ทบทวนสิทธิ์เราไม่ทิ้งกัน รับ 5,000 บาท ผู้พิทักษ์สิทธิ์ลุยเช็กข้อมูล คนยื่นเรื่องต้องเตรียมอะไรบ้าง

ทบทวนสิทธิ์เราไม่ทิ้งกัน รับ 5,000 บาท ผู้พิทักษ์สิทธิ์ลุยเช็กข้อมูล คนยื่นเรื่องต้องเตรียมอะไรบ้าง

ทบทวนสิทธิ์เราไม่ทิ้งกัน รับ 5,000 บาท ผู้พิทักษ์สิทธิ์ลุยเช็กข้อมูล คนยื่นเรื่องต้องเตรียมอะไรบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5,000 บาท จากเราไม่ทิ้งกัน สำหรับคนตกเกณฑ์ที่ยื่นขอทบทวนสิทธิ์ ต้องเตรียมตัวและเอกสารอะไรเพื่อรอรับผู้พิทักษ์สิทธิ์บ้าง

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5,000 บาท ว่าหลังจากที่เปิดให้ผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองได้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์นั้น โดยกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ "ผู้พิทักษ์สิทธิ์" กว่า 23,000 คน สับเปลี่ยนลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 23 เม.ย. เป็นต้นมา ไม่เว้นวันหยุดราชการ เพื่อทำหน้าที่ยืนยันตัวตน และตรวจสอบอาชีพตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และรวมถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น

ทั้งนี้ ในหลายพื้นที่ผู้พิทักษ์สิทธิได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยด้วย โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงานและหน้าที่ของผู้พิทักษ์สิทธิ ดังนี้

  1. ผู้พิทักษ์สิทธิจะโทรศัพท์นัดหมายผู้ทบทวนสิทธิล่วงหน้าทุกราย
  2. เมื่อลงพื้นที่ไปพบผู้ทบทวนสิทธิ ผู้พิทักษ์สิทธิจะมีการแสดงตนอย่างชัดเจน (อาจขอให้ผู้พิทักษ์สิทธิแสดงบัตรประจำตัวหรือเอกสารหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานได้)
  3. จะมีการใช้แอพพลิเคชั่น “ผู้พิทักษ์สิทธิ” ที่ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือของฝ่ายเจ้าหน้าที่ เป็นเครื่องมือในการขอยืนยันตัวตนของผู้ทบทวนสิทธิ และถ่ายภาพหลักฐานต่างทุกขั้นตอน
  4. ข้อมูลที่สำรวจและจัดเก็บจะถูกส่งตรงจากแอปพลิเคชั่นกลับมายังฐานข้อมูลของกระทรวงการคลัง เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป

โดยผู้ขอทบทวนสิทธิ์จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

  1. เมื่อผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านเกณฑ์ได้ยื่นขอทวบทวนสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com แล้วให้เตรียมบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง เอกสารและหลักฐานแสดงการประกอบอาชีพล่วงหน้าให้พร้อม ได้แก่ ภาพถ่ายการประกอบอาชีพตามอาชีพที่ได้ลงทะเบียนไว้ ใบอนุญาตประกอบอาชีพ ภาพถ่ายกับสถานประกอบการ เป็นต้น
  2. ผู้พิทักษ์สิทธิ์มีหน้าที่ยืนยันตัวตน และตรวจสอบการประกอบอาชีพตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ โดยไม่มีอำนาจพิจารณาคุณสมบัติว่าท่านจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ที่ยื่นทบทวนสิทธิ์ระมัดระวังการแอบอ้างหลอกลวงโดยผู้ไม่หวังดี หากไม่ได้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์กระทรวงการคลังจะไม่มีการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปนัดหมายพบแต่อย่างใด

อ่านเรื่อง เราไม่ทิ้งกัน ต่อที่นี่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook