เอกชน ซบแพลตฟอร์มออนไลน์ สู้ COVID-19 หลัง กูรูเศรษฐกิจหั่น GDP ปี 63 ไม่ถึง 2%
ภายหลังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ได้รายงานตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเติบโตที่ 2.4% ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี พร้อมคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2563 จะขยายตัวเพียง 1.5-2 % เท่านั้น สอดคล้องกับความเห็นของ สถาบันการเงินไทยหลายแห่งต่างหั่น GDP ไทยปี 2563 ลงเช่นกัน โดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เหลือ 1.8% จาก 2.1% ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เหลือ 2.1% จาก 2.8% ศูนย์วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เหลือ 1.5% จาก 2.5% เนื่องจากโรคระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยังมีผลต่อเนื่องในหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมูลค่าความเสียหายอาจจะอยู่ในระดับ 500-700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1.56 - 2.18 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 0.09-0.13% ของจีดีพี ทั้งปีของไทยรวมถึงอาจส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของคนไทยเนื่องจากมีความตื่นกลัวโรคระบาด
ดังนั้น ผู้ประกอบการเอกชนไทยจึงได้ปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ผลิกวิกฤตเป็นโอกาสเนื่องจากเล็งเห็นว่าแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกระจายสินค้าในประเทศหลังจากสินค้าที่ส่งออกได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยการเอาใจนักช้อปออนไลน์ ที่อาจะเกิดความเครียดจากการระบาดของ COVID-19 และมีความกังวลเวลาออกไปข้างนอก ซึ่งผู้ประกอบการเอกชนหลายรายก็จัดโปรโมชั่น ทั้งบริการส่งฟรี หั่นราคาพิเศษ และให้ผลตอบแทนสูงสำหรับพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ โดยแบรนด์ Kullaya (กัลยา) ภายใต้การบริหารงานของ นางจินตร์จุฑา-นายธนยศ นิศากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท กัลยาไทยเฮิร์บ จำกัด เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของสินค้าสมุนไพรพรีเมี่ยมเพื่อความงาม จำหน่ายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ผ่านช่องทางออฟไลน์ และออนไลน์ ทั้ง LAZADA, Shopee และ เพจเฟซบุ๊ก
ซึ่งขณะนี้ประกาศเปิดรับตัวแทนออนไลน์แบบไม่ stock สินค้า ที่ต้องการรายได้เสริมทำได้ทุกเพศทุกวัย อัดโปรโมชั่นหนัก cash back กำไรงามรับ 75,000 บาท เมื่อทำยอด 200,000 บาท และ รับ 35,000 บาท เมื่อทำยอด 100,000 บาท สนใจสามารถสอบถามได้ที่ @KULLAYA เพราะรับจำนวนจำกัด ประกอบกับเดินหน้าทำกิจกรรมโปรโมทแบรนด์ และให้ความรู้เรื่องการดูแลผิวหน้าและผิวกายร่วมกับบริษัทต่างๆเข้าหาผู้บริโภคอย่างใกล้ชิดแบบจัดเต็ม ก็เพราะความสวยไม่มีวันหยุด
ส่วนแบรนด์ ท่าช้าง ซึ่งถนัดด้าน Innovation Food ล่าสุดแตกไลน์ผลิตภัณฑ์กาแฟ เพื่อสุขภาพ 25 in 1 โดดเด่นเรื่องไขข้อ มีสารสกัดจากสมุนไพรถึง 25 ชนิด บำรุงร่างกาย ลดเบาหวาน ควบคุมความดัน ก็ไม่น้อยหน้าผุดแพลตฟอร์มออนไลน์ ดึงวัยเกษียณศักยภาพสูง สู่ทีมขายออนไลน์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ค ของตัวแทนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีกองทัพทีมขายออนไลน์ที่แข็งแกร่ง แถมอัดโปรโมชั่นราคาพิเศษเมื่อซื้อสินค้า 3 กล่องขึ้นไป ราคาไม่ถึงพันยอดขายถล่มทลาย จนซีอีโอคนเก่ง นายอธิษฐ์พัชร นิพิษฐาภัทร กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอแฟงห์ จำกัด ต้องจัดส่งสินค้าด้วยตัวเองเพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าถึงมือผู้บริโภคทุกชิ้น ในช่วงเวลาเร่งด่วนก็ต้องอาศัยมอเตอร์ไซด์ และไม่ลืมสวมหน้ากากในช่วงที่ไวรัส COVID-19 ยังคงระบาด ในยุคดิจิไลฟ์ผู้บริโภคต้องการความรวดเร็ว ดังนั้นบริการต้องประทับใจผู้บริโภคอีกด้วย
อีกหนึ่งแบรนด์น้องใหม่ JLD Dragon ที่ออกมาเขย่าตลาดชานมไข่มุก สัญชาติไต้หวัน ซึ่งรู้ๆกันอยู่ว่าเป็นต้นกำเนิดแห่งชานมไข่มุก กระแสตอบรับเรียกได้ว่าแรงทะลุ โควิด–19 เพราะความหอมของชามีความโดดเด่นมาก แถมมีให้เลือกมากมายหลายรสชาติ รสชาติละมุนลิ้นบวกกับรสสัมผัสของไข่มุก ที่หนึบนุ่ม ลงตัวทุกส่วนผสม ด้านผู้บริหารหนุ่ม หล่อ ไฟแรง อย่างนายธนนท์ พงศ์ธนา ประธานกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท JLD Dragon (Thailand) มาบริหารความแรงของแบรนด์นี้เลยฉุดไม่อยู่นอกจากโปรโมชั่นที่ดึงเงินในกระเป๋าได้แบบง่ายๆแล้ว ยังเน้นรุกเจาะกลุ่มกำลังซื้อสูงในหัวเมืองใหญ่ก่อน โดยในกรุงเทพมหานครตั้งเป้าขยาย 10 สาขา เริ่มจากย่านกลางเมือง Samyan Mitrtown และ Mixt Chatuchak ก่อนจะขยายไปตามแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตทั่วประเทศ ราว 30 สาขาในปี 2563 และช่วงนี้ผู้บริโภคนิยมอยู่ติดบ้านมากกว่าออกไปข้างนอกเพราะโรคระบาด ดังนั้นเราจึงมีบริการส่งถึงหน้าบ้าน โดยจับมือร่วม Line man และ Grab food เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า
ด้านนายชาญวิทย์ กาญจนวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Natural & Premium Food จำกัด ที่เพิ่งยกระดับปฏิบัติการด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย และ เป็นรุ่นเดียวที่โครงการหลวงใช้ ซึ่งมีไม่กี่เครื่องในประเทศ โดยทุ่มงบประมาณไป 8 หลัก เพื่อตรวจเข้มผักอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกว่า 100 รายจากทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค โดยผักที่ผ่านการคัดกรองและตรวจด้วยเครื่องจะมีสติกเกอร์พร้อมคิวอาร์โค้ดติดอยู่ที่ถุงผัก ผู้บริโภคสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดตรวจสอบขั้นตอนการผลิตได้ทุกถุง นอกจากนี้ยังมีบริการ Home Delivery ส่งผักอินทรีย์ ถึงมือผู้บริโภคแบบ Knock Door ไม่ต้องออกไปซื้อที่ห้างสรรพสินค้า ไม่ต้องรอคิวจ่ายเงิน เพียงแค่สั่งออนไลน์พนักงานก็จัดส่งถึงที่ นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการเอกชนที่พยายามปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ยังสุ่มเสี่ยงกับโรคระบาด COVID-19 ซึ่งยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อใด
อัลบั้มภาพ 17 ภาพ