“บลูบิค กรุ๊ป” เผย 4 อุตสาหกรรมไทย เตรียมทรานฟอร์มสู่ “บล็อคเชน” ก้าวข้ามยุค Distruption

“บลูบิค กรุ๊ป” เผย 4 อุตสาหกรรมไทย เตรียมทรานฟอร์มสู่ “บล็อคเชน” ก้าวข้ามยุค Distruption

“บลูบิค กรุ๊ป” เผย 4 อุตสาหกรรมไทย เตรียมทรานฟอร์มสู่ “บล็อคเชน” ก้าวข้ามยุค Distruption
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด บริษัทที่ปรึกษา Digital Transformation ครบวงจรชั้นนำของไทย กล่าวว่า บล็อกเชนเปรียบเสมือนเครือข่ายเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่ง ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างโปร่งใส น่าเชื่อถือ ที่สำคัญช่วยลดการพึ่งพาคนกลาง ลดต้นทุน-ความเสี่ยงเรื่องของการถูกปลอมแปลงหรือแก้ไขข้อมูล เพราะมีเครือข่ายหลายแห่งคอยตรวจสอบความถูกต้องอยู่เสมอ และยังเปิดโอกาสให้เกิดนวัตกรรมหรือบริการใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นบล็อกเชนเข้ามาปฏิวัติโลกการเงิน และการธนาคาร (Financial) อย่างเห็นได้ชัด เช่น การดูแลการเก็บเงิน-จ่ายเงิน หรือโอนเงินข้ามประเทศ แถมช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ใช้บริการได้อีกด้วย

ww(1)นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด

ซึ่งในต่างประเทศนั้นได้เริ่มนำบล็อกเชนเข้ามาใช้กับกรณีการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลอย่าง บิตคอยน์ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ไม่เพียงแค่การนำบล็อกเชนมาใช้ในวงการการเงิน-การธนาคารอย่างเดียว แต่ยังถูกนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเลือกตั้งในสาธารณรัฐเอสโตเนียอีกด้วย

shutterstock_659241235[conve

หากมองกลับมาที่ไทยเราก็จะเห็นบล็อกเชนเข้ามาแทนที่คนกลาง (Disrupt) ของแบงก์รัฐ-พาณิชย์กันอยู่แล้ว แต่อันที่จริงบล็อกเชนสามารถ Disrupt ได้ทุกๆ อุตสาหกรรมที่มีตัวกลาง ไม่เว้นแม้กระทั่งภาครัฐ เช่น การซื้อ-ขายที่ดิน หรือการออกโฉนดที่ต้องให้กรมที่ดินดำเนินการจัดการ หากนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาใช้ก็จะสามารถทำสัญญาต่างๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย Smart Contract โดยจะตรวจสอบได้ทันทีเลยว่าทุกอย่างตรงตามเงื่อนไขที่ระบุใน Smart Contract หรือไม่ แถมยังช่วยเร่งกระบวนการทำงานต่างๆ ให้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลารอนานเหมือนเมื่อก่อน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในด้านข้อมูลของคู่สัญญา เป็นต้น

shutterstock_754919647[conve

นายพชร บอกว่า ในไทยมีแนวโน้มที่จะนำบล็อกเชนมาใช้ในอุตสาหกรรมหลัก 4 อย่าง ได้แก่ “ประกันภัย” โดยผู้เอาประกันจะดำเนินการตามกรมธรรม์และบริการของตนเองได้โดยอัตโนมัติลดค่าใช้จ่ายในการจัดการและเรียกร้อง เพิ่มความโปร่งใสและป้องกันการฉ้อโกงด้วย Smart Contract, “สถานพยาบาล (Health Care)” ซึ่งในต่างประเทศมีการใช้บล็อกเชนเข้ามาช่วยดูแลเรื่องของประวัติคนไข้ ในกรณีที่ต้องส่งต่อคนไข้ไปยังโรงพยาบาล หรือคนไข้เข้ารับบริการต่างโรงพยาบาลจะช่วยให้ทราบข้อมูลหรืออาการป่วยของคนไข้ได้รวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลาซักประวัติใหม่, “การขนส่ง (Logistic) และซัพพลายเชน (Supply Chain)” ซึ่งบล็อกเชนจะช่วยติดตาม Tracking ได้ของที่กำลังจัดส่งจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อได้ง่ายขึ้น และ “อุตสาหกรรมไอที” ที่จะช่วยเพิ่มความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูลต่างๆ

นอกจากนี้ นายพชร ระบุว่า สิ่งที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ ภาครัฐของไทยอยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนาเพื่อที่จะนำบล็อกเชนเข้ามาใช้ในแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศ (National Digital Trade Platform) อย่างเป็นรูปธรรม โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยเก็บข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก และยังช่วยลดความซับซ้อยกระบวนการค้าระหว่างประเทศได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม นายพชร มองว่า ในต่างประเทศให้ความตื่นตัวและให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีบล็อกเชนค่อนข้างมาก ซึ่งปัจุบบันมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 5,000 ล้านเหรียญทั่วโลก (คิดเป็นเงินไทยราว 163,400 ล้านบาท) เพราะต่างคนต่างลงทุน ส่วนในไทยนั้นมีมูลค่าการลงทุนกับบล็อกเชนที่ 1,000 ล้านบาท เท่านั้น ส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นของภาคเอกชน อีก 10% เป็นของรัฐ ซึ่งอาจจะเป็นที่บางหน่วยงานมีข้อจำกัดในเรื่องของกฎหมายบางประการ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook