เอาให้ชัด! เงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท ใครได้-ไม่ได้

เอาให้ชัด! เงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท ใครได้-ไม่ได้

เอาให้ชัด! เงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท ใครได้-ไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตอบคำถามเกี่ยวกับทะเบียนเกษตร พร้อมคอนเฟิร์มว่ามีใครบ้างเข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท ให้กับครอบครัวเกษตรกร 10 ล้านครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากพิษโควิด-19

จากกรณีที่กระทรวงการคลังเตรียมที่จะเสนอมาตรการเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วยการจ่ายเงินเยียวยา 15,000 บาท ให้กับครอบครัวเกษตรกร 10 ล้านครัวเรือนนั้น โดยยึดข้อมูลที่เกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไว้ก่อนหน้านี้ พร้อมกับตรวจสอบฐานข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

ซึ่งบางคนอาจเกิดคำถามที่ว่าทะเบียนเกษตรกรคืออะไร หากต้องการเข้าร่วมต้องทำอย่างไรบ้าง Sanook Money มีคำตอบจาก เพจเฟซบุ๊กกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาฝากกัน

คำถาม: ทะเบียนเกษตรกร หรือ ทบก. คืออะไร

คำตอบ: ข้อมูลของครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตรที่แสดงถึงสถานภาพ และการประกอบอาชีพการเกษตรของครัวเรือน ซึ่งเกษตรกรต้องมายื่นแบบ ทบก.01 เพื่อขึ้นทะเบียนเกษตรกร

เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร สามารถเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือ และได้รับสิทธิ์ต่างๆ ตามมาตรการของรัฐ

คำถาม: การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรคืออะไร

คำตอบ: การแจ้งปลูกพืชทุกรอบการผลิต

เปลี่ยนแปลงข้อมูลครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตร (เช่น เปลี่ยน/แก้ไข กิจกรรมการเกษตรและสมาชิกในครัวเรือน)

คำถาม: เกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร

คำตอบ: บุคคลในครัวเรือนคนใดคนหนึ่ง หรือหลายคนที่ประกอบการเกษตรฐานทะเบียนเกษตรกร กำหนดให้ 1 ทะเบียนบ้าน = 1 ครัวเรือน (ตั้งแต่ เดือน ต.ค.56 เป็นต้นมา)
ต้องประกอบกิจกรรม ดังนี้

  • ทำนา หรือทำไร่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันบนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป
  • ปลูกผัก หรือปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หรือเพาะเห็ด หรือปลูกพืชอาหารสัตว์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 งานขึ้นไป
  • ปลูกไม้ผลยืนต้น หรือปลูกสวนป่า หรือปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ และมีจำนวนต้นตั้งแต่ 15 ต้นขึ้นไป
  • ปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันบนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่และมีจำนวนต้นตั้งแต่ 15 ต้นขึ้นไป
  • เลี้ยงแม่โคนมตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป
  • เลี้ยงโค หรือกระบือ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
  • เลี้ยงสุกร แพะ หรือแกะ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่ 5 ตัวขึ้นไป
  • เลี้ยงสัตว์ปีก ตั้งแต่ 50 ตัวขึ้นไป
  • เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • ทำนาเกลือสมุทร บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป
  • ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน
  • เพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรกรอื่นๆ ซึ่งหมายถึง เลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรงชันโรง ครั่ง จิ้งหรีด ด้วงสาคู ไส้เดือนดิน ชีวภัณฑ์ และอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน
  • ประกอบการเกษตร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามข้อ 1-12 และมีรายได้ตั้งแต่ 8,000 บาทต่อปีขึ้นไป

คำถาม: ทะเบียนเกษตรกรมีข้อมูลอะไรบ้าง

คำตอบ: มีข้อมูล 9 หมวด

  • ข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน
  • สมาชิกครัวเรือนและการเป็นสมาชิกองค์กร
  • การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร
  • การประกอบกิจกรรมการเกษตร
  • แหล่งน้ำ
  • เครื่องจักรกลการเกษตร
  • หนี้สิน
  • รายได้
  • การเข้าร่วมโครงการภาครัฐ
    *การแจ้งข้อมูลเท็จในทะเบียนเกษตรกรถือเป็นความผิดทางกฎหมายตามมาตรา 137 และมาตรา 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

คำถาม: การขึ้นทะเบียนเกษตรกรต้องทำอย่างไร

คำตอบ: ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือน ขอขึ้นทะเบียนได้ 1 คน

  • ยื่นแบบ ทบก.01 ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูก หลังปลูกพืชแล้ว 15 วัน > เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล > ตรวจสอบข้อมูล > ติดประกาศในชุมชน 3 วัน > เจ้าหน้าที่ยืนยันข้อมูลในระบบ > การขึ้นทะเบียนเกษตรกรสมบูรณ์
  • ช่วงโควิด-19: ยื่นแบบ ทบก.01 ให้ผู้นำชุมชน หรือ อกม. รวบรวมส่งสำนักงานเกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่จะดำเนินการต่อไป

*ดาวน์โหลดแบบ ทบก.01 ได้ที่ http://farmer.doae.go.th
*แอปพลิเคชั่น Farmbook ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรรายใหม่แปลงใหม่ได้

คำถาม: เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทะเบียนเกษตรกรอย่างไร

คำตอบ: 1. ตรวจสอบข้อมูลบุคคลกับกระทรวงมหาดไทย
            2. ตรวจสอบข้อมูลเอกสารสิทธิ์ที่ดิน กับกรมที่ดินและ สปก.
            3. ตรวจสอบทางสังคมผ่านการติดประกาศข้อมูลในชุมชน หากมีการคัดค้านมีคณะทำงานระดับหมู่บ้านตรวจสอบพื้นที่วัดพิกัดที่ตั้งแปลง-วัดพื้นที่
            4. วัดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล เพื่อป้องกันการขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อน (ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 10 ล้านแปลง)

คำถาม: เมื่อใดต้องปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร

คำตอบ: เมื่อมีการเพาะปลูกพืชทุกรอบและเมื่อต้องการเปลี่ยนข้อมูลของครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตรดังนี้

  • รายใหม่ แปลงใหม่ / รายเดิม แปลงใหม่ : ยื่นแบบ ทบก.01 ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูกหลังปลูกพืชแล้ว 15 วัน > เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล > ตรวจสอบข้อมูล > ติดประกาศในชุมชน 3 วัน > เจ้าหน้าที่ยืนยันข้อมูลในระบบ > การขึ้นทะเบียนเกษตรกรสมบูรณ์
  • รายเดิม แปลงเดิม : ปรับปรุงผ่าน แอปพลิเคชั่น Farmbook

คำถาม: สถานภาพในทะเบียนเกษตรกรจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

คำตอบ: เสียชีวิต
            เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
            แจ้งเลิกประกอบการเกษตร
            แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
            ไม่มีการปรับปรุงสถานภาพเลย ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี
            (เริ่มใช้ตั้งแต่ 23 มิ.ย. 2563 เป็นต้นไป และมีผลย้อนหลังสำหรับผู้ไม่มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรตั้งแต่ 23 มิ.ย. 2560)

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ ของ เอาให้ชัด! เงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท ใครได้-ไม่ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook