ทบทวนสิทธิ์ เราไม่ทิ้งกัน พร้อมจ่าย 5,000 บาท ย้อนหลังให้ครบ 3 เดือน

เราไม่ทิ้งกัน พร้อมจ่าย 5,000 บาท ย้อนหลังให้ครบ 3 เดือน ให้ผู้ทบทวนสิทธิ์

เราไม่ทิ้งกัน พร้อมจ่าย 5,000 บาท ย้อนหลังให้ครบ 3 เดือน ให้ผู้ทบทวนสิทธิ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คณะกรรมการเยียวยาเปิดทางให้ นักเรียน นักศึกษา กศน. รับเงินเยียวยา เร่งเตรียมเงินกู้รองรับ 5.5 แสนล้านบาท พร้อมกำหนดนิยามเกษตรกรให้ชัดเจน เพื่อการช่วยเหลือ ยืนยันกองทุนประกันสังคม มีเงินสำรอง 2 ล้านล้านบาท ดูแลการว่างงาน ผู้ทบทวนสิทธิ์พร้อมจ่ายเงินย้อนหลังให้ครบ 3 เดือน

นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 โดยมี 10 ปลัดกระทรวง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สศค. เป็นกรรมการ ได้ประชุมนัดแรกหลังจาก นายกรัฐมนตรีได้ลงนามแต่งตั้ง เพื่อพิจาณาแนวทางการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งภาคธุรกิจ ค่าใช้จ่าย ภาระหนี้สิน การถูกเลิกจ้าง และการปิดกิจการชั่วคราว การประชุมครั้งนี้ พิจารณา 3 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบประกอบด้วย 1.แรงงานนอกระบบ อาชีพอิสระ, 2. แรงงงานประกันสังคม 3. กลุ่มเกษตรกร

สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ อาชีพอิสระ ได้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนแล้ว 27.7 ล้านคน รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยาให้แล้ว จำนวน 4 ล้านคน เตรียมปิดลงทะเบียนผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ในวันพุธที่ 22 เม.ย. นี้ เนื่องจากมีสัดส่วนสูงมากแล้ว เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ ขณะที่แรงงานประกันสังคมกลุ่มมาตรา 33 จำนวน 11 ล้านคน ตั้งแต่วันจันทร์นี้ 20 เม.ย. จะเริ่มให้ผู้ลงทะเบียนเข้าไปขอทบทวนสิทธิ์ จากนั้นในวันพฤหัสบดีนี้ เจ้าหน้าที่มหาดไทย คลังจังหวัด ธ.ก.ส. รวมถึง ธนาคารออมสิน จะลงพื้นที่ไปตรวจสอบถึงสถานประกอบการหรืออาชีพที่ทำงานจริงหรือไม่

นอกจากนี้ยังพร้อมช่วยเหลือ นักเรียน นักศึกษา เพิ่มเติม หากเป็นนักเรียน กศน. เพราะต้องทำงานด้วย เรียนไปด้วย ต้องได้รับการดูแล ส่วนไกด์ นำเที่ยวเป็นนักศึกษา เพราะเรียนปริญญาหลายใบ เมื่อทำงานด้วย ลงทะเบียนเรียนได้ จึงต้องช่วยเหลือ

ส่วนการเตรียมเงินรองรับ เมื่อ พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ได้ทำการออกพันธบัตรระดมเงินในประเทศ จึงมีเงินรองรับการเยียวประชาชน เพราะเงินกู้ สัดส่วน 6 แสนล้านบาท จัดสรรให้ด้านสาธารณสุขป้องกันโควิด 4.5 หมื่นล้านบาท และกันไว้อีกส่วนหนี่งวงเงิน 5.55 แสนล้านล้าน สำหรับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบยืนยันตัวตนแล้วได้ในช่วงต้นเดือนพฤษคม สำหรับกลุ่มแรก กระทรวงคลังพร้อมจ่ายย้อนหลังให้ครบ 3 เดือนเหมือนกับคนอื่นอย่างแน่นอน การลงทะเบียนครั้งนี้อยากช่วยเหลือผู้เดือดร้อน เพราะใช้เงินกู้มาช่วยเหลือ และประชาชนทุกคนต้องเสียภาษีนำมาจ่ายช่วยเหลือกลุ่มผู้เดือนร้อนจริง

ด้านกลุ่มประกันสังคม การช่วยเหลือแรงงานที่ประสบปัญหาการว่างงาน กระทรวงแรงงานยืนยันแล้วว่า บริหารจัดการกองทุนประกันสังคม สปสช. เพราะยังมีเงินซึ่งเป็นพันธบัตรถืออยู่วงเงิน 2 ล้านล้านบาท สามารถไถ่ถอนเพื่อนำมาจ่ายเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบได้ โดยเป็นเงินที่นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาลจ่ายสมทบ นอกจากนี้ยังมีการช่วยเหลือซึ่งไม่ใช่ตัวเงิน อย่างเช่น กระทวงอุตสหากรรม กระทรวงท่องเที่ยวฯ เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต การผ่อนปรน หรือการช่วยเหลือด้านต่างๆ เตรียมเสนอ ครม.ในอังคารหน้า

สำหรับการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรการ ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจนต้องหารือในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อกำหนดนิยามเกษตรกรให้ชัดเจน อย่างเช่น การทำสวนยางพารา ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของสวนยางแต่ทำงานออฟฟิส อาชีพอื่นด้วย ขณะที่คนกรีดยาง คือเกษตรกรจริง ต้องกำหนดการช่วยเหลือให้ชัดเจนระหว่างเจ้าของสวนและคนกรีดยาง โดยการช่วยเหลือเกษตรกร จะพิจารณาเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับการช่วยเหลืออีกหลายมาตรการ รวมไปถึงการพิจารณา ช่วยเหลือกลุ่มคนพิการ คนชรา เมื่อมีปัญหาตกงาน ไม่มีค่าเช่าบ้าน ไม่มีเงินใช้จ่าย ต้องช่วยเหลือเพิ่มเติมอย่างไร

 อ่านเรื่องเราไม่ทิ้งกันต่อที่นี่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook