เราไม่ทิ้งกัน คลังเผย "ออมสิน-ธ.ก.ส." พร้อมรับมือ 15 ล้านคนกู้เงินฉุกเฉิน
นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติงานกระทรวงการคลัง) กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการสนับสนุนสินเชื่อฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 วงเงินกู้สูงสุด 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.10% ผ่อนชำระนาน 24 เดือน ปลอดชำระเงิน 6 เดือนแรก ภายใต้งบประมาณ 40,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีผู้ที่หลุดเกณฑ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เข้าใช้บริการราว 15 ล้านคน เนื่องจากจำนวนผู้ลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ขอรับสิทธิ์มีมากถึง 24 ล้านคน และโควต้าผู้ที่จะได้รับเงินเยียวยาทั้ง 2 ระยะ มี 9 ล้านคน
ขณะนี้ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหรกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งรับผิดชอบโครงการนี้ มีความพร้อมให้บริการประชาชนที่เดือดร้อนแล้ว โดยทั้ง 2 ธนาคารจะเปิดให้ลงทะเบียนออนไลน์ในวันที่ 15 เม.ย. 63 เป็นต้นไป ธนาคารออมสิน ปล่อยกู้ภายใต้กรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.gsb.or.th เพื่อให้ผู้เดือดร้อนกรอกข้อมูลส่วนตัว หากผ่านจะมี SMS แจ้งเตือนลูกค้าที่ได้รับอนุมัติวงเงิน
ด้านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปล่อยกู้ภายใต้กรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาทเช่นกัน เปิดให้ลงทะเบียนผ่าน LINE ID ของ ธนาคารชื่อว่า @baacfamily เท่านั้น หรือสแกน QR Code กรอกรายละเอียด และรอนัดหมายจากธนาคารผ่าน SMS เริ่มทำสัญญากู้เงิน ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. 2563 จากนั้นธนาคารจะแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชีผ่าน SMS โดยคุณสมบัติของผู้กู้จะต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย ไม่ต้องมีหลักประกัน มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้าแม่ค้า คนขับรถแท็กซี่ มัคคุเทศก์ ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 มีที่อยู่อาศัยสามารถติดต่อได้ และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาชำระคืนรวมกันไม่เกิน 70 ปี และสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 เม.ย. 63
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินกู้ฉุกเฉิน ธ.ก.ส. ได้ที่นี่
-
ธ.ก.ส.ลงทะเบียนกู้เงินฉุกเฉิน 10,000 บาท ทางออนไลน์ผ่านมือถือ เลี่ยงโควิด-19
-
เทคนิคลงทะเบียน ธ.ก.ส. กู้เงินฉุกเฉินของคนที่ไม่ได้เป็นลูกค้ายังไงให้ผ่านฉลุย!
-
ลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส. ลงทะเบียนกู้เงินฉุกเฉิน 10,000 บาท หลับตากรอก 6 ทีเสร็จ!
-
ธ.ก.ส. ลงทะเบียนกู้เงินฉุกเฉินคนละ 10,000 บาท ไม่ใช่ลูกค้าเก่าทำได้แค่ 7 สเต็ป
-
สรุปมาตรการช่วยเหลือ-เยียวยา "ปากท้อง" ในช่วงวิกฤตโควิด-19