับจากวันที่ 27 ตุลาคม 2551
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook