"กิ๊ด" กิตติชัย เตชะงามเลิศ นักเล่นหุ้น ลุ้นเงินพันล้าน

"กิ๊ด" กิตติชัย เตชะงามเลิศ นักเล่นหุ้น ลุ้นเงินพันล้าน

"กิ๊ด" กิตติชัย เตชะงามเลิศ นักเล่นหุ้น ลุ้นเงินพันล้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากเอ่ยชื่อนักลงทุนขาใหญ่รุ่นใหม่ ที่สร้างพอร์ตลงทุนเล็ก ๆ ให้เพิ่มพูนขึ้นมาแล้ว จะมีชื่อ "กิตติชัย เตชะงามเลิศ" หรือ "กิ๊ด" ติดอยู่ในกลุ่มขาใหญ่

เขาเป็นเจ้าของผลงานพ็อกเกตบุ๊กด้านการลงทุน "จาก 1 ล้านเป็น 500 ล้าน ผมทำอย่างไร"


ที่ติดอันดับ Best Seller ปี 2555 ที่ผ่านมา ซึ่ง "ประชาชาติธุรกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ "เปิดพอร์ตและสไตล์การลงทุน" ของเขามานำเสนอดังนี้

"กิตติชัย" เล่าว่า พอร์ตลงทุนของเขาเป็นหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ แต่จะหนักไปลงทุนหุ้นสัดส่วนถึง 70% ที่เหลือเป็นการลงทุนอสังหาริมทรัพย์

โดยกลุ่มหุ้นที่เขาคิดว่ายังคงดีต่อเนื่องในปีนี้และเป็นกลุ่มหุ้นที่มีติด พอร์ตคือ กลุ่มประกันชีวิต ด้วยเหตุผลที่เชื่อว่า ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า คนไทยจะมีสัดส่วนทำประกันชีวิตมากเท่ากับญี่ปุ่นที่ประชากรทำประกันกันสูงก ว่า 100% หรือ 1 คน

ซื้อประกันมากกว่า 1 กรมธรรม์ ซึ่งไทยจะเติบโตถึง 3-4 เท่าจากปัจจุบัน เพราะคนไทยมีรายได้มากขึ้นจะมีการวางแผนชีวิตทำประกันชีวิตมากขึ้น โดยตัวเลขล่าสุด ปี"55 ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยรับโตถึง 17-18%

ประกอบกับรัฐบาลให้สิทธิลดหย่อนภาษีถึง 1 แสนบาท และผู้ซื้อประกันประเภทบำนาญก็ลดหย่อนได้อีก 2 แสนบาท เมื่อเทียบคนไทยที่อายุเกิน 60 ปี มีสัดส่วน 16% และปี 2560 จะมีสัดส่วนคนสูงวัยเพิ่มเป็น 20%

เขามองว่าหุ้น บมจ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (SCBLIF) เป็นหุ้นที่ดีที่สุดในกลุ่มนี้ จึงได้ทยอยลงทุนมาต่อเนื่องมานานกว่า 5 ปีก่อน จากราคาหุ้นอยู่ที่ประมาณ 70 บาท ขึ้นมาที่ 830 บาท บวกกับเงินปันผลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

อยู่ที่ประมาณ 40 บาท เรียกว่าได้ผลตอบแทนถึง 1,200% เทียบกับกำไรย้อนหลังในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมาของ SCBLIF กำไรสุทธิโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR) เติบโตเฉลี่ย 40% ต่อปี และค่าพี/อียังถูกอยู่ที่เพียง 14 เท่า และในปี"55

ยังมีอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ดีระดับ 5% หรือ 30 บาทต่อหุ้น ปีนี้คาดว่ามีโอกาสจ่ายเพิ่มเป็น 35 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นผลตอบแทนเงินปันผล 4.2%


"แม้ในช่วงปี 2008 ที่เกิดวิกฤตการณ์เลห์แมน บราเธอร์ส ล้มละลาย แต่ SCBLIF ยังกำไรเติบโตถึง 50% เพราะรายได้มาจากในประเทศ โตสวนทางกับบริษัทอื่นๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่ในปีนั้นกำไรลดลง หรือบางแห่งมีผลขาดทุน สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของ SCBLIF น่าจะเหมาะสมอยู่ที่หลักพันบาทต่อหุ้น"

เขา ยืนยันว่า ยังไม่มีแผนขายหุ้นตัวนี้ เพราะต้องการร่วมหุ้นทำธุรกิจประกันชีวิตกับ SCB แม้ราคาจะขึ้นไปก็ยังไม่ขาย จะถือไปตลอด เพราะถ้าขายไปแล้วไม่รู้ว่าจะไปซื้อหุ้นไหนที่ดีกว่านี้ และพร้อมจะเข้าเก็บหุ้นนี้เพิ่มหากราคาย่อลง

หุ้นอีกตัวที่สะสมใน พอร์ตจำนวนมากคือ บมจ.สหวิริยา สตีลอินดัสตรี (SSI) ผู้ผลิตแผ่นเหล็กรีดร้อนที่ใหญ่ที่สุดในไทยและอาเซียน ถ้าหากไทยเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2015 ขณะที่การเทกโอเวอร์โรงถลุงเหล็กในอังกฤษคือ SSI UK ซึ่งทำเหล็กต้นน้ำ จะหนุนให้ธุรกิจของ SSI ครบวงจร และเหล็ก Slab คุณภาพสูงที่นำเข้ามาจากอังกฤษก็ได้รับการ approved จากผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่และผู้ผลิตชิ้นส่วนหลายราย

แม้ยังมีความเสี่ยงจากวัฏจักรของธุรกิจ แต่มองว่า SSI กำลังจะฟื้นตัวกลับมา ปัจจุบัน SSI UK มีการใช้กำลังการผลิตถึง 80% และเพิ่มขึ้นเป็น 90% ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นระดับที่เกินจุดคุ้มทุน และจะไม่เป็นภาระกับ SSI ต่อไป


อีกทั้งยังมีระบบประหยัดพลังงานลดค่าใช้จ่าย 200-300 ล้านบาทต่อปี

นอก จากนี้ SSI มีแผนติดตั้งเครนใหม่ที่ท่าเรือบางสะพานรองรับการขนส่งทางเรือ ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงอีก 100-200 ล้านบาทต่อปี และยังมีมาตรการป้องกันการทุ่มตลาดที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 55 เป็นเวลา 5 ปี จะส่งผลดีต่อ SSI ที่ได้รับผลกระทบจากการทุ่มตลาดของจีนก่อนหน้านี้

ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อต้องกลับมาซื้อเหล็กกับ SSI ที่มีราคาต่ำกว่า ขณะที่คู่แข่งในประเทศคือ GSTEEL และ GJS ยังกลับมาผลิตไม่ได้เต็มที่ นอกจากนี้ในเดือน ก.พ.นี้มีโอกาสที่ SSI จะปรับราคาเหล็กขึ้น ซึ่งจะหนุนทั้งปริมาณและราคาขายเพิ่มสูงขึ้นและต้นทุนลดลง จึงมีโอกาสที่ SSI จะเริ่มกลับมามีกำไรตั้งแต่ไตรมาส 2-3/56

และยังได้ประโยชน์จากจีนที่เศรษฐกิจฟื้นตัว หนุนการใช้เหล็กมากขึ้น ช่วยดึงราคาเหล็กของทั่วโลกขยับขึ้น จึงมีโอกาสที่ราคาหุ้น SSI จะวิ่งนำไปล่วงหน้าช่วงที่ผ่านมา โดยมั่นใจว่าในช่วงครึ่งหลังของปีจะเห็นราคาหุ้น SSI กลับมาที่หลัก 1 บาท จากอดีตเคยขึ้นไปเทรดสูงสุดที่ 7 บาท

"กิ๊ด" เล่าถึงหุ้นอื่นที่ได้ลงทุน คือ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) ที่ลงทุนเมื่อ 2 ปีก่อน จากราคาที่ 28 บาท ถือเป็นหุ้นที่ดีที่สุดในกลุ่มเพราะมีมาร์เก็ตแชร์อันดับ 1 ของไทยและอันดับ 2 ในอาเซียน และผู้บริหารมีแผนจะขยายในต่างประเทศรับเปิดเออีซี อยางไรก็ตาม ได้เริ่มทยอยขายหุ้นออกมาเยอะแล้ว หลังราคา BGH ขึ้นไปใกล้เป้าหมายที่ประมาณ 120 บาท

"เงินที่ได้จากการขายหุ้น BGH ส่วนนี้ได้แบ่งไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และซื้อ SSI เพิ่ม จนตอนนี้ถือ SSI เพิ่มเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 9 สัดส่วน 1.11% หรือกว่า 200 ล้านหุ้น ต้นทุนราคาที่เข้าเก็บ SSI เริ่มต้นที่ 1.20 บาท สูงกว่าราคากระดาน แต่ก็หวังไว้ว่า หากหุ้น SSI ฟื้นตัวได้จริง จะเป็นตัวที่ทำให้พอร์ตมีมูลค่าพุ่งขึ้น 1 พันล้านบาท จากปัจจุบันพอร์ตมีมูลค่า 400-500 ล้านบาท"

ส่วนหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ที่เขายังเล็งลงทุนคือ กลุ่มทีวีดาวเทียม แต่ต้องเน้นหุ้นที่มีรายการ (คอนเทนต์) เด่น ๆ เพราะช่วงไพรมไทม์อัตราค่าโฆษณายังต่ำอยู่ ที่ 1-2 หมื่นบาท/นาที ขณะที่ฟรีทีวีอยู่ที่ 2-3 แสนบาท/นาที ห่างกันถึง 10 เท่าตัว จึงมีโอกาสที่ส่วนต่างอัตราค่าโฆษณาจะแคบลง และราคาโฆษณาของทีวีดาวเทียมก็มีโอกาสปรับในอัตราที่สูงกว่า ซึ่งในปีนี้ยังมีโอกาสจะมีการเปิดประมูลดิจิทัลทีวี ทำให้จำนวนช่องรายการมีเพิ่มขึ้นอีก

ดังนั้นอยู่ที่ความแข็งแกร่ง ของคอนเทนต์ที่มีส่วนหนุนการเติบโตของรายได้ หุ้นที่เล็งไว้คือ GRAMMY เพราะราคาหุ้นปีที่แล้ว ปรับตัวไม่ได้มากเมื่อเทียบกับกลุ่มนี้อย่างเช่นหุ้น WORK และ RS ที่ราคาปรับขึ้นมากกว่า เพราะอาจขาดทุนจากการลงทุนสร้าง platform และคอนเทนต์ จากค่าใช้จ่ายจำนวนมาก แต่จะมีความแข็งแกร่งขึ้นและรองรับธุรกิจ Pay TV ในปีนี้ที่มาหนุนรายได้


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook