10 ขั้นตอน บริหารกระแสเงินสดให้ดีขึ้น

10 ขั้นตอน บริหารกระแสเงินสดให้ดีขึ้น

10 ขั้นตอน บริหารกระแสเงินสดให้ดีขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การจัดการกระแสเงินสดเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ผู้ประกอบการจะต้องเผชิญ แต่โชคดีที่การวิเคราะห์กระแสเงินสดอย่างรอบคอบบวกกับการจัดการเงินสดอย่างระวังจะช่วยให้คุณสามารถรอดพ้นอุปสรรคในยามเงินตึงตัวได้

ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ตั้งโดยมีงบประมาณจำกัด หรือเป็นบริษัทที่มีทุนหนาแต่กำลังเผชิญสภาวะเงินขาดมือ 10 ขั้นตอนต่อไปนี้จะช่วยให้คุณบริหารกระแสเงินสดให้ดีขึ้น


1.อยู่กับปัจจุบัน

พื้นฐานแรกของการจัดการกระแสเงินสดก็คือการรู้ว่าขณะนี้คุณมีเงินสดในมืออยู่เท่าไหร่ นั่นหมายความว่าคุณต้องแยกบัญชีบริษัทกับบัญชีตัวเองออกจากกันและต้องหมั่นอัพเดทสมุดธนาคารด้วย

คุณต้องสามารถเตรียมตัวรับสถานการณ์ที่มีเงินออกมากกว่าเงินเข้าได้ ซึ่งสามารถคำนวณโดยนำกระแสเงินสดที่มีหารด้วยอัตราเงินออกจะเท่ากับจำนวนเดือนที่คุณจะสามารถทำธุรกิจต่อไปได้โดยไม่มีรายได้เข้ามา

การเริ่มธุรกิจที่มีอายุไม่ถึงปีและจะต้องสำรองเงินเพื่อให้รอดพ้นความยุ่งยากในช่วงปีสองปีแรกเป็นเรื่องเสี่ยงปกติของผู้เริ่มทำธุรกิจ


2.เข้าใจตัวเลขในอนาคต

การคาดการณ์ทางการเงินเป็นสิ่งที่บริษัททุกแห่งจะต้องทำ ไม่ใช่เพียงแต่เป็นตัวกำหนดรายรับในอนาคตเท่านั้น แต่ยังช่วยวิเคราะห์กระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย ลองใช้โมเดล "จะทำอย่างไร ถ้า..."

ถามตัวเอง เช่น จะทำอย่างไรถ้าคุณไม่สามารถหาลูกค้าใหม่ได้ในหกเดือนข้างหน้า การตอบคำถามแบบนี้ล่วงหน้าจะช่วยให้คุณจัดการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วหากมันเกิดขึ้นจริง ๆ


3.ใช้วิธีดำเนินงานแบบประหยัด


ระบุและกำจัดงานที่ซ้ำๆ หรือเปลืองเวลาในทุกขั้นตอนของการบริหารธุรกิจ หมั่นตรวจสอบแต่ละขั้นตอนของการดำเนินงาน (เช่น การผลิต การขาย การบริการลูกค้า ฯลฯ) มองหาขั้นตอนที่ทำให้การทำงานล่าช้า

การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณประหยัดเงินและบริหารกระแสเงินสดได้ดีขึ้นในระยะยาว


4.รักษาสินค้าคงเหลือแบบพอดี

หากคุณขายสินค้าหรือรับสินค้ามาขาย อย่าเก็บสินค้าไว้มากกว่าการขายสำหรับหนึ่งสัปดาห์ นอกเสียจากว่าคุณแน่ใจว่าจะมีความต้องการมากๆ อย่างแน่นอน การส่งสินค้าสมัยนี้ทำได้เร็วกว่าอดีต

ดังนั้นการสั่งสินค้ามาจำหน่ายไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้านาน หรือรอให้มีออเดอร์แล้วค่อยสั่งก็ยังได้


5.ไม่ใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย

มีหลายวิธีที่คุณจะประหยัดเงินได้ด้วยตัวเอง เช่น หากต้องการคอมพิวเตอร์หลายเครื่องลองซื้อแบบมือสองมาไว้ใช้งาน ทำงานที่บ้านแทนการเช่าพื้นที่ในเมือง

ต่อรองขอลดราคาสินค้าขายส่งจากผู้ผลิตสินค้าหรือผู้จัดจำหน่ายในท้องถิ่น การปลูกจิตสำนึกใช้เงินอย่างประหยัดจะช่วยให้คุณหาทางผ่านอุปสรรคไปได้


6.เลื่อนกำหนดจ่ายหนี้

หากคุณอยู่ในฐานะลูกหนี้เพราะจะต้องทำธุรกิจกับผู้ค้ามากมาย ลองวางแผนและเจรจาต่อรองเพื่อขอแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ แทนการจ่ายเงินสดเป็นก้อน

ผู้ค้าส่วนมากมักจะเข้าใจและยอมให้แบ่งจ่ายหากคุณสามารถจ่ายค่างวดได้ตรงเวลา เงินสดที่คุณไม่ได้ลงไปกับต้นทุนสามารถเอามาใช้หว่านในธุรกิจได้


7.เร่งรัดลูกหนี้

หากคุณเป็นเจ้าหนี้ให้พยายามเก็บเงินให้ได้เร็วที่สุด คุณอาจแจ้งเตือน หรืออาจปฏิเสธการซื้อขายหากลูกค้าคนนั้นอัตคัตเงินก้อน อย่าเป็นเจ้าหนี้ใจดีด้วยการขายสินค้าหรือให้บริการที่ไม่ได้รับเงินทันที

คุณอาจต้องตรวจสอบเครดิตของลูกค้าก่อนตกลงซื้อขายเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ได้เป็นฝ่ายรับความเสี่ยงเรื่องกระแสเงินสดเสียเอง


8.ใช้บัตรเครดิตอย่างรอบคอบ

หากคุณไม่สามารถตกลงการผ่อนชำระจากผู้ค้าได้ ให้หันมาใช้ประโยชน์จากบัตรเครดิตแทน ให้คุณวางแผนโดยการชำระค่าใช้จ่ายของบริษัทผ่านบัตรเครดิตของตัวเองในช่วงต้นๆของรอบบิล

การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณยืดระยะเวลาชำระเงินออกไปได้ 45 ถึง 60 วันเลยทีเดียว


9.เลื่อนกำหนดจ่ายเงินเดือนตัวเอง

หากคุณกำลังมองหาผู้ร่วมลงทุนกับบริษัท พวกเขาเหล่านั้นคงจะสนใจเจ้าของกิจการที่เต็มใจจะไม่รับเงินเดือนเพื่อให้ธุรกิจได้กำไรและเจริญเติบโตได้เมื่อมีโอกาส

การงดจ่ายเงินเดือนตัวเองเป็นเวลาหนึ่งเป็นเป็นกฏพื้นฐานที่ดีของการเป็นเจ้าของกิจการ ลองคิดดูสิว่าหากคุณยังรับเงินเดือนต่อไปเรื่อยๆ ธุรกิจของคุณจะบินขึ้นได้อย่างไร

ในทางกลับกันหากคุณไม่รับเงินเดือนเป็นเวลาหนึ่งปีนั่นหมายความว่าจะมีเงินสดเทเข้าไปอยู่ในเงินทุนของบริษัท เป็นการบริหารกระแสเงินสดที่ดีกว่าสำหรับปีต่อไป


10.คิดหาวิธีชดเชยค่าแรงแบบใหม่ๆ

คุณไม่มีทางดำเนินธุรกิจไปได้ไกลหากไม่จ้างพนักงาน แต่คุณไม่จำเป็นต้องหาพนักงานดีๆ ด้วยการให้เงินเดือนแพงๆ แบบที่บริษัทใหญ่ๆนิยมทำกัน ลองคิดวิธีชดเชยค่าแรงด้วยการให้ข้อเสนออื่น ๆ

เช่น ให้ค่าโทรศัพท์ ให้แต่งตัวตามสบาย มีห้องพักเบรคสวยๆ หากคุณสามารถหาคนที่เชื่อมั่นในบริษัทและอยากโตไปพร้อมๆ กับคุณ แทนที่จะรับเงินเดือนสูงๆ

คุณก็สามารถเปลี่ยนทรัพยากรบุคคลเหล่านั้นให้เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าได้โดยไม่ต้องทำให้กระแสเงินสดแห้งเหือด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook