รู้จัก “เงินคืนประกันมิเตอร์ไฟฟ้า” ก่อนที่รัฐจะเปิดให้ขอรับเงินคืน บอกใบ้ใครมีสิทธิ์ได้
กลายเป็นประเด็นที่ทุกคนจับตามองสำหรับการขอรับเงินคืนประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ที่ ครม. ไฟเขียวให้เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนในช่วงที่เศรษฐกิจโลกและไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19)
ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กระทรวงพลังงาน ก็ขานรับมาตรการดังกล่าวทันทีโดยให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พิจารณาหลักเกณฑ์การคืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อนและผู้ประกอบกิจการชนาดเล็ก ร่วม 21.5 ล้านราย ภายใต้วงเงิน 30,000 ล้านบาท อย่างไร
ล่าสุด กกพ. อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับการไฟฟ้าจำหน่าย (กฟน., PEA และ กฟส.) เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดยจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบในวันที่ 25 มีนาคม 2563 อละเริ่มทยอยคืนเงินตั้งแต่ 31 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
ก่อนอื่น Sanook Money ขออธิบายถึงคำว่า “เงินคืนประกันมิเตอร์ไฟฟ้า” คือ คนที่เป็นเจ้าของบ้านและต้องการใช้ไฟฟ้า ต้องไปทำเรื่องที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อขอใช้ไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าจะเรียกเก็บเงินประกันการใช้ไฟ ถือเป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บล่วงหน้า ซึ่งเงินดังกล่าวจะได้รับคืนเมื่อยกเลิกใช้ไฟฟ้าแล้ว
เว็บไซต์สำนักข่าวไทย รายงานถึงคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ และรายละเอียดพร้อมเงื่อนไขเบื้องต้นการขอรับเงินคืนประกันมิเตอร์ไฟฟ้าไว้ดังนี้
ถาม: ใครมีสิทธิ์ได้เงินคืนประกันมิเตอร์ไฟฟ้าบ้าง?
ตอบ: ผู้ที่อยู่ในการดูแลของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ถาม: คนใช้ไฟฟ้ากลุ่มไหนที่มีโอกาสได้สิทธิ์ก่อน?
ตอบ: คนที่มีคุณสมบัติพร้อมก่อน เช่น ชื่อเจ้าของตรงกับมิเตอร์
ถาม: คนที่ติดหนี้ค่าไฟฟ้า หรือเจ้าของมิเตอร์ปัจจุบันไม่ตรงกับชื่อผู้ครอบครองมิเตอร์ต้องทำอย่างไร?
ตอบ: ผู้เช่าบ้าน หรือคอนโดมือ 2 หรือรับมรดกจากผู้เสียชีวิตที่ยังไม่โอน และเปลี่ยนเป็นชื่อเจ้าของใหม่ ในกรณีนี้ต้องเปิดให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายชื่อก่อนเพื่อป้องกันการฟ้องร้องที่จะตามมา
ถาม: อัตราค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าเท่าไหร่และขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?
ตอบ: การคืนค่าประกันตะเป็นไปตามขนาดมิเตอร์มีทั้งอัตราเก่าและใหม่ โดยอัตราใหม่ในส่วนของครัวเรือนมีดังนี้
- มิเตอร์ขนาด 5 (15) เงินคืนประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท
- มิเตอร์ขนาด 15 (45) เงินคืนประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท
- มิเตอร์ขนาด 30 (100) เงินคืนประกันการใช้ไฟฟ้า 4,000 บาท
- มิเตอร์ขนาด 15 (45) เงินคืนประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท
ส่วนผู้ประกอบการขนาดเล็กค่าประกันอยู่ที่ 6,000 – 8,000 บาท
ถาม: เริ่มทยอยคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าได้เมื่อไหร่?
ตอบ: เริ่มภายในเดือนมีนาคมนี้
ถาม: วงเงินที่จะจ่ายเงินคืนประกันมิเตอร์ให้กับผู้ที่อยู่ในการดูแลของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีเท่าไหร่และมีการรายที่มีสิทธิ์ได้?
ตอบ: ผู้ที่อยู่ในเขต กฟน. ทั้งกรุงเทพฯ, นนทบุรี และสมุทรปราการ จะได้รับเงินคืน 3.89 ล้านราย วงเงิน 13,581 ล้านบาท
ส่วนผู้ที่อยู่ในเขต กฟภ. จะได้รับเงินคืน 19.5 ล้านราย วงเงิน 19,987 ล้านบาท
สำหรับผู้ขอยื่นใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ไม่ต้องจ่ายค่าประกันตั้งแต่เดือน เม.ย. ทางด้าน สกพ. และ กฟน. – กฟภ. เห็นร่วมกันไม่ต้องจ่ายค่าประกันโดยให้จ่ายแค่ค่าตรวจสายไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันผู้ใช้ไฟรายย่อยจะเก็บอยู่ 100-700 บาทขึ้นอยู่กับขนาดแอมป์ ส่วนกิจการขนาดเล็กเก็บอยู่ 1,500 บาท